“ชัยวุฒิ” ยันเจ้าหน้าที่ถ่ายภาพ “แอนนา” ไม่ผิดทำตามอำนาจหน้าที่

"ชัยวุฒิ" ย้ำ กฎหมาย PDPA มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ปิดกั้นสื่อฯเสนอข่าวได้ปกติ ยัน จนท.ถ่ายภาพ "แอนนา" ไม่ผิด ทำตามอำนาจหน้าที่

วันที่ 7 มิ.ย.65 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึง กรณีที่ นายวรินทร วัตรสังข์ หรือ “แอนนา” หนึ่งในผู้ต้องหาคดีหวยทิพย์ เว็บไซต์โชคดีล็อตเตอรี่ออนไลน์ ที่นำสลากกินเเบ่งรัฐบาลมาขายออนไลน์ โดยไม่มีสลากอยู่จริง ระบุว่า การเผยแพร่ภาพตนเองอาจเข้าข่ายการละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA หรือไม่ ว่า โดยหลักการกฎหมายดังกล่าวมุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชนในข้อมูลส่วนตัวที่เก็บไว้ตามหน่วยงานต่างๆ ไม่ให้นำไปใช้ให้เกิดความเสียหาย แต่มีข้อยกเว้นในมาตรา 4 (3) ที่ยกเว้นในการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน การนำเสนอข่าวต่างๆไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฏหมาย PDPA ดังนั้นสื่อมวลชนสามารถนำเสนอข่าวได้อย่างอิสระ ไม่ต้องกังวลกฎหมายดังกล่าว แต่ต้องเป็นไปตามประมวลจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชน ดังนั้นสื่อมวลชนอย่ากังวล หากนำเสนอข่าวตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา ก็ไม่มีความผิด ตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น ถ้าสื่อมวลชนจะโต้เถียงกัน ก็ต้องเป็นเรื่องของการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนที่แอนนา ระบุว่าการที่เจ้าหน้าที่ได้บันทึกภาพตนเองนั้นถือว่าผิดกฎหมาย PDPA ถือเป็นการเข้าใจผิดหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่าในมาตรา 3 ระบุว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีกฎหมายกำกับดูแลอยู่แล้ว ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเรื่องการสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดีต่างๆ ก็มีกฎหมายกำกับดูแลให้อำนาจเจ้าหน้าที่อยู่แล้ว ส่วนจะดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของกฎหมายกำหนด

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ขณะเดียวกันในมาตรา 4 มีข้อยกเว้นอีกเรื่อง คือ ยกเว้นเรื่องงานที่ทำตามปกติของหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็จะไม่เข้าข่ายความผิดตามกฏหมาย PDPA เพราะหน่วยงานความมั่นคง มีการสืบสวนสอบสวนและเก็บข้อมูลของผู้ต้องหาและบุคคลที่มีความผิด ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในหน่วยงานอยู่แล้ว เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ เพื่อความมั่นคงของรัฐและประโยชน์ สาธารณะ ไม่มีความผิดตามกฏหมาย PDPA

 

“ขออย่านำเรื่องการดำเนินคดี หรือการนำเสนอข่าว มาปนกับกฎหมาย PDPA เพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เพราะกฎหมาย PDPA เป็นการมุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลของประชาชน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัว ที่ไม่อยากเปิดเผยและได้มีข้อมูลอยู่กับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ดังนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลให้ดี อย่าให้รั่วไหลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล ส่วนการเสนอข่าวหรือการทำคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อยู่ในกฎหมาย PDPA อย่านำมาปนกัน”

ทั้งนี้ หากมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทางกระทรวง มีสำนักงานที่ดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ และติดต่อมายังเว็บไซต์ของกระทรวงได้ และหากมีข้อสงสัยหรือเรื่องร้องเรียนต่างๆก็สามารถสอบถามได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น