“สุพจน์” อดีต กรธ. แจงชัดให้นับ “นายก 8 ปี” ตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าฯปี 62

"สุพจน์” อดีต กรธ. แจงชัดให้นับ “นายก 8 ปี” ตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าฯปี 62

นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตรองประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถึงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารบันทึกการประชุมกรธ. ครั้งที่ 500 ซึ่งเนื้อหาได้มีการระบุความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตีความปม 8 ปี นายกรัฐมนตรีว่าต้องนับตั้งแต่เมื่อครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ยุคคสช.ด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนายสุพจน์ชี้แจงว่า บันทึกการประชุมดังกล่าว เป็นเอกสารเปิดเผยไม่ใช่บันทึกลับอะไร มีการเก็บไว้ในสถานที่ต่างๆ เช่นห้องสมุดรัฐสภา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเห็นดังกล่าวของตนก็เป็นแค่การพูดคุยปรึกษาหารือแบบไม่เป็นทางการของกรธ.ตอนนั้น อีกทั้งในความเป็นจริงพูดกันหลายคน แต่มีคนไปจับประเด็นที่บางกลุ่มต้องการ มีการไปดึงโค้ดคำพูดที่เขาต้องการให้มาประเด็นในตอนนี้เท่านั้นเอง ขอย้ำว่า บันทึกดังกล่าวไม่ใช่มติ เป็นการหารือทั่วไปของกรธ.21 คน แต่ที่บันทึกไว้ในรายงานเป็นเอกสารดังกล่าว ก็เพราะตำแหน่งของตนที่เป็นรองประธาน กับประธานนายมีชัยเท่านั้นเอง ซึ่งตอนที่คุยก็มีความเห็นกันหลายหลาย และตอนนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว อยากให้เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดจะดีกว่า

ส่วนความเห็นดังกล่าวมีผลผูกพัน จนสามารถนำมาเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายสุพจน์ ในฐานะอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ย้ำว่า ไม่ใช่มติกรธ. เป็นแค่การหารือ เราต้องดูบริบทอื่นๆด้วย ต้องดูหลายวรรค หลายตอนประกอบกัน ตอนที่กรธ.คุยกันในมาตราอื่นด้วยที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่เอาข้อความเดียวแล้วยกมาพูดถึง แต่ต้องดูมาตราอื่นด้วย ต้องดูหลายอย่าง ซึ่งต้องไปดูความเห็นที่ท่านชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาแที่ออกมาโพสต์เรื่องการตีความการนับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านให้ความเห็นดีมากเลย

ส่วนการจะนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเวลาใดนั้น นายสุพจน์ บอกว่า รัฐธรรมนูญปี 60 กระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรีมีอย่างไร ซึ่งมาตรา 158 มีขั้นตอนของมัน มาตรา 159 มีขั้นตอนของมัน หนึ่งพรรคการเมืองจะต้องส่งชื่อนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อให้ประชาชนเลือก เมื่อพรรคนั้นได้รับเสียงข้างมากเข้ามาในสภาฯ ก็จะมีกระบวนการต่างๆ ก่อนให้ประธานสภาฯเสนอชื่อทูลเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปี 60 จากนั้นนายกมนตรีลงชื่อรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งอันนี้คือการเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีขั้นตอน และรัฐธรรมนูญมีประชามติด้วย ดังนั้นครบถ้วนกระบวนความ ฉะนั้นการจะบอกว่านับตอนไหนมันเห็นชัดอยู่แล้ว ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ที่สภาฯเลือกขึ้นมา และสภาฯเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ดังนั้นต้องเริ่มนับวันที่โปรดเกล้าฯ แต่ทุกอย่างให้ไปลงที่ศาลรัฐธรรมนูญ อย่าฟังตนเป็นหลัก ส่วนจะย้อนแย้งกับบันทึกการประชุมหรือไม่นั้น บันทึกการประชุมก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกทั้งเป็นความเห็นเริ่มแรก และเป็นความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่มติ สำหรับรัฐธรรมนูญ2560 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดช้ำ หลังคำพิพากษาศาลฎีกา พ่อแม่ น้องหลิว 8 ปี ที่รอคอย โอดครวญ คงตายก่อนเยียวยา ไม่เคยได้รับการเยียวยา จากจำเลย หลังศาลฎีกา ตัดสิน จำคุกจำเลย ตลอดชีวิต คดี ผอ.โรงเรียน ฆาตกรรมลูกสาว สาวโรงงาน
พ่อเลี้ยงหื่น! มอมเหล้าลูกเลี้ยง วัย 16 ปี จนขาดสติก่อน ลวนลาม ขณะแม่อยู่ด้วยก็ไม่เว้น เครียดหนักเคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย สุดอึ้ง!! เอาเรื่องไปบอกแม่ กลับไม่เชื่อ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"
“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น