นักวิชาการ สธ.แนะ รัฐปรับแผนฉีดวัคซีน หวั่น เดือน ก.ค.อาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,400 คน

นักวิชาการ สธ.แนะ รัฐปรับแผนฉีดวัคซีน หวั่น เดือน ก.ค.อาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,400 คน

วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านระบาดวิทยาและที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในงานเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปได้อย่างไร” โดยกระทรวงสาธารณสุข ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอก 3 โดยแต่เดิมมีสายพันธุ์อัลฟ่า หรือสายพันธุ์อังกฤษเป็นสายพันธุ์หลัก

อย่างไรก็ดี การเข้ามาของสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย จะทำให้สถานการณ์ 3 เดือนจากนี้ไปแย่ลง สะท้อนจากพื้นที่แพร่ระบาดหนักเขตกรุงเทพฯ เป็นสายพันธุ์เดลต้ายึดครองแล้วกว่า 40% และคาดว่าในอนาคตอีกราว 1-2 เดือน จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของไทยแทน ซึ่งมีการติดง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 1.4 เท่า

“หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ ที่เดือน มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 992 คน ในเดือน ก.ค. คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 1,400 คน เดือน ส.ค. อัตราการเสียชีวิตเพิ่มเป็น 2,000 คน และเดือน ก.ย. จะมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 2,800 คน ซึ่งจะทำให้ระบบสาธารณสุขเราเดินต่อไปไม่ได้”

ซึ่งหากพิจารณาจะเห็นว่าในกลุ่มผู้เสียชีวิตกว่า 80% เป็นผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้น หากเปลี่ยนเป้าการเปลี่ยนวัคซีนจากปกติเป็นการ “ปูพรม” ฉีดวัคซีนในทุกกลุ่ม จะฉีดกลุ่มสูงวัยได้ราวเดือนละ 10% โดยมีเป้าหมายหลักหลายจุดประสงค์ตั้งแต่การเปิดโรงเรียน โรงงาน ซึ่งหากดำเนินตามแผนเดิมจะไม่ทันวิกฤตเตียงขาด

นพ.คำนวณ กล่าวต่อไปว่า ตนในฐานะนักวิชาการอยากเสนอให้เปลี่ยนเป้าการฉีดวัคซีน เป็นการพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้สูงอายุก่อน เพื่อลดการเสียชีวิตและลดการอาการเจ็บหนัก ซึ่งนำไปสู่การใช้เตียงวิกฤต ตลอดจนห้องไอซียู การนำวัคซีนที่มีในมืออยู่จำกัดมาใช้กับกลุ่มดังกล่าวจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด

“หากทำได้จะลดอัตราการเสียชีวิตลง โดยในเดือน ก.ค. จะเหลือราว 1,000 คน ส่วนเดือน ส.ค. เหลือ 800 คน และเดือน ก.ย. เหลือเพียงเดือนละ 600-700 คน เฉลี่ยเดือนละ 20 คน อยู่ในวิสัยที่เรายังรับได้ ในวันนี้เราไม่มีเตียงไอซียูแล้ว ควรใช้วัคซีนให้ถูกกลุ่มที่สุด กลุ่มคนสูงวัยและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีประมาณ 18 ล้านคน ตอนนี้ฉีดไปแล้ว 2 ล้านคน ถ้าระดมฉีดกลุ่มนี้หลัก ๆ ใน 2 เดือน สถานการณ์จะดีขึ้น”

ด้าน นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนตัวหลัก 2 ยี่ห้อ ได้แก่ วัคซีนซิโนแวค และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยวัคซีนซิโนแวคนำเข้ามาเฉพาะกิจรอบที่ระบาดหนัก พบว่าได้ผลในการป้องกันโรคราว 71-91% หากติดเชื้อโควิดก็จะมีอาการน้อย

ผลการศึกษาในประเทศบราซิลในกลุ่มประชาชน 70,000-80,000 คน ในสายพันธุ์บราซิล หรือ P1 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ราว 80-90% ส่วนผลการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียระบุว่า ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วยังสามารถติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งมีปัจจัยหลัก ๆ มาจากสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากประเทศจีนพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่เมืองกวางโจวประมาณ 166 คน ที่ฉีดซิโนแวคแล้ว สามารถลดการติดเชื้อได้ 69% ลดอาการปอดอักเสบได้ 73% และลดอาการบาดเจ็บรุนแรงไปจนถึงการเสียชีวิตได้ถึง 95%

ด้านวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจะกลายมาเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยสามาถป้องกันการติดเชื้อในสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้สูงถึง 70-90% และในอินเดียพบว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 97% ส่วนการศึกษาในสายพันธุ์เดลต้าลดการติดเชื้อได้ 80-90% ประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนชนิด mrna ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงราว 94-95%

ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ในส่วนของการจัดหาวัคซีนในประเทศไทย ด้านสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้เร่งจัดหาวัคซีนให้ได้เดือนละ 10 ล้านโดส แต่ด้วยการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยสยามไบโอไซแอนซ์ เพิ่งเริ่มผลิตทำให้เดือน มิ.ย. ได้เพียง 6 ล้านโดส

ส่วนในเดือนต่อไปคาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตวัคซีนในประเทศมีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 15-16 ล้านโดส/เดือน แต่ด้วยข้อตกลงกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งต้องส่งออกวัคซีนไปยังประเทศอื่น ๆ ทำให้ในแต่ละเดือนไทยจะได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพียง 5-6 ล้านโดสเท่านั้น

ดังนั้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว สถาบันวัคซีนฯ จึงได้พยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาเสริม หลังแอสตร้าเซนเนก้าอาจได้ไม่ตามเป้า 10 ล้านโดสต่อเดือน โดยได้จัดหาไฟเซอร์ ซึ่งได้สั่งจองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 20 ล้านโดส อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่าน่าจะนำเข้ามาได้ราวไตรมาส 4 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ไตรมาส 3 เนื่องจากรูปแบบของบริษัทวัคซีนต้องผลิตไปพร้อม ๆ กับการส่งมอบ ประกอบกับประเทศไทยสั่งจองช้า

ด้วยการติดปัญหารอบด้าน ที่ขณะนี้ดีมานด์ทั่วโลกสูง ผู้ซื้อเสียเปรียบในหลาย ๆ ด้าน จึงต้องผ่านการมองรอบด้าน และปรึกษาหลายฝ่าย อาทิ อัยการสูงสุด คณะรัฐมนตรี

“ขณะนี้วัคซีนที่จะได้ในช่วงไตรมาส 3 ได้ ได้แก่ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม และแอสตร้าเซนเนก้า พร้อมกันนี้เรายังอยู่ระหว่างการศึกษาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยการฉีดยี่ห้อเดียวกันรวมไปถึงการสลับฉีดกับวัคซีน mrna เพื่อหาวิธีการที่ทำให้ป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติฯ มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กองทัพเรือ และจ.กระบี่ ร่วมใจจัดโครงการรวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ตม.สระแก้วร่วม กับ ฉก.อรัญประเทศฯ สกัดจับ 8 ชาวบังคลาเทศ หิวโซ ลอบเข้าไทยช่องธรรมชาติ
“อานนท์ นำภา” เหิมหนัก! ถอดเสื้อกลางศาล ฉุนสั่งพิจารณาลับ
“ณฐพร” ยื่นป.ป.ช.สอบ “2 บิ๊กมท.” ผิดจริยธรรมร้ายแรง ปมเอกสารสิทธิเขากระโดง
“ศุภมาส” นำอว.จัดเต็ม นิทรรศการ One Stop Open House 2024 สร้างอนาคตการศึกษา เพิ่มโอกาสอนาคตเยาวชนไทย
"กห." ขีดเส้นตาย ซ้อมทรมาน "ทหารเกณฑ์" เป็นศูนย์ ออกกฎเหล็กตั้งเป้าไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ชาวบ้านแจ้งเบาะแส ชายคลั่ง กราดยิงหนองบัวลำภู ดับ 4 ศพ  ตร.เร่งปูพรมล่าตัวกลางป่าทึบ
"นายกฯ" สั่งศปช.เร่งแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ด่วน 
เปิดคลิปสุดน่ารัก “น้องเอวา” ดาวเด่นแห่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เล่นน้ำชุ่มฉ่ำ
“ดร.ปณิธาน” ชี้ทางแก้ 3 ระดับ ปม “ว้าแดง” แนะรัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น