"เช็คสิทธิประกันสังคม" ช่วงหยุดยาว ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ 6 อาการ ต้องทำอย่างไร ผู้ประกันตนทุกมาตรา เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลหรือไม่
ข่าวที่น่าสนใจ
หาก ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 เกิดเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง และเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่ใดก็ได้ ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน เพียงยื่น บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อแสดงการเข้าใช้สิทธิ
“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลตามสิทธิได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย”
ผู้ป่วยที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติต้องมีอาการ ดังนี้
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
- มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
* กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่ประกาศคณะกรรมการแพทย์กำหนดครอบคลุม 72 ชั่วโมงไม่นับรวมวันหยุดราชการ
** กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน/ฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและให้รีบแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง
หมายเหตุ : ผู้ประกันตน มาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
“เช็คสิทธิประกันสังคม” สำหรับแนวทางการรักษาผู้ประกันตนที่ป่วยโรคโควิด-19 แบ่งตามระดับความรุนแรง เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม โดยแบ่งตามระดับความรุนแรง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตามกลุ่มอาการ
สีเขียว
- มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
- ไข้สูง 37.5 องศาฯ
- ไอ
- มีน้ำมูก
- เจ็บคอ
- หายใจเหนื่อย
- ตาแดง
- ผดผื่น
- ถ่ายเหลว
ประเภทที่ 1
- Home isolation , Communities , Hotel isolation , โรงพยาบาลสนาม และการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวในโรงพยาบาล
ประเภทที่ 2
- หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel)
ประเภทที่ 3
- Self Isolation กรณีผู้ป่วยนอก แยกกักตัวที่บ้าน
สีเหลือง
- กลุ่มอาการสีเหลืองเข้ม มีอาการรุนแรง : กำหนดอัตราการจ่ายตามแนวทาง UCEP PLUS ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข
สีแดง
- กลุ่มอาการสีแดง มีอาการรุนแรง : กำหนดอัตราการจ่ายตามแนวทาง UCEP PLUS ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง