“สาวิทย์” ร้องยูเอ็น ยกเลิกระบบสิทธิบัตรผูกขาดวัคซีน

"สาวิทย์" ยื่นหนังสือ ยูเอ็น ขอให้กำหนดมาตรการให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยกเลิกระบบสิทธิบัตรผูกขาดวัคซีน ให้ทุกประเทศเข้าถึงวัคซีนอย่างเพียงพอ

วันนี้(21 มิถุนายน 2564)  นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เดินทางไปยืนหนังสือถึง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เพื่อขอให้องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)กำหนดมาตรการให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยการผลักดันดันให้ประเทศ และบรรษัทยาข้ามชาติที่จดสิทธิบัตรวัคซีนป้องกันโควิด -19 ทุกชนิด ให้ยกเลิกระบบสิทธิบัตร เพื่อให้ประเทศต่างไป รวมทั้งประขากรโลกเข้าถึงวัคซีนอย่างเสรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19

นายสาวิทย์ ระบุว่า สรส. และ คสรท. ขอเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติประสานความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพร้อมเป็นกลไกหลักในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้มวลมนุษยชาติเข้าถึงมาตรการการป้องกันโรคโควิด-๑๙ เข้าถึงวัคซีนป้องกันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมพร้อมกับยกเลิกระบบสิทธิบัตร ยา และวัคซีนป้องกันโรค ให้ประเทศที่มีความพร้อมสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเสรี สำหรับประเทศไหนที่ไม่มีความพร้อม ฐานะทางเศรษฐกิจอ่อนแอ ก็ให้องค์การสหประชาชาติ เข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ปลายปี ๒๐๑๙ จนมาถึงปัจจุบัน โดยแต่ละประเทศต่างพยายามที่จะช่วยเหลือประชากรของตนเองเท่าที่สามารถจะทำได้ในสภาวะที่แตกต่างกันไป เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และการเสียชีวิตลง โดยเฉพาะการป้องกันที่จำเป็นต้องใช้วัคซีน แต่โอกาสการเข้าถึงวัคซีนเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีความเหลื่อมล้ำเพราะความแตกต่างเกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน ในการผลิตวัคซีน ตกอยู่ในมือภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทเอกชนเพียงไม่กี่ราย และรัฐบาลเพียงไม่กี่ประเทศ การทำกำไรจากวัคซีนในราคาที่แพงและยากต่อการเข้าถึง จึงเป็นสาเหตุสำคัญต่อการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตของประชากรโลก จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเอาความตายของประชากรโลกไปทำการค้าและหากำไร

องค์การสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อ “ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ” โดยมีหลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ขณะที่ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ว่า “โรคโควิด-๑๙ กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องร่วมกันต่อสู้กับภัยครั้งนี้ การรับมือของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอ เราต้องให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุด ซึ่งมีมากมายหลายล้านคนที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ นี่เป็นเรื่องมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับไวรัส และนี่คือเวลาที่เราต้องยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง” ซึ่งเป็นคำประกาศในหลักการสำคัญ น่าชื่นชมจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นจริง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น