“กัญชากัญชง” 2565 ปลดล็อกแล้ว สรุปชัด ๆ แบบไหนผิด แบบไหนผ่าน

กัญชากัญชง, กัญชา กัญชง, กัญชา, สูบกัญชา, ปลดล็อกกัญชา, อย., สาร THC, กรมอนามัย,​ยาเสพติด

"กัญชากัญชง" ประกาศปลดล็อกอย่างเป็นทาง สายเขียวเฮยกใหญ่ แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เช็คให้ดี แบบไหนถูก แบบไหนผิด ไม่อยากติดตาราง รีบเช็คก่อนสาย

“กัญชากัญชง” สายเขียวถึงกับยิ้มกริ่ม เมื่อมีประกาศปลดล็อกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ใช่ว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับสิ่งนี้จะถูกกฎหมายหมด เช็คให้ดี แบบไหนถูก แบบไหนผิด สรุปมาให้ครบแล้ว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “กัญชากัญชง”

1. สามารถปลูกที่บ้านได้ไหม

  • ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ประชาชนสามารถปลูกในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต
  • แต่ต้องแจ้งข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ”
  • หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th โดยทาง อย. จะออกใบรับจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ที่มาจดแจ้ง
  • หากพบการกระทำความผิดที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย. สามารถถอนการจดแจ้งดังกล่าวได้ทันที

 

 

 

กัญชากัญชง, กัญชา กัญชง, กัญชา, สูบกัญชา, ปลดล็อกกัญชา, อย., สาร THC, กรมอนามัย,​ยาเสพติด

 

 

 

2. สูบกัญชา ยังผิดกฎหมายอยู่ไหม 

  • ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
  • หลังประกาศปลดล็อกออกมา ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดแล้ว
  • ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
  • ส่วนการสูบ มีข้อกำหนด เช่น

 

– การสูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น โดยก่อให้เกิดความรำคาญจากกลิ่นหรือควัน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่หรืออาศัยบริเวณใกล้เคียง เจ้าพนักงานท้องถิ่น สามารถระงับเหตุและตรวจสอบได้ตามกฎหมาย โดยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท

– ห้ามสูบแบบม้วน เนื่องจาก ไม่มีอากรแสตมป์ของกรมสรรพสามิตติดไว้อย่างถูกต้องเหมือนกับบุหรี่

– เสพแล้วห้ามขับรถ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร

 

 

 

3. หากครอบครองกัญชา ผิดกฎหมายไหม

  • ไม่มีความผิด
  • ยกเว้นกรณีมีสารสกัดที่มีปริมาณสาร THC เกิน 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต ไม่มีใบสั่งแพทย์ ไม่ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสารสกัดนั้นมาจากนอกประเทศไทย ยังถือว่ามีความผิด
  • โดยตำรวจจะไม่ดำเนินคดีในทันที เนื่องจาก ไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า โดยจะทำการยึดสารสกัดนั้นส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาค่าสาร THC รวมทั้งสืบเสาะแหล่งที่มา และตรวจหลักฐานการขออนุญาต หากพบว่าผิดกฎหมาย จึงจะเรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีภายหลัง

 

 

 

กัญชากัญชง, กัญชา กัญชง, กัญชา, สูบกัญชา, ปลดล็อกกัญชา, อย., สาร THC, กรมอนามัย,​ยาเสพติด

4. หากจำหน่ายกัญชา กัญชง ถือว่าผิดกฎหมายไหม

ยังมีส่วนที่ไม่ผิดกฎหมาย และส่วนที่ยังถูกควบคุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • การขายส่วนของพืชกัญชา กัญชง ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
  • การขายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หากเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ
  • ผู้จําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนําผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจําหน่าย
  • ต้องขออนุญาตการขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์
  • ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • การขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
  • การจําหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาหรือกัญชง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น

 

 

 

ส่วนกรณีที่ผิดกฎหมาย มีดังนี้

  • การขายกัญชา กัญชง ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เพื่อนำไปบริโภค หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
  • ห้ามจำหน่ายกัญชาแบบมวน

 

 

 

กัญชากัญชง, กัญชา กัญชง, กัญชา, สูบกัญชา, ปลดล็อกกัญชา, อย., สาร THC, กรมอนามัย,​ยาเสพติด

 

 

 

5. กัญชา กัญชง สามารถทำเป็นอาหารได้ทุกส่วนไหม

  • ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 กําหนดว่า กัญชาหรือกัญชงที่นำมาประกอบอาหารต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น ห้ามเป็นของที่นำเข้ามา
  • และส่วนของพืชกัญชากัญชง ที่สามารถนำมาใช้ผลิตอาหารได้ ประกอบด้วยเปลือก ลําต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
  • สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
  • กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ําหนักแห้ง

 

 

 

6. ร้านอาหารสามารถนำใบกัญชามาปรุงอาหารขายได้ไหม

  • สามารถนำใบกัญชาที่ซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. มาปรุงอาหารขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
  • แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย ดังนี้

– แสดงข้อแนะนํา เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนํา ใบกัญชามาใช้ในการทําประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565

– แสดงคําเตือนรายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชงในภาชนะบรรจุ ดังต่อไปนี้

(1) เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
(2) หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที
(3) ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocanabionol ,THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Canabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน
(4) อาจทําให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

ดูรายละเอียดจากกรมอนามัยเพิ่มเติม : คลิก

 

 

 

กัญชากัญชง, กัญชา กัญชง, กัญชา, สูบกัญชา, ปลดล็อกกัญชา, อย., สาร THC, กรมอนามัย,​ยาเสพติด

 

 

 

ข้อมูล : FDA Thai, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น