ขอแสดงความเสียใจ สิ้น”ศ.เสน่ห์ จามริก”อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สิ้น! ศ.เสน่ห์ จามริก วัย 95 ปี อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

นายกฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ว่า ทราบข่าวจากญาติ อ.เสน่ห์ จามริก ได้จากไปสู่สุคติแล้วเมื่อเช้ามืดวันนี้ ส่วนจะจัดงานที่วัดไหน ทางญาติจะแจ้งให้ทราบในวันนี้ครับ
สำหรับประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ จามริก เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เสียชีวิต ด้วยวัย 95 ปี (เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2470) เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประวัติการทำงานและผลงาน ของ ดร.เสน่ห์ จามริก มีดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

เริ่มรับราชการ ในปี 2492-93 ที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และย้ายไปรับราชการในกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ถึงปี 2496 ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญา B.A. in Administration จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ต่อมาในปี 2500 ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2503-2530 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ
พ.ศ. 2516-2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ปัจจุบันคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน หัวหน้าโครงการรัฐศาสตร์ศึกษา และหัวหน้าสาขาวิชาการต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2518 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีเดียวกันนี้เอง อาจารย์เสน่ห์ แต่งงานกับแพทย์หญิงอำนวยศรี (สกุลเดิม ชุตินธร)

นอกจากนี้ยังมีบทบาททางด้านการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยหลายด้าน เช่น หัวหน้าโครงการวิจัย “พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” ของมูลนิธิฟอร์ด และมูลนิธิเอเชีย ,ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายกสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย และกรรมการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีกหลายแห่ง งานที่ทำล้วนเน้นหนักไปทางด้านชนบท ชุมชนท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ตำแหน่งสำคัญคือ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2552

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น