“ภาวะหัวใจล้มเหลว” 2565 ทานอย่างไรให้ปลอดภัยและเหมาะสม

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, โซเดียม, กรมการแพทย์, สถาบันทรวงอก

"ภาวะหัวใจล้มเหลว" แพทย์เผย ผู้ป่วยควรทานอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยและเหมาะสม เตือน ทานเค็ม โซเดียมสูง อันตรายถึงชีวิต

“ภาวะหัวใจล้มเหลว” กรมการแพทย์ เตือนผู้ป่วย เลือกรับประทานอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยและเหมาะสม เน้นย้ำ เลี่ยงเค็ม เลี่ยงโซเดียม ดีที่สุด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือน ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย เค็มน้อย หากทานอาหารที่มีโซเดียมมาก เค็มมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคั่ง น้ำท่วมปอด ซึ่งทำให้อาการที่เป็นอยู่เพิ่มความรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้

 

 

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, โซเดียม, กรมการแพทย์, สถาบันทรวงอก

 

 

 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โซเดียม คือ แร่ธาตุอย่างหนึ่ง มีหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์ (electrolyte) ในร่างกาย ควบคุมระดับความดันโลหิต ร่างกายมีการขับน้ำและแร่ธาตุ รวมถึงโซเดียมได้ 3 ทาง ได้แก่

  • ปัสสาวะ
  • เหงื่อ
  • อุจจาระ

 

 

 

ซึ่งใน 1 วัน ความต้องการสูงสุดของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตรายอยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา โดยโซเดียมมักอยู่ในเกลือ และสารให้ความเค็มต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ นอกจากนี้ โซเดียมอาจจะอยู่ในอาหารที่ไม่มีรสชาติเค็มอีกด้วย เช่น เบเกอรี่เเละขนมอบ ที่มีส่วนประกอบ อาทิเช่น ผงฟู เป็นสารที่ทำให้ขนมปังขึ้นฟู โซเดียมอัลจิเนต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเจลให้ความข้นหนืด ผงกันบูด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น

 

 

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, โซเดียม, กรมการแพทย์, สถาบันทรวงอก

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารรสเค็มมากไปต่อเนื่องเป็นประจำ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ “ภาวะหัวใจล้มเหลว”ภาวะหลอดเลือดในสมองแตกหรืออัมพาตได้ ดังนั้น การจำกัดและควบคุมปริมาณเกลือโซเดียม สามารถช่วยควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว ลดภาวะบวมน้ำ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตได้

 

 

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, โซเดียม, กรมการแพทย์, สถาบันทรวงอก

 

 

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • อาหารแปรรูปต่าง ๆ จำพวกอาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารรสเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
  • ขนมกรุบกรอบ เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผัก/ผลไม้ดอง
  • เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ที่มีผงฟูเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น

 

 

 

สำหรับอาหารที่ควรเลือกรับประทานและส่งผลดีต่อผู้ป่วย ได้แก่

  • อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด หรือประกอบอาหารทานเองซึ่งจะสามารถควบคุมปริมาณเครื่องปรุงได้
  • อาหารที่มีปริมาณโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวและผลไม้
  • ควรลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงน้ำจิ้ม และลดปริมาณน้ำจิ้ม
  • นอกจากนี้ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็ยังเป็นวิธีพื้นฐานที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้
  • รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำเช่นกัน

 

 

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, โซเดียม, กรมการแพทย์, สถาบันทรวงอก

 

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น