กิน “หมูดิบ” ทำพิษ แพทย์เตือนเลี่ยงด่วน เสี่ยงโรคไข้หูดับ

หมูดิบ, ไข้หูดับ, โรคไข้หูดับ, อาการไข้หูดับ, วิธีป้องกันไข้หูดับ, กรมควบคุมดรค, เนื้อหมูดิบ

กิน "หมูดิบ" กรมควบคุมโรคเตือนด่วน เลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงไข้หูดับ อันตรายถึงเสียชีวิต

กิน “หมูดิบ” กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนด่วน ระวังป่วยโรคไข้หูดับ หากมีอาการเข้าข่ายรีบพบแพทย์ทันที ร้ายแรงถึงชีวิต ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนที่กินเลี้ยงหรือทำอาหารกินเองในครอบครัว ขอให้หลีกเลี่ยงการกิน “หมูดิบ” หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับ และอาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้

 

 

 

ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อ ได้แก่

  • ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค เช่น ผู้เลี้ยงสัตว์ คนทำงานโรงฆ่าสัตว์ ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ คนชำแหละเนื้อหมู
  • ผู้ที่รับประทานเนื้อหมู ดิบ เป็นต้น

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ เป็นต้น

 

 

 

หมูดิบ, ไข้หูดับ, โรคไข้หูดับ, อาการไข้หูดับ, วิธีป้องกันไข้หูดับ, กรมควบคุมดรค, เนื้อหมูดิบ

 

 

 

การติดต่อของโรคไข้หูดับ

  • ติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และเยื่อบุตา
  • จากการรับประทานเนื้อหมู ดิบ ปรุงไม่สุกหรือเลือดหมู ดิบ

 

 

 

ลักษณะอาการ

  • เริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไม่กี่ชั่วโมงถึง 5 วัน จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง
  • เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้
  • อาเจียน
  • ถ่ายเหลว
  • คอแข็ง
  • ส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน ถึงขั้นหูหนวกถาวร
  • ข้ออักเสบ
  • เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อรุนแรง ถึงติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

 

 

 

หมูดิบ, ไข้หูดับ, โรคไข้หูดับ, อาการไข้หูดับ, วิธีป้องกันไข้หูดับ, กรมควบคุมดรค, เนื้อหมูดิบ

วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ

1. ผู้ที่เลี้ยงสุกร

  • ควรใส่รองเท้าและถุงมือทุกครั้งที่ทำงานในคอกสุกร
  • ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสุกร
  • หลีกเลี่ยงการจับซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า

 

 

2. ผู้ที่ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์

  • ควรสวมใส่เสื้อและกางเกงที่ปิดมิดชิด รองเท้าบู๊ทและถุงมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสุกรโดยตรง
  • ไม่หยิบจับอาหารเข้าปากขณะปฏิบัติงาน

 

 

 

3. ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์

  • ควรจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย
  • และเก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ตํ่ากว่า 10°C

 

 

 

4. ผู้บริโภค

  • ควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น
  • และเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีคล้ำ
  • ล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัสกับเนื้อหมู
  • ปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียลขึ้นไป นาน 10 นาที หรือจนกว่าเนื้อหมูไม่มีสีแดง

 

 

 

ทั้งนี้ หากมีอาการข้างต้น หลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานหมู ดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422”

 

 

 

หมูดิบ, ไข้หูดับ, โรคไข้หูดับ, อาการไข้หูดับ, วิธีป้องกันไข้หูดับ, กรมควบคุมดรค, เนื้อหมูดิบ

 

 

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น