“ปลาเรืองแสง” กรมประมง เตือนอันตราย ส่งคืน 1 ก.ย.- 30 พ.ย. 65

ปลาเรืองแสง

"ปลาเรืองแสง" การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (สัตว์น้ำ GMOs) กรมประมง เตือน สวยแต่อันตราย ใครมีในครอบครองให้ส่งคืนกรมประมง

“ปลาเรืองแสง” ปลา เรือง แสง ข้อเสีย ปลาเรืองแสง gmo ปลา กัด เรืองแสง ปลาสวยงาม โดยทางด้าน กรมประมง ได้ออกมาประกาศเตือน ปลาเรืองแสง สวยอันตราย เป็นปลาที่ตัดต่อพันธุกรรม GMOs หวั่นกระทบอุตสาหกรรมปลาสวยงามไทยทั้งระบบ หากมีในครอบครองให้ส่งคืนกรมประมง ติดตามรายละเอียดทั้งหมดที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง ได้ระบุข้อความว่า กรมประมง เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (สัตว์น้ำ GMOs) หรือ ‘ปลาเรืองแสง’ ออกสู่ตลาดปลาสวยงาม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่าง ๆ จากนานาชาติ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทย ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท/ปี และผู้เพาะเลี้ยงจะมีความผิดทางกฎหมายอีกด้วย

 

หากมีไว้ในครอบครองให้ส่งให้กรมประมงได้ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ทั่วประเทศ หรือ สำนักงานประมงจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

 

 

ปลาเรืองแสง

 

 

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ได้รับการรายงานว่า ขณะนี้พบมีผู้ที่ทำการเพาะเลี้ยงปลาเรืองแสง หรือ ปลาที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms : GMOs) ด้วยเทคนิคการนำยีนส์ที่ได้จากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลบางชนิดไปใส่ไว้ใน DNA ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลา และจะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเด่นขึ้นมา

 

เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ Blacklight จะทำให้ตัวปลาเรืองแสงสะท้อนขึ้นมาเกิดความแปลกตา สวยงาม ซึ่งชนิดของสีเรืองแสงที่มีการค้าในปัจจุบัน มี 6 สี ได้แก่ สีเขียว (Electric Green) สีฟ้า (Cosmic Blue) สีแดง (Starfire Red) สีส้ม (Sunburst Orange) สีชมพู (Moonrise Pink) สีมม่วง (Galactic Purple)

 

ในปัจจุบันนานาชาติโดยส่วนใหญ่ไม่ให้การยอมรับเรื่องของ GMOs ในสิ่งมีชีวิต เพราะอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาสวยงาม หากเข้าไปแทรกอยู่ในยีนส์แล้ว ยากที่จะเอาออกทำให้สูญเสียความเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมไป ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่น่ากังวล ประกอบกับ ประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) มีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการที่ GMOs จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของมนุษย์

 

ดังนั้น หากประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลา GMOs อาจส่งผลกระทบทำให้ถูกกีดกันทางการค้าจากนานาชาติ ทั้งในเรื่องของความเข้มงวดของการนำเข้าปลาสวยงาม หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการห้ามค้าขายปลาสวยงามที่เป็นหรือเสี่ยงที่จะเป็นปลา GMOs เลยทีเดียว ทั้งนี้ การตรวจสอบสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรมเรืองแสงในปลาที่เรืองแสงชัดเจน มีขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบโดยละเอียด ด้วยวิธีตรวจสอบจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ส่วนการตรวจสอบเบื้องต้น สามารถใช้ไฟฉาย UV Black light ส่องดูได้

 

 

ปลาเรืองแสง

 

 

 

ในปัจจุบันมีปลาสวยงามหลากหลายชนิดที่นำมาพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปลาเรืองแสง เช่น

  • ปลาเสือเยอรมัน (Tiger Barb)
  • ปลาม้าลาย (Danio)
  • ปลากลุ่มเตตร้า (Longfin Tetra & Tetra)
  • ปลาเทวดา (Angelfish)
  • ปลากาแดง (Redfin Shark)
  • ปลากัด (Betta

และที่น่ากังวล คือ ปลากัด (Betta) เป็นสัตว์น้ำชนิดใหม่ล่าสุดที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสง กลายเป็น ‘ปลากัดเรืองแสง’ และเริ่มออกขายในตลาดปลาสวยงาม กว่า 1 ปี เป็นสิ่งที่อันตราย ต่อวงการปลากัดไทยอย่างมาก เพราะปลากัดของไทยโด่งดังไกลทั่วโลก เนื่องจากมีลักษณะ ลวดลาย สีสันที่สวยงาม

 

จนมีลูกค้าจากทั่วโลกที่ต้องการปลากัดของไทย มีตลาดค้าขายปลากัดไทยทั้งออนไลน์และออฟไลน์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ถือเป็นปลาสวยงามที่สร้างมูลค่าการส่งออกหลักให้การค้าสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งทราบกันว่า ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ อีกด้วย

 

 

ปลาเรืองแสง

 

 

หากไม่ยับยั้งคาดว่าในอนาคตอาจเกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น และก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทยอย่างแน่นอน อีกทั้ง ผู้เพาะเลี้ยงยังมีความผิดทางกฎหมาย ตามมาตรา 65 และ มาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ มีโทษทั้งจำคุก ไม่เกิน 1 – 2 ปี ปรับไม่เกิน 1 – 2 ล้านบาท

 

กรมประมง จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าปลาสวยงาม ว่าปลาสวยงามมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีความสามารถเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปลากัดเป็นลายธงชาติไทย หากพัฒนาให้เป็นลายธงชาติประเทศต่าง ๆ หรือจะผลิตลวดลายสีสันใหม่ ๆ ที่สวยงาม แปลกตา สามารถสร้างมูลค่าในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต

 

ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าท่านใดที่เพาะเลี้ยงและมีครอบครองอยู่ขอให้ส่งให้กรมประมงได้ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ทั่วประเทศ หรือ สำนักงานประมงจังหวัด 77 จังหวัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทร. 0 2562 0426 หรือ Website กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด หรือ Facebook Page กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ 

 

 

ปลาเรืองแสง

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น