“ชัชชาติ” แจงแก้หนี้รถไฟฟ้า BTS ไม่คืบปมขยายสัมปทานหน้าที่รัฐตัดสินใจ

"ชัชชาติ" แจงแก้หนี้รถไฟฟ้า BTS ไม่คืบปมขยายสัมปทานหน้าที่รัฐตัดสินใจ

สืบเนื่องจากการที่ ศาลปกครองกลาง ได้แจ้งนัดอ่านคำพิพากษา วันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น. ในคดีหมายเลขดำที่ 1242/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว)

โดยคดีดังกล่าว BTSC ได้ฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 จากการที่ไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2562 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จำนวนเงิน 12,000 ล้านบาท จึงนำคดีมาฟ้อง

วันนี้(6 ก.ย.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เปิดเผยถึงกรณีศาลปกครองกลาง จะมีคำพิพากษา ว่า จะต้องรอผลการตัดสินของศาลฯ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ดำเนินการมาหลายเดือน ก่อนที่ตนเองจะเข้ามารับตำแหน่ง แต่ในฐานะผู้ว่าฯกทม. ยืนยันพร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย พร้อมมองว่าการที่ศาลฯมีคำพิพากษาออกมาถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อจะได้ทราบมีมุมมองเรื่องนี้อย่างไร และยืนยันเคารพการตัดสินของศาลฯ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร

ส่วนกรณีการแก้ปัญหาในระยะยาว ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่กทม.จะคืนเรื่องการตัดสินใจโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กระทรวงมหาดไทย หรือ รัฐบาล กลับไปพิจารณา หลังจากก่อนหน้าได้เคยมีการขอความเห็นทางกทม. เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในระดับภาครัฐ นายชัชชาติ ระบุว่า จะต้องแยกประเด็นดังกล่าวให้ดี เนื่องจากมีหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ในส่วนที่ค้างอยู่ที่รัฐบาลคือ เรื่องการขยายสัมปทาน หรือการเอาหนี้ทั้งหมดไปใช้เป็นข้อพิจาณาในการขยายสัมปทาน ซี่งในเรื่องนี้ทางด้านกระทรวงมหาดไทย ได้ทำหนังสือสอบถามความคิดเห็นมายังกทม. ซึ่งกทมจะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภากทม.ก่อน จะตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย ส่วนในเรื่องอื่นๆ นั้น เป็นเรื่องระหว่าง กทม.กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT และ KT กับ บีทีเอส ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้นายชัชชาติ ยังระบุถึง โครงการถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล จะมีด้วยกัน 2 เรื่อง ประกอบด้วยเรื่องการพิจารณาแผนร่วมทุนรัฐ-เอกชน ที่ยังค้างอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่าจะดำเนินการเช่นไร จะเดินหน้าตามมาตรา 44 ต่อไป หรือ ยกเลิกและดำเนินการใหม่ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และเรื่องที่จะให้กทม. รับผิดชอบเงินลงทุนโครงสร้างรวมถึงค่าจ้างบริการเดินรถรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ซึ่งต้องพิจารณาว่าทางรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือได้หรือไม่ เพราะโครงสร้างรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ รัฐบาลจะช่วยรับผิดชอบต้นทุน เพื่อทำให้ภาระต่อผู้โดยสารลดน้อยลงในแง่ของหลักการฯ

แต่ทั้งนี้การตัดสินใจทั้งหมด จะต้องรอมติจากสภา.กทม เนื่องจากการใช้จ่ายเงินของกทม. นั้นจะต้องผ่านการรับทราบและการพิจารณาของสภากทม ดังนั้น หากในอนาคตเกิดมีค่าจ่ายขึ้นมาก็จะต้องเบิกเงินใช้จ่ายจากงบประมาณ ดังนั้นหากไม่มีการแจ้งให้สภากทม.รับทราบ ก็จะกลายเป็นปัญหาเหมือนสัญญาการเดินรถส่วนต่อขยายที่สอง ระหว่าง กทม. และกรุงเทพธนาคม ที่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภากทม. ทำให้ไม่สามารถนำงบประมาณออกไปใช้จ่ายได้ จึงต้องดำเนินการให้มีความถูกต้อง

 

 

ทั้งนี้ นายชัชชาติ ระบุว่า กทม. ได้มีภาระหนี้กับกรุงเทพธนาคม หรือ KT แต่เป็นกรณีของกรุงเทพธนาคม มีภาระหนี้กับทางบีทีเอส ดังนั้น จึงต้องมีความชัดเจนว่า หากกทม. จะจ่ายเงินให้กับ KT จะจ่ายด้วยอะไร เพราะเป็นเงินภาษีประชาชน สัญญาถูกต้องหรือไม่ เพราะมีรายละเอียดอยู่ว่า เป็นเพียงหนังสือมอบหมายงานเท่านั้น แต่เมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นถึง 6 พันล้านบาท จึงจะต้องพิจารณาถึงอำนาจอย่างครบถ้วนก่อนการดำเนินการ

อย่างไรก็ตามยืนยันไม่ได้ดำเนินการช้า เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีใครกล้าที่จะจ่ายเงิน ดังนั้นจะให้เรารีบจ่ายในเดือนหรือ สองเดือน จะต้องพิจารณาให้ละเอียด รอบคอบเพราะ จำนวนเงินไม่ใช่บาท สองบาท ขณะเดียวกัน การที่ศาลฯ พิจารณา ก็จะช่วยทำให้กทม. ได้เห็นแนวทางการดำเนินการหลังจากนี้ต่อไป

นายชัชชาติ ระบุอีกว่า ในเรื่องของเม็ดเงินที่จะนำมาจ่ายค่าค้างชำระหนี้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะนี้ มองว่ายังไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากในระยะยาว หรือในปี 2572 รายได้การดำเนินการทั้งหมดจะเป็นของกทม. จึงค่อยๆ คิดไป เพราะอาจจะมีเงินอีกหลากหลายรูปแบบเข้ามา ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริง โดยหนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น นายชัชชาติ ระบุว่า เป็นหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อขึ้น มีคนก่อมาก่อน และเป็นหนี้ระยะยาว จึงจะต้องค่อยๆ พิจารณา

 

 

ส่วนการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายนั้น นายชัชชาติ ระบุว่า แม้จะการเก็บค่าโดยสารจะเป็นอำนาจของผู้ว่าฯ ในการกำหนดราคา แต่เมื่อพิจารณา ในส่วนขยายการเดินรถส่วนต่อขยายที่สอง จะมีเรื่องค่าจ้างเดินรถปีละ 6,000 ล้านบาท แต่ในการเก็บค่าโดยสารจะมีรายได้ไม่ถึง ทำให้มีส่วนต่างเกิดขึ้น ซึ่งกทม จะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่สภากทม. เพื่อพิจารณางบมาจ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมสภาฯ คาดว่า ในวันพรุ่งนี้ (7 ก.ย.65) หรือช้าสุดคือพุธหน้า ซึ่งจะมีด้วยกัน 3 เรื่องคือ
– สถานการณ์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว
– การเก็บค่าโดยสาร
– ตอบคำถามที่กระทรวงมหาดไทยถามมา

โดยเรื่องดังกล่าว ต้องทำตามข้อเท็จจริง โปร่งใส และชี้แจงประชาชนได้ เพราะเงินไม่ใช่น้อยๆ เป็นหลักหมื่นล้านบาท สุดท้ายจะมาจากภาษีประชาชน ค่าโดยสาร ไม่ใช่เงินเรา ต้องคิดให้รอบคอบ

และตอนท้ายนายชัชชาติ ย้ำว่า ไม่หนักใจกับคำพิพากษาของศาลที่จะออกมา และมองว่าเรื่องไม่จบแค่นี้ ถ้าแพ้คดีก็อุทธรณ์ ถ้าเราเห็นมีประเด็นซึ่งอาจจะต้องชี้แจงเพิ่มเติมไปได้ในช่วงอุทธรณ์ อย่างที่ชี้แจงกทม.ยุติธรรมกับทุกฝ่าย และถ้าสุดท้ายเราต้องจ่าย เราก็ต้องจ่าย แต่ขอให้จ่ายโดยมีที่มาที่ไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น