ประเด็นเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจากนายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล อภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 66 ถึงการใช้งบประมาณของกระทรวงกลาโหม ซึ่งไม่ปรากฏในเอกสารงบประมาณว่า ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กองทัพบกทำสัญญาจ้างมูลค่ารวม 7,570,000 บาท ให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ไปตรวจสอบ GT200 จำนวน 757 เครื่อง เฉลี่ยตกเครื่องละ 10,000 บาท
ย้อนรอยค่าโง่พันล้าน GT200 ไม้ล้างป่าช้าลวงโลก
ข่าวที่น่าสนใจ
สำหรับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 ถือว่าเป็นอีกตำนานค่าโง่ของประเทศไทย ซึ่งจุดเริ่มต้นของมหากพาย์ค่าโง่ครั้งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร หน่วยงานใดและใครเกี่ยวข้องบ้าง ทีมข่าวท็อปนิวส์จะพาย้อนไปยังจุดเริ่มต้น
-ปี 2544 GT200 เริ่มวางจำหน่าย มีผู้ผลิตคือ บริษัท โกลบอล เทคนิคัล จำกัด ของอังกฤษ และมีบริษัทอังกฤษอีก 2 แห่ง ขายเครื่องมือลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้ง ADE-651 ของบริษัท เอทีเอสซี จำกัด และ ALPHA6 ของบริษัท คอมสแตร็กซ์ จำกัด
-ปี 2548 หน่วยEODกองทัพอากาศของไทย เป็นหน่วยงานแรกที่จัดซื้อGT200 โดยนำไปใช้ที่สนามบินบ่อทอง จ.ปัตตานี หน่วยEODของกองทัพบก ขอยืมมาทดสอบ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงเสนอให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ในสมัยนั้น อนุมัติงบจัดซื้อ
-ปลายปี 52 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และที่ตลาดสดรถไฟ จ.ยะลา แต่ GT200 ใช้งานไม่ได้ผล ทำให้เกิดข้อสงสัยของคนในสังคม นำไปสู่การตรวจสอบ
– 16 ก.พ.ปี 53 รบ.อภิสิทธิ์ สั่งระงับการซื้อ หลังผลทดสอบ 20 ครั้ง ปรากฏว่าGT200 ตรวจหาวัตถุระเบิดได้ถูกต้องเพียง 4 ครั้ง ไม่ต่างจากกรณีสุ่มเอา
-18 ก.พ.ปี 53 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ขณะนั้น ซึ่งจัดซื้อ GT200 รวม 541 เครื่อง ยืนยันGT200 ใช้งานได้ แต่ต่อมา พล.อ.อนุพงษ์ ยอมรับความไร้ประสิทธิภาพ GT200จึงถูกปลดประจำการไปในที่สุด
-19 ก.ค.ปี 55 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหมขณะนั้น และในฐานะอดีตเสธ.ทอ. ยันGT200 ใช้งานได้จริง และเคยนำไปโชว์ให้ผู้นำเหล่าทัพดูระหว่างประชุมเหล่าทัพ
-ตั้งแต่ปี 2548-53 หน่วยงานต่างๆในประเทศไทย รวม 20 หน่วยงาน จัดซื้อ GT200 และ ALPHA6 รวมแล้ว 1,398 เครื่องมูลค่า 1,178 ล้านบาท ราคามีตั้งแต่เครื่องละ 4.26 แสนบ.-1.38 ล้านบ.
-ปี 2556 ศาลอังกฤษ สั่งจำคุก นายโบลตัน ผู้ก่อตั้ง บริษัท โกลบอลฯ 7 ปี ,นายเจมส์ แม็คคอร์มิค ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอทีเอสซีฯ 10 ปี และยึดทรัพย์สินอีก 395 ล้านบ. ,นายแซมวล ทรี ผู้ผลิต ALPHA6 3 ปีครึ่ง ฐานฉ้อโกง
-10 ต.ค.ปี61 ศาลแขวงดอนเมืองตัดสินจำคุก 9 ปี ผู้บริหาร บ.เอวิเอ ขาย GT200 ให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ฐานฉ้อโกง และ ให้จำเลยคืนเงินตามมูลค่าของงบประมาณที่จ่ายไป
-19 ก.ค. 2564 ป.ป.ช.ชี้มูลผิดอาญา-วินัยร้ายแรง เจ้าหน้าที่รัฐนับ 100 คน คดีจัดซื้อ GT200และ Alpha6 ส่วนใหญ่ผู้ถูกชี้มูลเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ
-1 ก.ย. ปี64 ศาลปกครองกลาง พิพากษาให้บริษัท เอวิเอ ผู้ขาย GT200 ชดใช้ 683 ล้านบาท แก่กองทัพบก บริษัทได้ยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
-กรมสรรพาวุธทหารบก ลงนามว่าจ้าง สวทช. 2 ครั้ง (ปลาย ก.ย.64-12 พ.ค.65) ให้ตรวจสอบ GT200 รวม 757 เครื่อง เพื่อนำมาต่อสู้ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้ขาย ที่อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-