“นั่งนาน” 6-8 ชม. วิจัยพบเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต-โรคหัวใจ

นั่งนาน

"นั่งนาน" 6-8 ชั่วโมง คณะนักวิจัยจากจีนและแคนนาดา พบเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต และป่วยเป็นโรคหัวใจ แนะลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กิจกรรมทางกายภาพช่วยได้

“นั่งนาน” อันตรายจากการนั่งนานๆ ผลกระทบ จากการนั่ง ทำงาน นานๆ โรค ที่เกิดจากการนั่ง ทำงาน นานๆ งานวิจัย การนั่งนานๆ ใครที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลาหลายชั่วติดต่อกันระวังให้ดี เมื่อทางด้าน สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า จากการวิจัยพบ นั่ง นาน เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิต และป่วยโรคหัวใจ แนะลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กิจกรรมทางกายภาพช่วยลดความเสี่ยงได้ ติดตามเรื่องราวนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้าน สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า วารสารเจเอเอ็มเอ คาร์ดิโอโลจี (JAMA Cardiology) เผยแพร่ผลการศึกษาร่วมระดับโลก ซึ่งระบุว่าการนั่งเป็นเวลานานสัมพันธ์กับความเสี่ยงเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ และการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางระดับล่างพบความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างเด่นชัด คณะนักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน (CAMS) และมหาวิทยาลัยไซมอน เฟรเซอร์ ในแคนาดา ดำเนินการศึกษาร่วม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอายุ 35-70 ปี จาก 21 ประเทศ มากกว่า 100,000 คน โดยมีระยะติดตามผลเฉลี่ย 11.1 ปี

 

 

การศึกษาพบความเสี่ยงเสียชีวิตและการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลว ในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ นั่ง นาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12-13 เมื่อเทียบกับผู้ที่นั่งน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนผู้ที่ นั่ง นาน มากกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ ผลการศึกษาระบุว่าการลดเวลานั่งนิ่ง ๆ ควบคู่กับการเพิ่มกิจกรรมทางกายภาพ มีแนวโน้มเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดความเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และการป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

 

นั่งนาน

 

 

 

นอกจากนั้นทางด้าน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย ก็เคยได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกันว่า เมื่อเวลาที่เรานั่งระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ  ท้องผูก จุก ท้องอืด เป็นตะคริว อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย เช่น หัวใจ เพราะการนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงกล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น้อยลง คอและไหล่ตึง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด ยาวไปถึงกล้ามเนื้ออาจเสื่อมสภาพได้ ดังนั้นหากเรานั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งโดยเท้าทั้ง 2 ข้างวางไม่ถึงพื้น นอกจากจะมีการกดทับเส้นเลือดบางส่วนไม่เท่ากัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีแล้ว การที่นั่งเป็นเวลานานจะส่งผลให้ขาดแรงบีบอัดจากกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ร่างกายจึงมีการไหลเวียนโลหิตไม่เพียงพอ

 

 

นั่งนาน

 

 

ดังนั้น การนั่งทำงานหรือนั่งทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามติดต่อกันได้นานเกิน 2 ชั่วโมงถือว่าเต็มที่แล้ว หากเกินกว่านี้ ความสามารถในการนั่งท่าที่ถูกต้องจะลดลง และส่งผลต่อข้อต่อ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังจะถูกแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงให้ยู่เข้าหากันเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุงทำให้เกิดผลกระทบ เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง และโรคที่จะตามมา นอกจากการปรับท่าทางการนั่งให้มีความสมดุลกันทั้ง 2 ข้างแล้ว การลุกขึ้นยืนบ่อย ๆ จะช่วยลดการกดทับส่วนต่าง ๆ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงควรลุกขึ้นอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง โดยแต่ละครั้งควรมีการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 5 นาที หรืออย่างน้อยที่สุดคือ การลุกขึ้น หรือ เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงจะช่วยลดอาการปวดส่วนต่าง ๆ และลดการเสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา เพื่อการมีสุขภาพที่ดี และฝ่าวิกฤติไปได้อย่างมีความสุข

 

 

นั่งนาน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : China Xinhua News 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น