“สิงห์สยามโพล” เปิดผลสำรวจ “ชัชชาติ”คะแนนนิยมยังนำ ชี้กระแสการเมืองระดับชาติมีผลคนยังไม่ตัดสินใจ

"สิงห์สยามโพล" เปิดผลสำรวจ "ชัชชาติ"คะแนนนิยมยังนำ ชี้กระแสการเมืองระดับชาติมีผลคนยังไม่ตัดสินใจ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสาขารัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น สิงห์สยามโพล แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 (หลังวันรับสมัคร) โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 21 – 30 เมษายน 2565 ด้วยแบบสอบถามจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,632 ตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) โดยเบื้องต้นใช้วิธีการแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 เพื่อเลือกพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เพื่อเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ผลการสำรวจ พบว่า

1) แนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 604 คน คิดเป็นร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ งดออกเสียง จำนวน 232 คน คิดเป็นร้อยละ 14.2 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 อัศวิน ขวัญเมืองจำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 อื่นๆ จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 6.6 สกลธี ภัททิยกุล จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 4.4 รสนา โตสิตระกูลจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 3.7 และสุดท้ายคือ ศิธา ทิวารี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7

2) กระแสการเมืองระดับชาติมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,180 คน คิดเป็นร้อยละ 72.3 และเห็นว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ จำนวน 452 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7

3) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยเหตุผลใด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร จำนวน 1,076 คน คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 อื่นๆ จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8 ป้ายและสื่อ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และสุดท้ายคือ หมายเลขผู้สมัคร จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2

4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรอิสระ จำนวน 1,048 คน คิดเป็นร้อยละ 64.2 และควรสังกัดพรรคการเมือง จำนวน 584 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8

5) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ด้วยเหตุผลใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร จำนวน 1,072 คน คิดเป็นร้อยละ 65.7 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร จำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 17.4 อื่นๆ จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 13.7 หมายเลขผู้สมัคร จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 และสุดท้ายคือ ป้ายและสื่อ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5

6) หัวคะแนนมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) หรือไม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่มีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 876 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 และมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 756 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3

เมื่อพิจารณาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มประชากรจำนวน 1,632 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มากที่สุด (ร้อยละ 59.3) รองลงมาคือ เพศหญิง (ร้อยละ 38.5) และสุดท้าย LGBTQ (ร้อยละ 2.2) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51 – 60 ปี (ร้อยละ 29.2) รองลงมาคือ 41-50 ปี (ร้อยละ 26.2) 21 – 30 ปี (ร้อยละ 22.3) 31 – 40 ปี (ร้อยละ 17.9) 61 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 3.4) และสุดท้าย ต่ำกว่า 20 ปี (ร้อยละ 1.0) ด้านระดับการศึกษานั้น พบว่า ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 49.5) รองลงมาคือ สูงกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 31.1) และสุดท้ายต่ำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 19.4) ด้านอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน(ร้อยละ 30.1) รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 25.2) ข้าราชการ (ร้อยละ 12.5) ค้าขาย (ร้อยละ 8.6) พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 8.1) รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 7.8) นักศึกษา และอื่นๆ (ร้อยละ 2.7) และสุดท้ายลูกจ้างหน่วยงานรัฐ (ร้อยละ 2.2) โดยมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 25,001 บาท (ร้อยละ 51.2) รองลงมาคือ 15,001 – 25,000 บาท (ร้อยละ 33.1) และสุดท้ายต่ำกว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 15.7)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การวิเคราะห์ผลสำรวจ เมื่อพิจารณาผลการสำรวจรายประเด็นย่อมพบว่า

1) แนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ตามลำดับดังนี้
อันดับที่ 1 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 37.0
อันดับที่ 2 งดออกเสียง คิดเป็นร้อยละ 14.2
อันดับที่ 3 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คิดเป็นร้อยละ 13.5
อันดับที่ 4 อัศวิน ขวัญเมือง คิดเป็นร้อยละ 12.0
อันดับที่ 5 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 6.9
อันดับที่ 6 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร คิดเป็นร้อยละ 6.6
อันดับที่ 7 สกลธี ภัททิยกุล คิดเป็นร้อยละ 4.4
อันดับที่ 8 รสนา โตสิตระกูล คิดเป็นร้อยละ 3.7
และอันดับที่ 9 คือ ศิธา ทิวารี คิดเป็นร้อยละ 1.7

จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกินกว่า 1 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 37 มีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เป็นอิสระ ขณะเดียวกันยังพบว่า มีกลุ่มพลังเงียบ ร้อยละ 14 ที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครท่านใด ทั้งนี้แนวโน้มการตัดสินใจเลือกผู้สมัครท่านอื่นต่างมีคะแนนไม่แตกต่างกันมากนัก และสะท้อนถึงการตัดคะแนนระหว่างกันมากกว่าการมีคะแนนสนับสนุนมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งได้ กระทั่งกล่าวได้ว่าการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้เป็นหนึ่งในวิธีการเปิดตัวเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานครในอนาคต

2) กระแสการเมืองระดับชาติมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 72.3 และเห็นว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ คิดเป็นร้อยละ 27.7
จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกินกว่า 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 72 เห็นว่า กระแสการเมืองระดับชาติมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งนัยอธิบายได้ว่า สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันบ่งชี้ถึงความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน และปรากฏให้เห็นถึงความวุ่นวายทางการเมืองเป็นระยะ การดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงควรจะเป็นอิสระที่สามารถแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นได้อย่างอิสระ จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลอย่างรัดตึงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ ได้ตลอดเวลา

3) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยเหตุผลใด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 17.6 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 10.8 ป้ายและสื่อ คิดเป็นร้อยละ 3.4 และสุดท้ายคือ หมายเลขผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 2.2

จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า นโยบายของผู้สมัครยังคงเป็นปัจจัยจูงใจให้กลุ่มตัวอย่างสัดส่วน 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ตัดสินใจเลือกผู้สมัครมากกว่า ชื่อเสียงของผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 17.6 โดยปัจจัยอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้สมัครมากนัก เนื่องจากนโยบายถือเป็นสินค้าทางการเมืองที่ประชาชนสามารถเลือกรับ โดยแลกเปลี่ยนเป็นการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครเจ้าของนโยบายนั้นๆ

ทั้งนี้ย่อมเห็นได้ว่า ผลการสำรวจข้อ 2 และ 3 นั้น มีความสอดคล้องกัน กล่าวคือ กระแสการเมืองระดับชาติ ซึ่งพรรคการเมืองต่างๆ ล้วนมีบทบาทในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมือง โดยหลายนโยบายของพรรคการเมืองนั้นยังไม่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับของท้องถิ่นที่เป็นเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่เป็นอิสระที่มีนโยบายการแก้ไขและพัฒนากรุงเทพมหานครที่ชัดเจน โดยผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงจากประสบการณ์ ความรู้ และความสามารถ ไปพร้อมกัน

 

4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรอิสระ คิดเป็นร้อยละ 64.2 และควรสังกัดพรรคการเมือง คิดเป็นร้อยละ 35.8

จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผลสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ยังคงยืนยันให้เห็นว่า สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรมีสถานภาพในการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงของอิทธิพลของพรรคการเมือง เพื่อทำให้ผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นสามารถดำเนินนโยบายที่เหมาะสมกับพื้นที่หรือเขตของตนได้ตรงตามความต้องการของประชาชนผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

5) ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ด้วยเหตุผลใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก นโยบายของผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 65.7 รองลงมาคือ ชื่อเสียงของผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 17.4 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 13.7 หมายเลขผู้สมัคร คิดเป็นร้อยละ 1.7 และสุดท้ายคือ ป้ายและสื่อ คิดเป็นร้อยละ 1.5

จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า นโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ยังเป็นจุดสนใจที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นการตัดสินใจของประชาชนให้เลือกผู้สมัครที่มีนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง โดยชื่อเสียงของผู้สมัครที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และเข้าใจปัญหาในพื้นที่หรือเขตย่อมช่วยให้ประชาชนตัดสินใจเลือกได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการตัดสินใจเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

6) หัวคะแนนมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) หรือไม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่มีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 876 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 และมีบทบาทต่อการโน้มน้าวการตัดสินใจ จำนวน 756 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3

จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ต่างเห็นว่า บทบาทของหัวคะแนนยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า การอิงอาศัยหัวคะแนนที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็นผู้วางฐานคะแนนเสียงก็สามารถปรับเปลี่ยนแนวโน้มของอันดับการเลือกตั้งของผู้สมัครลำดับรองให้สามารถเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในท้ายสุดได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการ “โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ปัน ปัน สุข” กิจกรรม CSR ที่โรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
ตำรวจท่องเที่ยวพัทยา รวบ อดีตดาบตำรวจนอกรีต วีรกรรมสุดแสบหนีหมายจับ 3 ปี ชีวิตตกอับมาเป็นคนส่งเหล้า
บริษัท บลูสโตน ครีเอชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก จัดกิจกรรม CSR ประจำปี 2567 มอบสิ่งของแก่คนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
2อุทยานฯ ร่วมมือปราบปราม การลักลอบขุดหาแร่ทองคำ
ปิดหีบเลือกตั้ง "นายก อบจ.สุรินทร์" เริ่มนับคะแนน รอลุ้นผล
ชาวบ้านแห่ส่องเลขเด็ดคึกคัก ในพิธีอัญเชิญ “เจ้าพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ” เจ้าเมืองคนแรกของชาวอำเภอรัตนบุรี
"บิ๊กจ้าว" ลงดาบ "ผกก.สน.หนองค้างพลู" สั่งปลดออกจากราชการ ชี้มูลผิดวินัยร้ายแรง ม.157
สีกากียอมรับ "บิ๊กต่าย" ไม่หวั่นโดนบางฝ่ายบีบวางมาตรฐานแต่งตั้ง "ตร." "เอก อังสนานนท์" คือผู้ยืนยัน
"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น