“นายกฯ วสท.”แนะตรวจสอบเชิงลึก อาคารทรุดย่านพระโขนง

"นายกฯ วสท."แนะตรวจสอบเชิงลึก อาคารทรุดย่านพระโขนง

วันนี้ ( 23 ส.ค.) ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. พร้อมคณะ เดินทางเข้าตรวจสอบ ตึกแถวเอียง บริเวณปากซอยสุขุมวิท 101/1 (ซอยปิยะบุตร์ 2) เขตพระโขนง พร้อมพูดคุยสอบถามรายละเอียดกับเจ้าของตึกดังกล่าว

โดย ดร.ธเนศ เปิดเผยว่า ปกติเมื่อได้รับการติดต่อจากกรุงเทพมหานคร ก็ยินดีที่จะเข้ามา จุดประสงค์ที่เดินทางมาตรวจสอบอาคารดังกล่าวในวันนี้ คือ ดูว่าอาคารเอียงจริงหรือไม่, เอียงโน้มไปในทิศทางใด, สภาพโครงสร้างภายในอาคารเป็นอย่างไร พร้อมทั้งพูดคุยทำความเข้าใจกับเจ้าของอาคารว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า อาคารเอียงไปทางด้านหลัง แต่หากจะให้ระบุแน่ชัดว่าเอียงไปในระดับใด จะต้องใช้กล้องต่างระดับวัด แต่ครั้งนี้เป็นการตรวจสอบด้วยการดูด้วยตา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดร.ธเนศกล่าวอีกว่า ตามหลักการสร้างอาคารโดยทั่วไป หากไม่ได้จงในเพื่อให้เป็นศิลปะ ตัวอาคารจะต้องสร้างให้มีความตั้งตรง หากอาคารที่ตั้งใจสร้างให้ตรงแต่กลับเอียง ถือว่าเสถียรภาพไม่ดี ตามหลักวิศวกรรมถือว่าไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องมีการสำรวจ และตรวจสอบเชิงลึก โดยเมื่อ3-4 ปีที่แล้ว คลินิคช่างของวิศวกรรมสถาน ได้เคยแนะนำให้มีการสำรวจ อย่างน้อยเพื่อให้เจ้าของอาคาร ทราบถึงการเคลื่อนไหวของตัวอาคาร ว่า มีการทรุดตัวหรือไม่ หรือทรุดตัวเพิ่มขึ้นเท่าไร รวมถึงอัตราการทรุดตัว เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขด้วยการเสริมเสาเข็ม หรือยกขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของอาคารจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ ต้องมีการสำรวจเชิงลึก เปรียบกับการไปพบแพทย์ ที่ต้องตรวจความดัน ตรวจอุณหภูมิ และเมื่อหยุดการสำรวจนั้นควรที่จะตอบได้ว่า เพราะอะไร กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเร่งสำรวจการทรุดตัว ซึ่งตนได้อธิบายให้เจ้าของอาคารเข้าใจแล้ว

ดร.ธเนศ กล่าวอีกว่า สำหรับกรุงเทพมหานคร ซึ่งเมื่อได้เข้ามาดูแลแล้ว และวันนี้พบปัญหาเพิ่มขึ้นในเรื่องของน้ำ ก็ต้องตรวจสอบว่า มาจากที่ใด และทำให้ดินชุ่มจนอาคารทรุดตัวหรือไม่ โดยทางวิศวกรรมสถานสามารถช่วยในเรื่องของการตรวจเรื่องน้ำหรือตรวจภายนอกได้ ซึ่งอาคารที่เอียงมักจะไม่พบรอยร้าว เพราะเอียงไปด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีรอยแตก ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเร่งสำรวจ เมื่อใดที่อาคารเอียง และมีฐานใดหลุดจากหัวเข็ม จะทำให้เกิดการจม ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นห่วง จึงต้องมีการตรวจสอบเชิงลึก เพราะตราบใดที่ไม่มีตัวเลขด้านการทรุดตัว การชุ่มน้ำ และตัวเลขอัตราจากการสำรวจอื่นๆ ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนผู้พักอาศัย ไม่ควรทำสิ่งที่เพิ่มน้ำหนักให้ตัวอาคาร ทั้งนี้ ปกติอาคารทรุดมี 2 แบบ คือการทรุดตัวไม่เท่ากัน ที่จะมีรอยร้าวแตกเฉียงที่ผนัง อีกประเภทคือการทรุดตัวแบบทรุดเอียงที่ไม่มีรอยร้าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึก รถบรรทุกหกล้อชนรถรับส่งนักเรียน ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาส เสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 11 ราย
ตร.ชลบุรี เรียกประชุมด่วน จ่อดำเนินคดี "บิ๊กโจ๊ก" ปม 112
สวยสง่า "โอปอล สุชาตา" ประกวด Miss Universe 2024 รอบพรีลิมฯ-ชุดประจำชาติ "สยามมานุสตรี" คนไทยส่งใจเชียร์
คาด ‘ทางรถไฟฝีมือจีน’ ในมาเลย์ เพิ่มเชื่อมต่อ-กระตุ้นเติบโต
อินเดียสั่งปิดโรงเรียนประถมในนิวเดลีหลัง PM2.5 พุ่ง
จับกุมลุงมะกันมือซนสลักตัวอักษรที่ศาลเจ้าญี่ปุ่น
“ประเสริฐ” ยอมรับพรรคเพื่อไทย ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับก้าวไกล หลังเลือกตั้ง 66 เพราะปมเงื่อนไข 112
"ประเสริฐ" ยันเงินดิจิทัลวอลเล็ต ทันมี.ค.68 พร้อมทดสอบระบบ ดูความเสถียร
กองเชียร์ถึงกับงง “ช่อ พรรณิการ์” พลิ้ว อ้าง 112 ไม่ใช่นโยบายหลักของพรรคส้ม เจอชาวเน็ตขุดโพสต์สวนเดือด
"ทร." เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ "วันลอยกระทง" จัดกำลังพลดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น