วัดพลัง “ลุงป้อม- ลุงตู่” คุณคิดว่า “ใคร” ควรคู่เก้าอี้แม่ทัพพลังประชารัฐ

ในขณะที่ คนบางกลุ่มกำลังปล่อยข่าว “เสี้ยม” เอาตำแหน่ง เก้าอี้ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เปิดประเด็นความขัดแย้ง ... ทว่าเอาข้อเท็จจริงด้านโปรไฟล์ชีวิตมาเทียบกันตัวๆ ระหว่าง “ลุงตู่” กับ “ลุงป้อม” คุณจะเลือกใคร?

ก็เพราะกระแสข่าวที่ถูกปล่อยแบบหวังผลจงใจให้เกิดความสับสนอลม่าน เล่นเอา “ลุงตู่”​ พลเอกประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ “ลุงป้อม” พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ต้องออกมาแก้ข่าวกันพันละวัน เริ่มต้นเช้าตรู่วันนี้ นักข่าวดักสัมภาษณ์ “ลุงป้อม” หวังล้วงเอาความจริง แต่เจ้าตัวกลับบ่ายเบี่ยง ตอบคำถามกลับ สไตล์เดิมๆ #ไม่รู้ #ไม่รู้ แถมไล่ให้ไปถามคนปล่อยข่าวว่า ปล่อยทำไม?

ตัดภาพมาที่ “ลุงตู่”​ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รอบนี้ไม่หนีหน้า พูดออกจากปากเป็นจริงเป็นจัง “เพิ่งได้ยินข่าวเมื่อช่วงเช้าวันนี้เหมือนกัน ไม่รู้ว่าได้แหล่งข่าวกันมาจากไหน ไม่ได้มีอะไรทั้งสิ้น และยังทำงานอยู่เหมือนเดิม ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี ส่วนการตัดสินใจไปต่อโดยการนำทัพเองในการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยังไม่คิดไปไกลขนาดนั้น คิดแค่ว่าจะทำยังไงประคับประคองรัฐบาลนี้ให้ครบวาระ วันหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประชาชน”

ในระหว่างที่นักการเมืองก็เล่นเกมปล่อยข่าวกันไม่เว้นแต่ละวัน “ใครอยู่ข้างใคร” ก็พากันเชียร์ผลักดันจนเกิดกระแส ทว่าแท้จริงแล้ว “การปล่อยข่าวลวงสับขาหลอก” ของนักการเมืองบางกลุ่ม บางคน ก็เล่นเอา 2 ลุง ตั้งตัวไม่ติด ถึงจะรู้แก่ใจว่าใครคิดร้าย แต่เหตุใด เรื่องเดิมๆ ยังเกิดขึ้นซ้ำๆ นี่ไม่นับรวมเรื่องการแคปเจอร์แชทในไลน์ ปล่อยว่อนหลุดออกมาเป็นระลอกๆ

ถามประชาชนดีกว่า อยากได้ใครเป็น หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เมื่อลองเทียบข้อมูลประวัติ วัดกันแบบตัวๆ ถอดหัวโคนตำแหน่ง พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ และน้องรักคนเล็กในกลุ่ม 3 ป. อย่างลุงตู่

“ประวิตร วงษ์สุวรรณ” ลูกชายนายพล

เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ปัจจุบันอายุ  76 ปี เป็นลูกชายคนโตของ พลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับ นางสายสนี วงษ์สุวรรณ … “ลุงป้อม”​ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556 เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า “ทหารเสือราชินี”

“ป้อม” ทะลุเป้า

“ลุงป้อม” ​ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี พ.ศ. 2552 และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า “ป้อมทะลุเป้า” สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ที่ถูกครหา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์

ลุงป้อม เป็น “พี่ใหญ่” ของกลุ่มทหาร “บูรพาพยัคฆ์” เป็นทหารที่เริ่มต้นรับราชการจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (“ทหารเสือราชินี”) …หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557  “ลุงป้อม” ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นอกจากนี้ ลุงป้อม ยังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ คนที่ 2

ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 มีข่าวแย่งตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยกลุ่มสามมิตร ซึ่งประกอบด้วยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัย แถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตร พยายามเสนอญัตติ ขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง

ต่อมา วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐจำนวน 18 คนลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมที่ทำหน้าที่อยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรค และใน วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี พ.ศ. 2563 แต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ตั้งแต่วันนั้น จวบจนมาถึงวันนี้

“ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ลูกชายพันเอกพิเศษ เติบโตในค่ายทหาร

เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ณ ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน “ลุงตู่” สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร  ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่ “ลุงตู่”​ เคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดี และในปี พ.ศ. 2514 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และในปี พ.ศ. 2519 เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และหลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51 ในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2524 หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34 ในปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 และเป็นศิษย์เก่า และในปี พ.ศ. 2550 เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20 “ลุงตู่” รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ “ทหารเสือราชีนี” มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก “บูรพาพยัคฆ์”

แม่ทัพภาคที่ 1 แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินความไม่สงบ ทางการเมือง

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกิดรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 พลตรีประยุทธ์ ได้เลื่อนชั้นยศเป็น “พลโท” และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบก  และต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้นจนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 ลุงตู่ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงนามแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553

 

นายกรัฐมนตรีสมัยแรก จากการรัฐประหาร สู่การแต่งตั้ง สมัยที่สอง

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร อีก 2 วันต่อมาเขาก่อรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พระบรมราชโองการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหัวใจสร้างความชอบธรรมแก่รัฐประหาร ให้อำนาจเขาเสมือนนายกรัฐมนตรี หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี

หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 มีการตั้งรัฐบาลผสมที่มี “พรรคพลังประชารัฐ” เป็นแกนนำ ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 มิถุนายน สมาชิกวุฒิสภาทุกคนเลือก “ประยุทธ์” เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งเกือบทั้งหมด มาจากการแต่งตั้งของ คสช. เช่นเดียวกับมีพรรคร่วมรัฐบาลมากถึง 19 พรรค ซึ่งรวมพรรคเล็กพรรคน้อยหลายพรรคที่ได้ประโยชน์จากการตีความกฎหมายเลือกตั้งของ กกต. นานถึง 44 วัน

*** ขณะนี้ คนบางกลุ่มกำลังปล่อยข่าว หวังผลพยายามให้เกิดความแตกแยก “เสี้ยม” ด้วยการเอาตำแหน่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มาเปิดประเด็นความขัดแย้ง … ทว่าเอาข้อเท็จจริงด้านโปรไฟล์ชีวิตมาเทียบกัน เหล่านี้ล้วนแล้วเป็น ข้อมูลขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความเป็นมาเพียงแค่เศษเสี้ยวผลงานส่วนหนึ่ง ของ 2 พี่น้อง “ลุงตู่ – ลุงป้อม” ….   แล้วคุณคิดว่า “ใคร” เหมาะสมจะนั่งเก้าอี้ “หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เจพาร์ค ศรีราชา” จัดพิธีอัญเชิญเทพเจ้าโอคุนินุชิ ประทับในศาลเจ้าโอคุนิ ศาลเจ้าชินโตแห่งที่สามของประเทศไทย
ก้าวสู่ปีที่ 5 Future Food Leader Summit 2025 ชวนสร้างไอเดีย บนแนวคิด “อาหารฟื้นฟูเพื่ออนาคต” เปิดตัว Future Food AI ครั้งแรกในเอเชีย
TIPH คว้าอันดับเครดิตองค์กรสูงสุดของกลุ่มโฮลดิ้งส์ ตอกย้ำศักยภาพผ่านการประเมินจากทริสเรทติ้ง
"บิ๊กเต่า" เตรียมส่งทีมสอบ "บอสพอล" ปมเส้นเงิน 8 แสน โยงแม่นักการเมือง ส.
"วราวุธ" ขออย่านำ "เกาะกูด" เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย
แม่ค้าขนมครกโอดยอมกัดฟันสู้ หลังราคาน้ำกะทิขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 100 บาทแต่ยันขายขนมครกราคาเดิมกลัวลูกค้าหด
"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น