“PDPA” 10 เรื่องประชาชนต้องรู้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, เยียวยา, ข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิ, ละเมิด

"PDPA" 10 เรื่องประชาชนต้องรู้ ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง เจ้าของมีสิทธิอะไรบ้าง แนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เหตุการละเมิด

“PDPA” กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้ 1 มิถุนายน 2565 นี้ TOP News นำ 10 เรื่องประชาชนต้องรู้ มาให้แล้ว ทั้ง ข้อมูลส่วนบุคคล คือ เจ้าของมีสิทธิอะไรบ้าง แนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เหตุการละเมิด ฯลฯ ไปไล่เรียงดูกันเลย

ข่าวที่น่าสนใจ

 

10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA

 

  • ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเราไว้ก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์) (มาตรา 21)
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22) (ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด)
  • ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26)
  • ในการขอความยินยอม ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้ / ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรคสี่)

 

 

 

 

PDPA, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, เยียวยา, ข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิ, ละเมิด

 

 

 

 

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ…

 

  1. สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)
  2. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)
  3. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30)
  4. สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31)
  5. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32)
  6. สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 33)
  7. สิทธิขอให้ระงับการใช้ขอมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34)
  8. สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35)

 

 

 

 

PDPA, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, เยียวยา, ข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิ, ละเมิด

 

 

 

 

 

  • PDPA ใช้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม (มาตรา 5)
  • ในกรณีที่เหตุการละเมิด ข้อมูลส่วนบุคคลมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37 (4))
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม P D P A หรือประกาศฯ ที่ออกตาม P D P A (ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด) (มาตรา 73)

 

 

 

ที่มา : พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ (Personal Data Protection Act : P D P A)

 

 

 

 

PDPA, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, เยียวยา, ข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิ, ละเมิด

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น