หลังจากวานนี้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลดุสิต ตามหมายเรียกในความผิดตามมาตรา 112 ซึ่งร้องทุกข์กล่าวโทษโดย นายเทพมนตรี ลิมปพะยอม นักวิชาการอิสระ โดยต่อมานายปิยบุตร เปิดเผยว่า ตนเองถูกนายเทพมนตรี แจ้งความดำเนินคดีจากการโพสต์ข้อความ 8 โพสต์ แต่ตำรวจเห็นว่ามีเพียง 1 ข้อความที่อาจเข้าข่ายกระทำความผิด ม.112
ชำแหละอีก 2 พฤติกรรม “ปิยบุตร” ส่อหมิ่นสถาบันฯ
ข่าวที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตามนอกจากโพสต์ต่างๆของนายปิยบุตรที่นายเทพมนตรีนำไปแจ้งความเอาผิดแล้ว เมื่อไปตรวจสอบข้อมูลและพฤติกรรมของนายปิยบุตรเพิ่มเติม ก็พบว่า นายปิยบุตรยังมีพฤติกรรมที่อาจเข้าข้ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ อีก 2 กรณี ดังนี้
กรณีแรก วันที่ 21 และ 22 มกราคม 2564 นายปิยบุตร ได้ไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ก เรื่องสนามกฎหมาย EP14 และ EP 15 สาระสำคัญ นายปิยบุตรได้วิพากษ์วิจารณ์โครงการราชฑัณฑ์ปันสุข ซึ่งเกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่พระองค์ต้องการพระราชทานเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของนักโทษในเรือนจำให้ดีขึ้น
ในการไฟล์สด นายปิยบุตรอ้างว่า พระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข 3 ฉบับ ไม่มีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประเทศไทย และพยายามพูดโน้มน้าวให้คนฟังเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ ก่อนจะตั้งคำถาม 9 ข้อ และคำถามสำคัญคือ สุดท้ายแล้วประเทศไทยจะอยู่กันแบบไหน? ,ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ? หรือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์?
ประเด็นนี้ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ได้อธิบายข้อเท็จจริงว่า พระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข 3 ฉบับ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า “การแต่งตั้ง และการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตาม พระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา” เนื่องจากโครงการราชฑัณฑ์ปันสุข ไม่ได้เข้าไปจัดการในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือ ราชการปกครองแต่อย่างใด เป็นเพียงโครงการในพระองค์ ที่ทรงต้องการพระราชทานเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของนักโทษในเรือนจำให้ดีขึ้นเท่านั้น ไม่ได้แตกต่างจากการที่บุคคลธรรมดาทั่วไป ที่จะมีตำแหน่งในหน้าที่ราชการหรือไม่มี รวมกันจัดตั้งกองกฐิน/ผ้าป่าเพื่อร่วมทำบุญ มีการตั้งรองประธานกรรมการ และกรรมการ มากมายได้เช่นกัน
ผศ.ดร.อานนท์ ชี้ว่า ประเด็นนี้ของนายปิยบุตร ย่อมทำให้พระมหากษัตริย์ เสื่อมเสียพระเกียรติ เสื่อมเสียชื่อเสียง ทรงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง จึงอาจเข้าข่ายความผิดในหลายข้อหาด้วยกัน อาทิ ความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ,ความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 112 และมาตรา 116 ฯลฯ
กรณีที่ 2 ย้อนไปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้แถลงเปิดโปงเบื้องหลังการชุมนุมของม็อบราษฎร ซึ่งในการแถลงนายถาวรได้เปิดเผยคลิปของนายปิยบุตร ซึ่งไปพูดที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2559 เรื่อง “Thailand in a Deeper State of Crisis?” กล่าวหา ในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่ามีอำนาจอิทธิพลเหนือผู้พิพากษา เช่น พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ซึ่งนายปิยบุตรอ้างว่า เป็นที่มาของตุลาการภิวัฒน์ในประเทศไทย โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตัดสินคดีเป็นไปตามที่สถาบันกษัตริย์ต้องการ ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะในหลวง รัชกาลที่ 9 ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ในหลวงไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-