"ผู้ประกันตนม.40" เปิดไทม์ไลน์โอนเงินสมทบคืนสำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินเกิน ได้คืนเท่าไหร่ หากไม่มีบัญชีพร้อมเพย์ต้องทำยังไงบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
สำนักงานประกันสังคม แจ้งความคืบหน้ากรณี “ผู้ประกันตนม.40” ชำระเงินสมทบเต็มจำนวน งวดเดือนสิงหาคม 2564 – มกราคม 2565 และ กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 เตรียมรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกิน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน
วิธีคำนวณยอดเงินที่ส่งสมทบเกิน ดังนี้
งวดเดือนสิงหาคม 2564-มกราคม 2565
- ทางเลือกที่ 1 : เดิมผู้ประกันตนส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท (ยอดเงินคืน 28 บาท)
- ทางเลือกที่ 2 : เดิมผู้ประกันตนส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท (ยอดเงินคืน 40 บาท)
- ทางเลือกที่ 3 : เดิมผู้ประกันตนเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท (ยอดเงินคืน 120 บาท)
งวดเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2565
- ทางเลือกที่ 1 : เดิมผู้ประกันตนส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
- ทางเลือกที่ 2 : เดิมผู้ประกันตนส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
- ทางเลือกที่ 3 : เดิมผู้ประกันตนส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท
ไทม์ไลน์โอนเงินสมทบคืน
- ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2565 จะได้รับเงินระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม
- ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนก่อนวันที่ 8 กันยายน 2565 จะได้รับเงินระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน
วิธียื่นขอเงินสมทบคืน มีดังต่อไปนี้
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)
- หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิรับเงิน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
หากไม่มีบัญชีผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน ต้องทำอย่างไร?
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ได้ที่เว็บไซต์หรือขอรับได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
- จัดส่งเอกสารการขอรับคืนเงินสมทบได้ทางไปรษณีย์
- ยื่นเอกสารขอรับคืนเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
- แบบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์
(1) กรุงไทย
(2) กรุงศรีอยุธยา
(3) ธ.ก.ส.
(4) ธนาคารออมสิน
- โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนที่ยื่นข้อมูลให้กับทางสำนักงานประกันสังคม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- เว็บไซต์ : คลิกที่นี่
- โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง