“นิกร” เชื่อ ไม่ว่ายังไง”ร่างกฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส.”ก็ผ่านวาระ 3

“นิกร” ชี้ ไม่ว่ากฎหมายลูกเลือกตั้งออกมาสูตรไหนเรื่องก็ถึงศาลรธน. เชื่อไม่ว่ายังไงก็ผ่านวาระ 3

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (วิสามัญ) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ.… สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ.… หากผ่านวาระ 3 กระบวนการจะเป็นอย่างไรต่อไปนันว่า ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วย เพราะไปขัดหลักการใหญ่กับมาตรา 91 และตนจะไม่เห็นชอบด้วย แต่ทั้งนี้เชื่อว่าจะผ่านการเห็นชอบแต่ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสองสภา หลักจากนั้นก็จะต้องใช้มาตรา 132 ของรัฐธรรมนูญคือทางรัฐสภาจะส่งไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยกกต.จะต้องให้ความเห็นกลับมา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ในการพิจารณาส่วนนี้มีประเด็นคือตัวแทนกกต.ที่เป็นกมธ. ที่กมธ.เสียงข้างน้อยซึ่งเห็นด้วยกับสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อหาร 500 เขาขอให้ช่วยดู แต่ในกมธ.เห็นว่าไม่ควรใช้ในนามกกต. เพราะกกต.ยังต้องความเห็นเห็นกลับมา มันจะเป็นการผูกพันองค์กร จึงให้เป็นความเห็นในนามกมธ.และในนามบุคคลเท่านั้น ซึ่งก็คงจะไม่มีปัญหากับกกต. ทั้งนี้ กกต.จะต้องพิจารณาว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือมีปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ภายใน 10 วัน ซึ่งกกต.ไม่น่าจะชี้ว่าขัดเพราะไม่ใช่หน้าที่ แต่ในประเด็นว่าขัดหรือแย้งหรือไม่นั้น กกต.จะเป็นการให้ความเห็นกลับมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แก้หรือเพิ่มเป็นหลัก” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวต่อว่า ตนเห็นว่ามีปัญหาในเชิงปฏิบัติอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นคนละอย่างแล้วจับมารวมกัน ซึ่งจะมีปัญหาหลังการเลือกตั้งแล้วเกี่ยวกับเรื่องใบแดงหรือการทุจริต ก็จะยุ่งวุ่นวายกัน โดยสภาจะไม่นิ่ง ไม่ลงตัวและมีปัญหาต่างๆ รวมถึงกรณีการ Overhang ที่จะกลายเป็นว่าได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ 200-300 ซึ่งมันจะเกิดขึ้นแน่ และตนคิดว่ากกต.อาจจะแย้งกลับมา ซึ่งหากแย้งกลับมาว่ามีปัญหาเชิงปฏิบัติ สภามีทางเลือก 2 ทางคือ 1.ต้องกลับไปแก้ให้ไม่มีปัญหาคือ การกลับไปใช้สูตรหารด้วย 100 และต้องกลับมาแก้มาตราที่เคยแก้ไว้อีกครั้ง ซึ่งหากเสร็จแล้วก็จะส่งขึ้นทูลเกล้าฯ โดยในส่วนนี้จะมีเวลา 5 วัน ซึ่งก็เชื่อว่าฝ่ายที่เห็นด้วยกับการหารด้วย 500 เขาจะต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่ และ 2.หากเสียงข้างมากของรัฐสภายืนตามเดิมคือหารด้วย 500 ก็ต้องลงคะแนนยืนยัน ซึ่งหากที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบกับการหาร 500 ก็จะเจอ 2 ด่านคือ พรรคเพื่อไทย เท่าที่ทราบคือเขาจะร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้ง และอีกทีมคือคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. ที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน ที่เห็นว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการยื่นแยกกับทางพรรคเพื่อไทย

“ไม่ว่าอย่างไรทั้งสองทางก็จะต้องถึงศาลรัฐธรรมนูญแน่ ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญชี้กลับมา โดยอาจจะบอกว่าขัดหรือไม่ขัด หากไม่ขัดก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าต่อฯ และบังคับใช้ได้เลย แต่หากชี้ว่าขัดก็จะต้องตกออกทั้งฉบับหรือนำมาแก้เฉพาะช่วยที่มีปัญหา ซึ่งเมื่อแก้แล้วก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าได้ฯ” นายนิกร กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น