ปัญหาขยะ นับเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่กำลังขยายตัวไปทุกพื้นที่ เนื่องจากสภาพความเจริญของชุมชนที่เติมโตขึ้นทุกวัน จากเดิมที่มีปริมาณขยะไม่มาก แต่ปัจจุบันมีมากเกินจะจัดเก็บและกำจัดได้ จึงเกิดปัญหามลพิษมากมายตามมา และเริ่มจะไม่มีพื้นที่ให้กำจัดทิ้ง ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้พยายามสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนธุรกิจบริการจัดการขยะกับทางภาครัฐ เพราะตระหนักดีถึงความจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน และกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ และรอการแก้ไข แต่การที่จะดำเนินการได้นั้น จะต้องมีการทำประชาคมกับประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดความเข้าใจและเห็นพ้องต้องกันเสียก่อน ตามระเบียบขั้นตอนกฎหมาย จึงจะสามารถดำเนินการได้ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ก็ได้เริ่มมีการดำเนินการไปแล้วที่ อ.สังขะ แต่ก็ถูกชาวบ้านคัดค้าน จนเกิดการประท้วงขึ้น
และล่าสุดที่ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ก็ได้มีการจัดให้มีการประชาคมขึ้นที่หอประชุมอำเภอท่าตูม เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2565 เวลา 14.00 น. โดยมีชาวบ้านจาก 4 ตำบล คือ ต.ท่าตูม ต.พรมเทพ ต.บะ และ ต.หนองเมธี กว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมประชาคม พร้อมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบรายละเอียดโครงการดังกล่าว ซึ่งมีนักวิชาการที่รับผิดชอบโครงการได้มาให้การชี้แจง โดยโครงการนี้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูมเป็นเจ้าของโครงการ มีพื้นที่ดำนเนินการโครงการไม่น้อยกว่า 40 ไร่ ใช้งบประมาณดำเนินการจำนวน 2,000 ล้านบาท
โดยบรรยากาศในการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผู้นำชุมชนและตัวแทนชาวบ้าน ได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นสลับกันไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกรงจะเกิดผลกระทบในด้านต่างๆตามมา โดยนายสหราช สาแก้ว ซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้าน กลุ่มนักอนุรักษ์ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า สำหรับพี่น้องที่มาแสดงความคิดเห็นในวันนี้ ทุกคนไม่อยากได้โรงงานขยะ ไม่อยากได้โรงงานไฟฟ้าด้วยพลังขยะ เพราะว่าบริเวณที่จะก่อตั้งโครงการนั้น มันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของเขตอำเภอท่าตูม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นอู่ปลาธรรมชาติของพี่น้องชาวอำเภอท่าตูม ซี่งวิถีชีวิตคนเกษตรที่เป็นเสน่ห์ของชาวอำเภอท่าตูมด้วย สำหรับการแสดงความคิดเห็นในวันนี้พวกเราไม่เห็นด้วยโดยสิ้นเชิง ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้นกับการที่จะมาก่อสร้างโรงงานขยะ โดยบริษัทธุรกิจเอกชนจะมาลุงทุนสองพันกว่าล้าน โดยมีหน่วยงานได้เข้ามาเพื่อหาพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ซี่งพวกเราในฐานะชาวบ้าน และตนซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านอำเภอท่าตูม และตัวแทนชาวบ้านลุ่มน้ำมูลทั้งสาย เราขอคัดค้านและไม่เห็นด้วยในการก่อสร้างโรงงานขยะ โรงงานพลังงานไฟฟ้าด้วยขยะในครั้งนี้ เพราะเรื่องนี้มันรวดเร็วมาก ชาวบ้านไม่รู้เรื่องการก่อสร้างนี้มาก่อน เพิ่งรู้ได้ยังไม่เกิน 3-4 วัน จนตั้งตัวรับไม่ทัน แต่เราก็ให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อที่จะมาฟังความคิดเห็น และฟังสิ่งที่เป็นไปได้จริง และสิ่งที่เกิดผลกระทบต่อชุมชน แต่ถ้ารัฐหรือบริษัทธุรกิจยังดื้นดันที่จะทำโดยไม่สร้างความชัดเจนให้กับชาวบ้านตามข้อกฎหมายกำหนด เราคนลุ่มน้ำทั้งสาย ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เราก็จะเดินมุ่งหน้าสู่รัฐสภา เพื่อยี่นหนังสือต่อคณะรัฐมนตรีให้แก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน อย่าให้เกิดการก่อสร้างในครั้งนี้ เพราะว่าชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เนื่องจากที่ตั้งของโครงการตามที่ดูในแผนที่ที่นำเสนอ มันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง และก็เป็นพื้นที่เกษตรอันสำคัญ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ และอู่ปลาของแม่น้ำมูลที่เป็นจุดเพาะพันธุ์ปลาที่จะลงสู่แม่น้ำมูล ซึ่งชาวบ้านต่างหวั่นวิตกว่าวิถีชีวิตเขาจะเปลี่ยนแปลง และมลภาวะจากกลิ่น จากเศษขยะต่างๆ และจากน้ำที่ถูกบำบัดจากโรงงานขยะ และการเสียกรรมสิทธิในที่ดินโดยชอบธรรมตรงนั้นมันจะหดหายไป พวกเขาอยากได้อากาศดีๆ อยากได้วิถีชีวิตเหมือนเดิม ถึงได้ไม่ต้องการโรงงานขยะในครั้งนี้
ด้าน นายรองรัตน์ จงอุตส่าห์ นายอำเภอท่าตูม ก็ได้กล่าวว่า ในอำเภอท่าตูมปัญหาเรื่องขยะ ก็ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในเชิงพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาในเขตเทศบาลก็ที่ทิ้งแทบไม่มี ก็ต้องเอาไปทิ้งที่ อ.สตึก ดังนั้นการแก้ปัญหาในภาพรวม ก็เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่เป็นหน้าที่ตาม พรบ.ที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกันกับที่ท่าตูม ทาง อบต.ท่าตูมก็เห็นว่าขยะถ้ามองในระยะยาวแล้วอาจจะเป็นปัญหาว่าจะแก้ไขปัญหาได้ยาก ก็เลยมีโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแปรรูปเป็นโรงงานไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งในวันนี้ก็มีการรับฝังความคิดเห็นจากประชาชนในตำบลและหมู่บ้านที่เกี่ยวข้าง ซึ่งถามว่าผลดีผลเสียมีเยอะมั๊ย ก็มี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่ความเห็นของประชาชนเป็นหลัก
ซึ่งภายหลังเสร็จจากกระประชุมประชาคมในเวลาประมาณ 16.00 น. นายทนงศักดิ์ วัฒนา คณะที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานสะอาดและกำจัดของเสียเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคณะที่มาให้คำชี้แจงรายละเอียดโครงการ ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการนี้ เราก็มองเรื่องปริมาณขยะเป็นหลัก เพราะจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดใหญ่ ทางทีมที่ปรึกษาก็เลยมองกันว่า ทางเทศบาลตำบลท่าตูมซึ่งเป็นคัสเตอร์อยู่แล้ว ซึ่งจังหวัดสุรินทร์นั้นแบ่งเป็นหลายคัสเตอร์ ซึ่งท่าตูมนั้นเป็นคัสเตอร์หนึ่ง ทีนี้เราก็มามองว่าทาง อบต.เขาก็อยากจะกำจัดขยะ ซึ่งตอนนี้มันมีประเด็นเรื่องปัญหาขยะ ซึ่งบ่อปัจจุบันนี้มันโดนปิดไป ขยะเลยไม่มีที่ทิ้ง และขยะบางส่วนที่ไปทิ้งที่อ.สตึก และปัจจุบันทางสตึกก็ไม่ให้ทิ้ง และขยะของเมืองส่วนหนึ่งก็ถูกนำไปทิ้งที่อุบลราชธานี ซึ่งทาง อบต.ก็ได้มาปรึกษาว่าจะทำออย่างไรดี ซึ่งทางมูลนิธิเราก็ทำเรื่องนี้อยู่แล้วก็เลยได้มาหารือกันว่าจะทำอย่างไรดี เพราะทาง อบต.ก็ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้ ซึ่งในเรื่องนี้นโยบายทางกระทรวงมหาดไทยก็มีอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายขั้นตอนตามกฎหมาย เพราะตอนนี้ขยะมีการทิ้งโดยไม่ได้กำจัด ก็เลยได้เริ่มมาศึกษา ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ได้มาดูพื้นที่แล้วว่าตรงไหนมีความเหมาะสม มีความกระทบกับชาวบ้านขนาดไหน ก็เลยลงพื้นที่ไปดู และทาง อบต.ก็ให้ข้อมูลว่าพื้นที่ตรงนี้น่าจะเป็นพื้นที่ศึกษาสำหรับดำเนินโครงการได้ แต่กระบวนการที่จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จก็ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการเสียก่อน ซึ่งก็เป็นวันนี้ที่ได้มารับฟังความคิดเห็นในพั้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีศักยภาพที่มีความเหมาะสมหลายๆเรื่อง เพื่อที่จะได้นำข้ามูลไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อไป เพื่อให้โครงการนี้ดำเนินการต่อไปได้ ในการที่จะกำจัดขยะให้กับอำเภอท่าตูม ซึ่งในวันนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนของกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องทำให้ครบทุถกขั้นตอนใน 11 ขั้นตอน ก่อนที่จะส่งให้ทางจังหวัดพิจารณาจากนั้นก็ส่งให้กระทรวงพิจารณาโครงการว่าสามารถดำเนินโครงการได้ไหม จากนั้นจึงจะมาดำเนินการโครงการต่อไปได้ ซึ่งในวันนี้เราก็ได้ข้อคิดเห็นจากหลายกลุ่ม ซึ่งชาวบ้านก็มีความกังวลว่าโครงการอยู่ใกล้พื้นที่ลุ่มน้ำ ใกล้เคียงน้ำจนเกินไป ซึ่งก็ต้องหารือกับพื้นที่ว่าจะหาพื้นที่ไหนที่มีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ และก็อาจจะต้องลงไปรับฟังความคิดเห็นเป็นรายกลุ่มย่อยในแต่ละชุมชนอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะนำมาสรุปในส่วนของคณะกรรมการอีกครั้งว่าเราจะดำเนินโครงการนี้อย่างไรต่อไป.
ภาพ / สุทิศ บุญยืน
ข่าว ชูชัย ดำรงสันติสุข ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์