"โรคลืมชั่วคราว" ทำความรู้จักอาการหลงลืม ที่หลายคนอาจสงสัย โรคนี้เกิดจากอะไร มีอาการเข้าข่ายไหม เช็คลิสต์ด่วนที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผศ.ดร.นพ.ยุทธชัย ลิขิตเจริญ อาจารย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เปิดข้อมูลความรู้ และข้อสงสัยต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรคลืม ชั่วคราว (Transient Global Amnesia, TGA) คืออะไร
- โรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำอย่างเฉียบพลัน
- โดยความจำที่สูญเสียนั้น เป็นความจำเกี่ยวกับ เวลา สถานที่ และรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้น เรียกว่า ความจำชนิด อีพิโซดิก (Episodic memory)
- ขณะเกิดอาการนั้นผู้ป่วยมักมีลักษณะ กังวล รู้สึกงงว่าเกิดอะไรขึ้น และมักมีอาการถามซ้ำว่า เกิดเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไร มาที่นี่ได้อย่างไร
- แต่ผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้ และความจำชนิดอื่น ๆ ยังปกติ
- การสูญเสียความจำจากโรคนี้ จะเป็นอาการชั่วคราว ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง โดยความจำที่เสียไปจะค่อย ๆ คืนกลับมา
ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่พบว่าผู้ที่เป็นโรคมักมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น
- อายุ 50 – 80 ปี
- เป็นโรคไมเกรน
- เป็นโรคหัวใจ
- ออกกำลังกายอย่างหนัก
- มีความเครียดรุนแรง
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคนี้ ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจาก มีโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น
- โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack, TIA) โรคลมชัก
- โรคไมเกรน
- การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือ
- โรคทางจิตเวช
ดังนั้น หากเกิดอาการหลงลืมอย่างเฉียบพลัน ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง