นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้าโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ อินโดนีเซียเริ่ม ‘ระงับส่งออก’ ปาล์มน้ำมัน ส่งผลอย่างไรต่อ ‘น้ำมันขวด‘ ในไทย? อินโดเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขาประกาศระงับการส่งออกเพื่อกดราคาน้ำมันปาล์มที่ประชาชนชาวอินโดบริโภค (ซึ่งที่จริงแล้วน้ำมันไม่ได้ขาดตลาด) ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น
กรณ์ แนะ รัฐบาลเตรียมรับมือราคาน้ำมันขวดพุ่ง หลังอินโดฯระงับส่งออกปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ส่งผลดีต่อเกษตรกรแต่จะกระทบผู้บริโภค ชี้อาจต้องแทรกแซงช่วย จับตาการบริหารเศรษฐกิจเหตุสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
ข่าวที่น่าสนใจ
ส่วนไทยเรานั้นเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้บริโภค ราคาที่สูงขึ้นเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกร แต่ไม่ดีสำหรับผู้บริโภค ในสภาวะที่ประชาชนเดือดร้อนอยู่แล้วจากภาวะของแพง รัฐบาลต้องเตรียมรับมือ แต่ด้วยสถานการณ์พิเศษนี้ ที่น้ำมันจากดอกทานตะวันขาดตลาดเพราะยูเครนเลิกผลิต บวกกับอินโดนีเซียระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เราเจอสองเด้งนี้ราคาน้ำมันปาล์มมีแต่ขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญได้คำนวณให้ผมเห็นว่า ตามราคาต้นทุนน้ำมันดิบในปัจจุบัน ราคาน้ำมันขวดควรต้องอยู่ที่ประมาณลิตรละ 75 บาท (ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 64 บาท) ซึ่งที่ผู้ผลิตยังคงราคาอยู่ได้เพราะสต๊อกปาล์มน้ำมันในราคาเดิมยังมีอยู่ และเพราะสะสมกำไรมาพอควรในอดีต หากสถานการณ์ในยูเครนและอินโดฯ ปรับกลับสู่ปกติโดยเร็วก็จะไม่มีปัญหาแต่ถ้ายืดเยื้อหรือเลวร้ายลง บวกกับปริมาณน้ำมันถั่วเหลืองต่ำกว่าที่คาดการณ์ รัฐบาลอาจต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
วิธีหนึ่งที่ทำได้คือใช้งบประมาณที่สำรองไว้เพื่อประกันราคาปาล์มน้ำมันให้เกษตรกร ซึ่งประกันไว้ที่กิโลละ 4 บาท ดังนั้นตอนนี้ไม่ต้องใช้งบส่วนนี้แน่นอน จึงสามารถนำงบส่วนนี้มาชดเชยราคาน้ำมันขวดเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคให้มีภาระน้อยลง การปล่อยให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงเกินไป นอกจากเป็นภาระต่อประชาชนแล้ว ยังเสี่ยงเป็นภัยต่อสุขภาพประชากร เพราะจะเกิดการใชันํ้ามันทอดอาหารซํ้าหลายรอบ สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้การบริหารเศรษฐกิจช่วงนี้ห้ามกระพริบตาครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-