รู้ทัน 9 "โรคหน้าฝน" โรคที่มากับฝน โรคร้ายยอดฮิตประจำปี 2022 รู้จักอาการเบื้องต้น รู้ก่อนป้องกันได้ เช็คด่วนมีอะไรบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
“โรคหน้าฝน” เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ฤดูกาลที่หลายคนตกหลุมรักกับบรรยากาศชิล ๆ รับฝนโปรยปราย เหมาะกับการดูหนังเพลิน ๆ หรือเล่นเกมกับครอบครัวที่สุด แต่รู้ไหมว่า นอกจากความสุขที่มาพร้อมกับฤดูกาลนี้แล้ว ยังมีภัยเงียบใกล้ตัวที่มาพร้อมกับฝน กว่าจะรู้ตัวอีกที ฤดูกาลนี้ก็พรากคนสำคัญไปเสียแล้ว วันนี้ TOP News เลยจะพาผู้ชมไปทำความรู้จักกับ 9 โรคร้ายยอดฮิตที่มาพร้อมกับฤดูฝน พร้อมวิธีป้องกันโรค รู้จักก่อนป้องกันได้
1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
(1) โรคไข้หวัดใหญ่
- พบได้ทุกกลุ่มอายุ
- ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
(2) โรคปอดอักเสบ
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ
- ติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือไอจามรดกัน
วิธีป้องกันโรค
- สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
- และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
2. โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ
(1) โรคอุจจาระร่วง
- เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป
- ถ่ายเหลว 3 ครั้งขึ้นไป/วัน
(2) โรคอาหารเป็นพิษ
- มีอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง
- สามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง
(3) โรคอหิวาตกโรค
- เกิดจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
- ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน
วิธีป้องกันโรค
- การล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร
- รับประทานอาหาร ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่
- หากต้องการรับประทานอาหารค้างมื้อ ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง
- และไม่ควรรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม
3. โรคติดต่อนำโดยยุงลาย
(1) โรคไข้เลือดออก
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเต็งกี่ (ยุงลายเป็นพาหะ)
- มีไข้สูง ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก
- มีจุดแดงที่ผิวหนัง
(2) โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (ยุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะ)
- คล้ายกับไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด
วิธีป้องกันโรค
- ไม่ให้ถูกยุงกัด และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
4. โรคติดต่อที่สำคัญอื่น ๆ ในช่วงฤดูฝน
(1) โรคฉี่หนู
- โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
- พบได้บ่อยในผู้มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องสัมผัสกับดินหรือน้ำเป็นประจำ
- มีไข้สูง หนาวสั่น ตาแดง และปวดกล้ามเนื้อน่องอย่างรุนแรง
(2) โรคมือ เท้า ปาก
- พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
- จากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ฝ่าเท้า
- ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และสามารถหายได้เอง
วิธีป้องกัน
1. โรคฉี่หนู
- หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องลุยน้ำย่ำโคลนเป็นเวลานาน
- ควรสวมรองเท้าบูทยาว ถุงมือยาว
2. โรคมือ เท้า ปาก
- ผู้ปกครองและครูควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของบุตรหลาน
- หากพบว่ามีอาการสงสัยป่วย ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติทันที
- รีบพาไปพบแพทย์ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี
ข้อมูล : HA Thailand
ข่าวที่เกี่ยวข้อง