“หมอศิริราช” ลุ้นยอดติดเชื้อโควิดรายสัปดาห์ ชี้ข้อดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

“หมอศิริราช” ลุ้นยอดติดเชื้อโควิดรายสัปดาห์ ชี้ข้อดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ผู้ป่วยอาการรุนแรงวันนี้ ลงต่ำกว่า 900 ราย ติดต่อกันเป็นวันที่ 4 แต่ยังต้องรอลุ้นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายสัปดาห์ในวันพรุ่งนี้ว่า จะลงไปต่ำกว่า 2 แสนราย ได้หรือไม่ คงไม่น่ามีข้อสงสัยกันแล้วว่า วัคซีนเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้มนุษยชาติก้าวข้ามวิกฤตการณ์โควิด-19 ไปได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่แหวกภูมิเดิมอยู่เรื่อยๆ และไม่มีโคโรนาไวรัสอื่นที่มนุษย์ไปเอามาจากการรุกรานสัตว์อื่นที่อยู่ร่วมโลก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า ในทางสากลการประกาศภาวะฉุกเฉิน ถูกนำมาใช้ในหลายประเทศทั่วโลก เพื่อรับมือโควิด-19 ประกอบด้วยมาตรการ ปิดชายแดน ห้ามจับกลุ่มในที่สาธารณะ งดการพิธีกรรมทางศาสนารวมกัน ปิดเรียน และห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลา ซึ่งประเทศไทยก็เคยใช้มาครบบ้าง ไม่ครบบ้าง จนปัจจุบันแทบไม่เหลือแล้วแต่ที่ไม่ค่อยพูดถึงกันของที่มาเบื้องหลังซึ่งสำคัญสุดคือ กลไกรัฐ และกระบวนการทางการเมืองปกติไม่สามารถรับมือได้ เพราะประชาชนมีการตอบสนองที่หลากหลาย ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมได้ทันภัยร้ายที่คุกคามชีวิตเร่งด่วน อีกทั้งไม่สามารถบูรณาการระบบปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐได้คล่องแคล่ว ข้อหลังนี้เป็นเพราะบ้านเรามีนักการเมืองฉ้อฉลเข้าไปแทรกแซงข้าราชการประจำมาตลอดเกือบร้อยปี ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 หวังว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าและครั้งต่อๆ ไป จะช่วยให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น หมดหวังแล้วกับนักการเมืองหน้าเดิมๆ ของทุกค่ายในปัจจุบัน ที่โลดแล่น แลบลิ้น ปลิ้นตาหลอกลวงเอาผลประโยชน์ชาติเข้าพกเข้าห่อตัวเองไปวันๆ

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุอีกว่า สำหรับผมแล้ว การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไว้หรือไม่ ไม่ได้สลักสำคัญอะไรนัก ที่ผ่านมา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้จำกัดสิทธิทางการเมืองใคร เพราะยังมีการประท้วงทางการเมืองและเรื่องปากท้องให้เห็นอยู่ประปราย พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาตัดสินใจเข้ามาเพราะประเทศมีระบบบริหารจัดการโควิด-19 ที่น่าเชื่อถือ ที่เป็นผลทางอ้อมจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสียมากกว่า

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายกุมอำนาจรัฐ และฝ่ายยื้ออำนาจรัฐ ก็ไม่เห็นถูกจำกัดเพราะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แถมมีการผสมพันธุ์ความโลภ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันเกลื่อนกล่น สรุปความแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สำหรับผมมีดี 2 ประการ 1.ทำให้หน่วยราชการทำงานร่วมกันได้ราบรื่นขึ้นแทนการแย่งกันเป็นใหญ่ 2.ปกป้องข้าราชการที่ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนจากการแทรกแซงของนักการเมือง คงพอตอบกันในใจได้แล้วว่า เราควรคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบริหารสถานการณ์โควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพไปอีกนานแค่ไหนดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น