ศาลอาญาฯอนุมัติหมายจับ บริษัทจัดซื้อรถซ่อมทางสงขลา ข้อหาฮั้วประมูล หลังศาลปกครองฯสั่งอบจ.ชดใช้เอกชน 25 ล้าน

ศาลอาญาฯอนุมัติหมายจับ บริษัทประมูลจัดซื้อรถซ่อมทางสงขลา ข้อหาฮั้วประมูล หลังศาลปกครองฯสั่งอบจ.ชดใช้เอกชน 25 ล้าน

ภายหลังจากนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงถึงกรณีเรื่องข้อพิพาทสัญญาซื้อขายรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา หลังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาว่า

1. การประมูลจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทาง ของ อบจ.สงขลานั้นมีทั้งหมด 3 ครั้ง

-ครั้งที่ 1 ประมุลจัดซื้อ 1 คัน เมื่อเดือน กรกฎาคม 2555 (สมัยนายอุทิศ ชูช่วย อดีตนายก อบจ.สงขลา)
-ครั้งที่ 2 ประมูลจัดซื้อ 1 คัน เมื่อเดือน กันยายน 2555 (สมัยนายอุทิศ ชูช่วย อดีตนายก อบจ.สงขลา)
-ครั้งที่ 3 ประมูลจัดซื้อ 2 คัน เมื่อเดือน พฤษภาคม 2556 (สมัยนายอุทิศ ชูช่วย อดีตนายก อบจ.สงขลา)

2. นายนิพนธ์ บุญญามณี เข้ารับตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา เมื่อเดือนตุลาคม 2556 เป็นช่วงเดียวกับที่มีการส่งมอบรถซ่อมบำรุงทาง ของการจัดซื้อครั้งที่ 3 จำนวน 2 คัน ที่จัดซื้อตั้งแต่สมัยนายอุทิศ ชูช่วย เป็นนายกอบจ.

3. มีการร้องเรียนไปยัง ผวจ.สงขลา และ นายกอบจ. สงขลาว่าการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทางในครั้ง 3 นั้น มีการปลอมเอกสาร และ มีการฮั้วประมูล ทางผวจ.สงขลา จึงแจ้งมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อร้องเรียนดังกล่าว และนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่รับตำแหน่งนายกอบจ.สงขลาช่วงนั้นจึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้ชะลอการจ่ายเงินให้แก่ผู้ชนะการประมูล

4. ในระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ดำเนินการตรวจสอบอยู่นั้น บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด (ผู้ชนะการประมูล) ได้ร้องต่อศาลปกครองสงขลา ให้ อบจ.สงขลาชำระเงินค่ารถซ่อมบำรุงทาง

5. ศาลปกครองสงขลา ได้ตัดสินให้ อบจ.สงขลา ชำระเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางให้แก่บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด พร้อมดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม อบจ.สงขลา ได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาวันนี้คือ 9 มิถุนายน 2565 ให้ อบจ.สงขลา ชำระค่ารถซ่อมบำรุงทางให้แก่ผู้ชนะการประมูลพร้อมดอกเบี้ย

6. ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงพบว่า มีการฮั้วประมูลจริง ในการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทางครั้งที่ 3 และนายนิพนธ์ บุญญามณี ก็ได้ให้ อบจ.สงขลา แจ้งความดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ณ สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลาแล้ว

7. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา ได้สรุปสำนวนการสอบสวนเสร็จสิ้น มีความเห็นควรสั่งฟ้องบริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด โดยนายอิทธิพล ดวงเดือน (ผู้ชนะการประมูล) และนางสาวศศิธร ตั้งตรงคิด กรรมการบริษัท เอส พี เค ออโต้ เทค จำกัด (บริษัทคู่เทียบประมูล ในความผิดฐาน ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือโดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานรัฐหรือโดยเอาเปรียบหน่วยงานรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 264 และ 268 และตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 14 (2) และมาตรา 14 วรรคสาม และอยู่ระหว่างส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป

8. อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหาได้ร้องขอโอนสำนวนการสอบสวนจาก สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา ไปยังกองบังคับการปราบปราม เพื่อทำการสอบสวนแทน และเมื่อวันที่ 9 ก.ย.64 กองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปราม ได้สรุปสำนวนการสอบสวนว่าผู้ต้องหากับพวกในคดีนี้ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาจริง และได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และจนถึงบัดนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

9. นอกจากการประมูลจัดซื้อรถครั้งที่ 3 นั้น อบจ.สงขลา และ นายนิพนธ์ บุญญามณี ยังพบพยานหลักฐานว่า การประมูลจัดซื้อครั้งที่ 1 และ 2 สมัยนายอุทิศ ชูช่วย นั้น ก็มีการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับการจัดซื้อครั้งที่ 3(คือมีการฮั้วฯ) เพราะเป็นกลุ่มเอกชนกลุ่มเดียวกัน จึงได้แจ้งความดำเนินคดี กับผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นกัน สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา

10. เมื่อวันที่ 23 ส.ค.64 สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา ได้สรุปสำนวนการสอบสวนพบว่ามีพยานหลักฐานเชื่อว่าในการประมูลครั้งที่ 1 และ 2 นั้น ผู้ต้องหา อันได้แก่ บริษัท พลวิศว์ เทค จำกัด (ผู้ชนะการประมูล ครั้งที่ 1) โดยนายอิทธิพล ดวงเดือน, หจก.เพลิโอนี (ผู้ชนะการประมูลครั้งที่ 2) โดยนายอิทธิพล ดวงเดือน และบริษัทคู่เทียบทุกรายในการประมูล ได้ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือโดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานรัฐหรือโดยเอาเปรียบหน่วยงานรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ เป็นเหตุให้ อบจ.สงขลาได้รับความเสียหาย และได้ส่งเรื่องต่อไปยัง คณะกรรมการ ป.ป.ช เพื่อดำเนินการต่อไป

11. ต่อมาเมื่อวันที่ 12 เม.ย.65 นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งสำนวนการสอบสวน ของการจัดซื้อครั้งที่ 1และ 2 กลับมายัง สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับกลุ่มเอกชนต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป และขณะนี้ พนักงานสอบสวนก็ได้อยู่ระหว่างส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ

นายนิพนธ์ ยังเปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด นายนิพนธ์ บุญญามณี กรณีไม่อนุมัติจ่ายเงินให้แก่บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ผู้ขาย นั้น ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า

1. คณะกรรมการ ป.ป.ช ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญากับนายนิพนธ์ บุญญามณี แต่อัยการสูงสุดได้ชี้ข้อไม่สมบูรณ์ของสำนวนคดีที่ป.ป.ช.ทำมาใน 16 ประเด็น และได้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด และผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่สามารถชี้แจงข้อไม่สมบูรณ์ของสำนวนคดีได้ตามที่อัยการสูงสุดระบุความไม่สมบูรณ์ของสำนวนที่ป.ป.ช.ทำมาได้ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องนายนิพนธ์ บุญญามณี และได้คืนสำนวนกดีกลับให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปแล้วเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565

นายนิพนธ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า การพิจารณาในวันนี้เป็นเรื่องเดิมที่มีมาก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาสั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคกก.ตรวจฯก็สรุปความเห็นว่าบริษัทพลวิศว์ฯ ทำผิดพ.ร.บ.ฮั้วจริง ซึ่งเป็นการพิจารณาในทางแพ่งไม่เกี่ยวข้องกับการพิจาณาในคดีอาญา และโดยหลักการพิจารณาทางแพ่งจะนำมาใช้กับการพิจารณาทางอาญาไม่ได้ แต่ทางอาญาสามารถนำไปปรับเข้ากับการพิจารณาทางแพ่งได้ ซึ่งกรณีนี้มีความย้อนแย้งกันกัน ขณะเดียวกัน กองปราบปรามก็ได้สรุปสำนวนแล้วว่า บริษัทพลวิศว์ได้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้วฯ และส่งสำนวนไปให้ป.ป.ช.ได้พิจารณาเพิ่มเติม ประกอบกับในสำนวนที่ป.ป.ช.ทำไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นฟ้องนั้น ขณะนี้อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง และได้ส่งสำนวนกลับไปยังป.ป.ช.แล้ว อีกทั้ง ได้ร้องขอความเป็นธรรมไปยังป.ป.ช.ให้พิจารณาเพิ่มเติมว่า นอกจากมีการฮั้วกันแล้ว การตรวจรับรถอเนกประสงค์ทั้ง 2 คัน ผู้ตรวจรับไม่มีอำนาจในการตรวจรับ จึงถือเป็นการตรวจรับโดยมิชอบ

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 ได้อนุมัติหมายจับ กลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมการประมูลการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทาง ครั้งที่ 1 และ 2 ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา เมื่อปี 2555 ในความผิดฐาน ปลอมและใช้เอกสารปลอม และ ตกลงร่วมกันเสนอราคา (ฮั้วประมูล) เป็นเหตุให้ อบจ.สงขลา ได้รับความเสียหาย

โดยกลุ่มบริษัทที่ถูกศาลอนุมัติหมายจับครั้งนี้ คือ นางสาวหรือนางญาณี ลิ้มสถิรานันท์ หรือ อารยะทรงศักดิ์ ,บริษัท อะมีลัม จำกัด โดย นางสาวหรือนางญาณี ลิ้มสถิรานันท์ หรือ อารยะทรงศักดิ์, นายสุรพงษ์ ตรียานนท์ , บริษัท เอ็กซ์ ทู ที อินดัสตรี จำกัด โดยนายสุรพงษ์ ตรียานนท์, นางชวลี เทียนงามสัจ , บริษัท ครีเอทอินโนเวชั่น จำกัด โดย นางชวลี เทียนงามสัจ

ขณะที่ บริษัท อะมีลัม จำกัด และ บริษัท เอ็กซ์ ทู ที อินดัสตรี จำกัด เป็นบริษัทที่เข้าซื้อซองประมูลการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทางเอนกประสงค์ 2 คัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,850,000 บาท ของ อบจ.สงขลา ด้วย

ประเด็นสำคัญ สำนักข่าวอิศรา เคยระบุข้อมูลเชิงลึกพบข้อสังเกตสำคัญ ดังนี้

1.บริษัท เอส พี เค ออโต้เทค จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหลังจาก บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด เพียง 2 วัน

2. การจดทะเบียนของทั้งสองบริษัทในช่วงวันที่ 22 เม.ย.56 และ 24 เม.ย.56 ก่อน อบจ.สงขลา ออกประกาศเปลี่ยนแปลงประกาศเชิญชวนครั้งแรกวันที่ 25 เม.ย.56 เพียง 3 วัน และ 1 วัน ตามลำดับ

3. การจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เม.ย.56 เป็นวันเดียวกับที่ บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ยื่นซื้อเอกสารกับ อบจ.สงขลา พร้อมกับ บริษัท อะมีลัม จำกัด และ บริษัท เอ๊กซ์ ทู ที อินดัสตรี จำกัด เมื่อ 24 เม.ย.56 (ย้อนดูตารางด้านบน) โดย อบจ.สงขลาเปิดให้ซื้อเอกสารระหว่าง 10 เม.ย. – 3 พ.ค. 56

4. ผู้ร่วมเสนอราคา 2 ราย เสนอราคาห่างกัน 50,000 บาท

5. น่าสังเกตว่า บริษัท อะมีลัม จำกัด และ บริษัท เอ๊กซ์ ทู ที อินดัสตรี จำกัด ร่วมซื้อซองเอกสาร แต่ไม่ยื่นเสนอราคา

6. บ้านหญิงสาวผู้ถือหุ้น บริษัท อะมีลัม และ บริษัทเอส พี เคฯ อยู่ในซอยเดียวกัน และใกล้กัน

 

ส่วนกรณีที่นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ล่าสุด ป.ป.ช.มีมติส่งฟ้องคดีที่นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่เซ็นจ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางเอนกประสงค์ ชนิด 10 ล้อ จำนวน 2 คันเป็นเงิน 50,850,000 บาท ให้แก่ บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอง หลังอัยการสูงสุดมีมติไม่สั่งฟ้อง โดยขณะนี้คณะทำงานของ ป.ป.ช.ได้ยกร่างคำฟ้องเสร็จสิ้นแล้ว และเตรียมจะยื่นต่อศาลภายในเดือนนี้

ส่วนนายนิพนธ์ จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หลังศาลรับคำฟ้องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล เพราะไม่มั่นใจในข้อกฎหมายเรื่องการหยุดปฏิบัติหน้าที่ จะต้องเป็นการหยุดปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบตัว "เจ๊แหม่ม" บ้านออมทอง โกง 300 ล้าน หลังผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ บางรายหวิดฆ่าตัวตาย
จังหวัดเลย บูนาการร่วม เปิดโครงการเพิ่มผลผลิตกุ้งแม่น้ำ เพื่อสร้างแหล่งอาหารชุมชน ครั้งที่ 3 จำนวน 1 แสนตัว ณ อ่างเก็บน้ำประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
"SCGP" บ้านโป่งจัดประชุมไตรภาคีโรงไฟฟ้าครั้งที่2 เพื่อติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานสำคัญในพื้นที่บ้านโป่งและใกล้เคียง
"แซน" ลั่นไม่หนักใจ หากรื้อคดี "แตงโม" ใหม่ เชื่อสังคมรอฟังบทสรุป
🔥 MATCH DAY!
"คีรี กาญจนพาสน์" ประธานบีทีเอส กรุ๊ป ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย ส่งมอบโรงงานกระดาษกาญจนบุรีสู่สาธารณประโยชน์
มาดามแป้ง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอล ลงนาม MOU กับ ซาอุดีอาระเบีย และ กาตาร์ พร้อมดูงาน Aspire ศูนย์ฝึกระดับโลก หวังยกระดับฟุตบอลไทย
เมืองไทยประกันภัยผ่านการรับรององค์กรต่อต้านการทุจริต CAC ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4
"ทนาย สจ.จอย" ยันเป็นแค่ข่าวลือ ปม "โกทร-สจ.โต้ง" เป็นพ่อลูกกัน
ตร.ปทส. รวบ14 ผู้ต้องหา ประกอบการรับซื้อของเก่า ย่านประเวศ ร่วมก่อมลพิษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น