“หมีพูห์” ยาอีโฉมใหม่ 2565 กรมการแพทย์ เตือน อันตรายถึงตาย

หมีพูห์, กรมการแพทย์, ยาอีโฉมใหม่, ยาอี, อันตราย, เสียชีวิต, ยานอนหลับ

"หมีพูห์" ยาอีโฉมใหม่ สบยช. กรมการแพทย์ เตือนภัย ออกฤทธิ์รุนแรง ยิ่งใช้ร่วมกับยานอนหลับ ระวังอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

“หมีพูห์” ยาอีโฉมใหม่ TOP News รายงาน กรณีข่าวการตรวจยึดยาเสพติดรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นยาอีลักษณะเป็นเม็ดในรูปแบบตัวการ์ตูนสีเหลือง พร้อมยานอนหลับชนิดรุนแรง ในพื้นที่ จ.นครพนม

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมีพูห์, กรมการแพทย์, ยาอีโฉมใหม่, ยาอี, อันตราย, เสียชีวิต, ยานอนหลับ

 

 

 

 

นายแพทย์ มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดตัวเดียวกัน มีฤทธิ์หลอนประสาทและกระตุ้นประสาท จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ นิยมใช้ในกลุ่มนักเที่ยวกลางคืน

 

 

“เมื่อเสพยาอีเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ของยาจะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง โดยออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากนั้นจะหลอนประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพจะรู้สึก”

 

  • ร้อน
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ความดันโลหิตสูง
  • การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง
  • เคลิบเคลิ้ม
  • รู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา
  • ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

 

 

รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ยานอนหลับ ชนิดรุนแรงที่พบ จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้หลับ และเป็นยาที่ไม่มีในบัญชียาของกระทรวงสาธารณสุข คาดว่า จะนำยาทั้ง 2 ชนิดที่ตรวจพบมาเสพร่วมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น

 

 

 

 

หมีพูห์, กรมการแพทย์, ยาอีโฉมใหม่, ยาอี, อันตราย, เสียชีวิต, ยานอนหลับ

 

 

 

 

 

นายแพทย์ สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาอีโฉมใหม่ “หมีพูห์” และ ยานอนหลับ ที่ตรวจพบเป็นยาเสพติดที่เป็นอันตราย

 

 

“ในส่วนของยาอีจะเข้าไปทำลายระบบประสาททำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการควบคุมอารมณ์ทำงานผิดปกติ โดยจะหลั่งสารนี้ออกมามากกว่าปกติ ทำให้ สดชื่น อารมณ์ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสารดังกล่าวจะลดน้อยลง ทำให้ผู้เสพเข้าสู่สภาวะอารมณ์ เศร้าหมอง หดหู่ เกิดอาการซึมเศร้า และอาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression)”

 

 

นอกจากนี้ การที่สารเซโรโทนินลดลง จะทำให้การนอนหลับผิดปกติ เวลาการนอนลดลง หลับไม่สนิท อ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการเรียนและทำงาน

 

“เตือนกลุ่มวัยรุ่นและนักเที่ยวในสถานบันเทิงที่นิยมใช้สารเสพติดเพื่อต้องการให้เกิดอาการมึนเมาและสนุกสนานมากขึ้นให้ตระหนักถึงอันตรายที่จะตามมา ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้”

 

 

ทั้งนี้ หากประสบปัญหาเกี่ยวกับสุรา หรือยาและสารเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องยาและสารเสพติดได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmnidat.go.th : คลิกที่นี่

 

หรือเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่

 

  • สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่
  1. โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่
  2. โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน
  3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
  4. โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี
  5. โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา
  6. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี

 

 

 

 

หมีพูห์, กรมการแพทย์, ยาอีโฉมใหม่, ยาอี, อันตราย, เสียชีวิต, ยานอนหลับ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น