‘ธณิกานต์’ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียว ปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม

‘ธณิกานต์’ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียว ปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม ชี้ 3 ประเด็นที่ต้องคำนึงในเวทีสภาฯ

น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางซื่อ-ดุสิต พรรคประชารัฐ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียวปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม พร้อมให้ความเห็นว่า นับเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทย และน่ายินดีที่วันนี้ร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ได้กลับสู่วาระของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป ซึ่งหัวใจสำคัญของการทำงานฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางกฎหมายแก่คน ทุกคน ทุกเพศ ด้วยการตรากฎหมายรับรองสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียม

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ธณิกานต์ กล่าวถึงขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร ว่า ‘ขั้นแรกของสภาจะเป็นการลงมติรับหลักการ ต่อไปก็จะเป็นการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อหาฉันทามติรายมาตราและให้ได้แนวทางการปลดล็อกอันนำไปสู่ความเท่าเทียมของคนทุกเพศอย่างแท้จริง ขอทุกฝ่ายร่วมผลักดันให้เกิดสังคมที่ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เด็กผู้หญิง และผู้มีความหลากหลายทางเพศ’

น.ส.ธณิกานต์ กล่าวว่า มี 3 ประเด็นหลัก ที่ต้องคำนึงถึงและร่วมหาทางออกในชั้นกรรมาธิการ รัฐสภา คือ

1. สวัสดิการภาครัฐ เนื่องจากยังไม่มีการขึ้นทะเบียนนับจำนวน LGBTQ+ ในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการคลังขอเวลา 3 ปี หลังจากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน เพื่อจัดสรรงบประมาณในการดูแล ให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เพื่อสอดคล้องกับหลักการจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศ หรือ Gender Responsive Budgeting #GRB ซึ่งสนับสนุนความเสมอภาคยิ่งขึ้น

2. ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ส่งผลให้การสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 นั้นยังคงทำได้เฉพาะ ระหว่างชายกับหญิง อยู่ต่อไป ดังนั้น การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) โดยปรับแก้คำนิยามใหม่ที่คำนึงถึงทุกเพศ จะเป็นไปได้อย่างไรบ้าง เช่น ใช้คำว่า บุคคล 2 คน แทน ชาย-หญิง, ใช้คำว่า คู่สมรส แทน สามี-ภรรยา, ใช้คำว่า บุพการี แทน บิดา-มารดา

3. สิทธิพลเมือง ถ้าจะยกระดับให้กฎหมายของไทยก้าวสู่ระดับสากล ต้องคำนึงถึงสิทธิของความเป็นพลเมืองโลก หรือ Global Citizen แต่กรณีคู่รัก LGBTQ+ ชาวต่างชาติ เข้ามาขอแต่งงานและจดทะเบียนในประเทศไทย ทางกฤษฎีกาได้ชี้ถึงประเด็นเรื่องค่านิยมและความเชื่อตามหลักศาสนา ที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น มุสลิมกับมุสลิมที่เป็น LGBTQ+ ต่างชาติ เข้ามาแต่งงานกันในประเทศไทย ซึ่งขัดกับหลักศาสนาและอาจขัดกับประเทศที่ตนอาศัย ส่งผลต่อความมั่นคงของไทยหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"วราวุธ" ขออย่านำ "เกาะกูด" เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย
แม่ค้าขนมครกโอดยอมกัดฟันสู้ หลังราคาน้ำกะทิขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 100 บาทแต่ยันขายขนมครกราคาเดิมกลัวลูกค้าหด
"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท
"นายกฯ" ลั่นไม่แทรกแซง หลังป.ป.ช.ขอเวชระเบียน "ทักษิณ"
ตร.แจ้งเอาผิด "พี่เลี้ยง"ทำร้ายเด็ก 5 ขวบ อ้างสั่งสอนเพราะดื้อ
เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น