ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Makut Onrudee” ได้โพสต์ภาพที่เขียนด้วยลายมือของเด็กชายออสติน วัย 9 ขวบ โดยข้อความระบุว่า “วันนี้ผมไปโรงพยาบาลศิริราช (เพราะปวดตามข้อต่างๆ) (เช่นข้อนิ้ว ข้อเท้า) ตั้งแต่ผมเข้าไป ผมเห็นว่า มีคนไปเยอะมากจนผมตกใจ! (ที่คนเยอะเพราะว่าน่าจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก) ทุกคนมาเพราะหวังว่าจะได้รู้โรคที่เป็นและรักษาให้หาย แต่มันต้องใช้เวลานาน เช่นผม ผมใช้เวลารักษาและอยู่ที่นั่นเกือบทั้งวัน!!
โซเชียลแชร์ข้อความ ซึ่งเป็นความในใจของเด็กชายวัย 9ขวบ ที่เขียนถึงความตั้งใจที่จะสร้างโรงพยาบาลแห่งอนาคตของตนเอง เพื่อต้องการลดความแออัดของผู้คน โดยจะมีการรักษา 2 แบบ คือ แบบให้ยาและรักษาทันใจ ข้อความดังกล่าวสร้างความประทับและชื่นชมในความคิด จินตนาการของเด็กวัยเพียง 9 ขวบที่ต้องการแก้ปัญหาและมีจิตใจเมตตาช่วยเหลือผู้อื่น
ข่าวที่น่าสนใจ
ตึกแรกเป็นตึกกุมารเวช (ตึกแรกที่ไป) ผมเจอหมอถึง ๔ คน! คุณหมอทำการ skin test และเจาะเลือด จากนั้นก็ให้ไป X-Ray ระหว่างไป X-Ray มีบริเวณหนึ่ง (ทางเดินช่วงหนึ่ง) มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงทั้ง ๒ ข้างทาง!! (อาจจะมีเตียงไม่พอ พวกเขาเลยต้องไปนอนตรงนั้น) และส่วนใหญ่คนที่นอนรอเป็นผู้ที่ชราแล้วด้วย ส่วนพี่ๆ พยาบาลก็ใจดี และตอบคำถามได้ดี และที่สำคัญ พยาบาลพร้อมจะตอบคำถามและช่วยเหลือทุกคน
ส่วนนี่คือ ใบการประเมินแพทย์ที่รักษาผมในวันนี้ครับ : ใบประเมิน ชื่อ ออสติน อายุ 9 ปี 6 เดือน 10 วัน หัวข้อ การประเมิน // การพูดคุย 5 //การรักษา 5 //ความใจดี 5//เวลา 4 // รวม ๑๙/๒๐ คะแนน โรงพยาบาลมีคนไปเยอะมาก ผมเลยจะสร้างโรงพยาบาลในอนาคตขึ้นมา เพื่อลดความแออัดของผู้คนในโรงพยาบาล ซึ่งการรักษาจะมี ๒ แบบ คือ แบบให้ยาและรักษาทันใจ
แบบที่ ๑ การให้ยา การรักษาแบบนี้ จะใช้กับผู้คนที่มาโรงพยาบาลได้ วิธีการคือ ผู้ป่วยจะมาพบคุณหมอจากนั้นก็จะได้ยาที่ด้านในมี ‘นาโนบอทส์’ จำนวนมากอยู่ในนั้น ซึ่งเมื่อน้ำละลายยาหลังจากกินแล้ว เจ้านาโนบอทส์จะเข้าหาเชื้อไวรัสและอื่นๆ เพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และเจ้านาโนบอทส์จะช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรออีกด้วย
แต่เมื่อนาโนบอทส์แบตหมด มันจะไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย เพราะตัวมันจะไปอยู่ในระบบขับถ่ายก่อนแบตจะหมด แล้วตัวหุ่นจะออกมากับของเสียต่างๆ ครับ
แบบที่ ๒: การรักษาทันใจ เป็นการที่เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีผู้บาดเจ็บจนไปโรงพยาบาลไม่ได้ เจ้าหน้าที่จะส่งรถพยาบาลไปรับ ซึ่งในรถจะมีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ต่างๆ คอยรักษา หุ่นพวกนั้นจะถูกควบคุมระยะไกลจาก ร.พ. ระหว่างรักษา รถจะขับไปโรงพยาบาลเรื่อยๆ ส่วนฝ่าย call center จะโทร์หาญาติให้มาเยี่ยม/ ดูแลผู้ป่วย และนี่คือโรงพยาบาลแห่งอนาคตของผมครับ”
ลงชื่อ ‘ออสติน’ นักเขียนผีเสื้อเด็กๆ หมายเลข ๑๙ วันพฤหัสบดี ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ข้อความดังกล่าวสร้างความประทับและชื่นชมในความคิด จินตนาการของเด็กวัยเพียง 9 ขวบที่ต้องการแก้ปัญหาและมีจิตใจเมตตาช่วยเหลือผู้อื่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-