“ไวรัสเวสต์ไนล์” ที่มากับยุงป้องกันยังไง แนะแล้ว 3 วิธี เช็ค

ไวรัสเวสต์ไนล์

"ไวรัสเวสต์ไนล์" West Nile Virus เชื้ออันตรายที่มาพร้อมกับยุง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ 3 วิธีป้องกัน

“ไวรัสเวสต์ไนล์” อาการไข้เวสต์ไนล์ ไข้เวสต์ไนล์ การติดต่อ ไข้เวสต์ไนล์ ป้องกัน โดยล่าสุดทางด้าน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาการ วิธีป้องกัน วิธีการรักษา ของ ไวรัสเวสต์ไนล์ (West Nile Virus) เชื้อไวรัสอันตรายที่มาพร้อมกับยุง หลัง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้ ไวรัสนี้เป็นอย่างไรติดตามได้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

West Nile Virus ก่อให้เกิดโรคเชื้อไวรัส เวสต์ไนล์โดยมียุงเป็นพาหะ ถูกพบครั้งแรกในอำเภอเวสต์ไนล์ ประเทศอูกานดา พ.ศ. 2480 ต่อมา พ.ศ. 2542 พบการระบาดครั้งใหญ่ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการรายงานผู้ป่วยหลายพันรายต่อปี ปัจจุบันเชื้อนี้พบการระบาดในทวีปยุโรปตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก แคนาดา เวเนซุเอลา แอฟริกา ออสเตรเลีย และ อิตาลี

 

ล่าสุดมีการรายงานผู้ป่วยที่ประเทศอิตาลี จำนวน 94 ราย และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย ซึ่งเชื้อไวรัสนี้เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเชื้อที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

 

อาการ

  • ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยมีอาการเล็กน้อย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะมาก ไข้สูง คอแข็ง มึนงง เสียการทรงตัว ชัก เป็นอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจเสียชีวิตได้ พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก

 

การรักษา

  • ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค และไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ใช้การรักษาตามอาการ และวิธีประคับประคองทั่วไป

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

การป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงเป็นประจำ
  • ไม่ควรออกไปนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน
  • หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน ควรใช้ยาทาผิวหนังป้องกันแมลงหรือยุงกัด เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ

 

การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

  • ปัจจุบันใช้วิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค Real time RT-PCR โดยสามารถส่งตรวจได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ คือ EDTA plasma หรือ Serum ซึ่งเก็บในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ นำส่งที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ควรเก็บตัวอย่างเลือดในระยะที่มีไข้ หรือภายใน 5 วัน หลังผู้ป่วนเริ่มมีอาการ

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลือกตั้งสหรัฐ: โพลนิวยอร์กไทม์สให้แฮร์รีสชนะสวิงสเตท
เลือกตั้งสหรัฐ: รู้จัก 7 รัฐสวิงสเตทกันให้มากขึ้น
"เลือกตั้งสหรัฐ" รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เปิดเลือกตั้งเป็นรัฐแรก
"กษิต" แจงยิบสาเหตุ รบ.อภิสิทธิ์ยกเลิก MOU 44 แต่ไม่สำเร็จ หนุนเจรจาต่อ ยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
"จับผับลับห้วยขวาง" ลอบเปิดให้บริการ จัดเต็มแสง สี เสียง รวบ 26 นักเที่ยวจีนมั่วยา
ระทึก หกล้อขนถังแก๊ส เสียหลักพลิกคว่ำขวางถนนเชียงใหม่-แม่ออน กลิ่นแก๊สกระจายทั่วบริเวณ
"นักร้องสาวมาเลย์" พร้อมพวก ส่อวืดประกันนอนคุก หวั่นหลบหนีคดีไม่กลับมาขึ้นศาลตามนัด
ศาลนนทบุรี สั่งจำคุกหนุ่มใหญ่ 6 ปี 36 เดือน ผิดคดี 112 โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
ตร.ปคบ.หอบสำนวน 7000 หน้า ส่งฟ้องคดีหลอกขายทอง “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” ให้กับอัยการแล้ว
10 บริษัทโฆษณา ชั้นนำในไทย ที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น