“KT” ยื่นอุทธรณ์แพ้คดี ยังยื้อวิธีจ่ายหนี้กว่า 1.17 หมื่นล้าน

"KT" ยื่นอุทธรณ์แพ้คดี ยังยื้อวิธีจ่ายหนี้กว่า 1.17 หมื่นล้าน

วันที่ 8 ก.ย.65 ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทราศุ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ได้เรียกประชุม บอร์ดเคที เพื่อหารือหลังวานนี้(7 ก.ย.65 ) ศาลปกครองกลาง ได้พิพากษาให้เคที และกรุงเทพมหานคร(กทม.) จ่ายหนี้ค้างชำระตามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ค้างชำระ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวม 11,755 ล้านบาท แบ่งเป็น
– ส่วนต่อขยายที่ 1 โดยแยกเป็นหนี้เงินต้น 2,199 ล้านบาท ดอกเบี้ยประมาณ 149 ล้านบาท รวมประมาณ 2,348 ล้านบาท
– ส่วนต่อขยายที่ 2 โดยเป็นหนี้เงินต้น 8,786 ล้านบาท ดอกเบี้ยประมาณ 619 ล้านบาท รวมประมาณ 9,406 ล้านบาท
โดยให้ชำระภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง กล่าวว่า จากคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ได้ให้กทม. และเคที มีหน้าที่ร่วมรับผิดในจำนวนเงินที่มีการฟ้องร้องกัน ซึ่งจำนวนเงินที่ศาลพิพากษามีด้วยกัน 2 จำนวน โดยจำนวนที่ 1 เป็นของส่วนต่อขยายที่ 1 ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว และจำนวนที่ 2 เป็นของส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งแยกจากกัน ซึ่งภายหลังจากที่คณะกรรมการได้มีการปรึกษาหารือร่วมกัน มีความเห็นว่า โดยหน้าที่ของเคที คณะกรรมการชุดปัจจุบันที่เข้ามาทำงานเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น และการต่อสู้คดีเป็นเหตุเป็นผลโต้เเย้งกันมานาน มีข้อเท็จจริง มีมุมมอง และข้อกฎหมายบางส่วนที่ต้องการนำเสนอใหม่ และได้นำเสนอแล้ว แต่ในกระบวนการพิจารณา เคทีได้นำยื่นในช่วงท้ายคดี ทำให้ศาลฯ ไม่มีโอกาสจะได้รับฟัง หรือกล่าวถึงเรื่องนี้ ทำให้เรื่องที่เสนอไปยังค้างคาอยู่ ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของกรุงเทพธนาคม ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ หลังจากได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เคทีเห็นพ้องระหว่างกรรมการฯ ว่า จะต้องยื่นอุทธรณ์ และหากจำเป็นจะต้องขอให้ศาลมีการพิจารณคดีใหม่ ก็จะต้องยื่นขอด้วย ซึ่งในการดำเนินการจะต้องมีการหารือร่วมกับทางกทม.ด้วย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเชื่อว่า ความคิดเห็นจะไม่แตกต่างกัน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง ยอมรับว่า ในส่วนของหนี้มีอยู่โดยเป็นหนี้ผูกพัน ทั้ง 3 ฝ่าย คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เคทีและ กทม. แต่จะมียอดหนี้อยู่ที่เท่าใด และมีความชัดเจนในข้อกฎหมายอย่างไร จะต้องใช้คำพิพากษาเป็นแนวทาง และจะต้องมาศึกษารายละเอียด อย่างรอบครอบ และตัวเลขไหนที่ กทม. และเคที เห็นว่า นิ่งแล้ว ชัดเจนแล้ว และไม่มีข้อสงสัย ก็จะมีการหารือกับบีทีเอสซี เรื่องการจ่ายหนี้ ว่าจะมีวิธีการจ่ายอย่างไร จะจ่ายเป็นงวด หรือรูปแบบใดต่อไป

ทั้งนี้ ในการขอพิจารณาคดีใหม่นั้น จะเป็นในเรื่องของวิธีการคำนวนค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามสัญญา ว่า มีรายละเอียดและสูตรการคำนวนเช่นไร และปัจจัยที่นำมาคำนวนบ้าง ซึ่งเคทีทำการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งจากที่ได้หารือร่วมกันกับผู้ว่า กทม.ฯ พบว่าในส่วนภาระหนี้ของส่วนต่อขยายที่ 1 ยังไม่มีปัญหา แต่ในส่วนของสัญญาการต่อขยายที่ 2 พบว่า ยังมีความเห็นต่างกัน ว่าจะเป็นหนี้ของใคร ระหว่างเคทีหรือ กทม. ที่ต้องรับหนี้ก้อนนี้

ส่วนจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น ทางด้านเคที จะหารือกับ BTSC เพื่อทำการเจรจา และประนอมหนี้ ควบคู่กับการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งหากการเจรจาเป็นที่พอใจกับทุกฝ่ายแม้อาจจะต้องใช้ระยะเวลา แต่ก็มองว่าจะส่งผลดีกับทุกฝ่าย

สำหรับเรื่องภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งว่า หากหนี้รายการใดที่ทางด้านกทม. และเคทีได้ตรวจสอบและสิ้นข้อสงสัยก็ควรที่จะจ่ายให้แก่ BTSC เพื่อลดประเด็นเรื่องดอกเบี้ยและคลายความกังวลให้แก่ประชาชน แต่หากประเด็นใดที่ยังไม่สิ้นข้อสงสัยหากมีการจ่ายเงินไป ก็ไม่ถูกต้อง และต้องต่อสู้ตามกระบวนการ เพราะโอกาสที่ไม่ต้องจ่ายเลยในบางรายการก็ยังเป็นไปได้ ดังนั้น อย่าไปเหมารวมภาระหนี้ทั้งสองก้อนเข้าด้วยกัน ต้องแยกดูเป็นแต่ละรายการ หากไม่มีข้อสงสัยก็พร้อมที่จะจ่าย

ส่วนจะหารือกับกทม. อาจจะเป็นพรุ่งนี้เช้าจะต้องมีการหารือก่อน ส่วนการอุทธรณ์นั้นจะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน แต่ทั้งนี้จะต้องหารือกับกทม.อย่างใกล้ชิดเพื่อทำงานร่วมกันในเรื่องนี้
สำหรับการอุทธรณ์ครั้งนี้ จะต้องเป็นประเด็นที่ว่ามาในศาลชั้นต้น เว้นแต่จะมีการขอพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งอาจจะมีข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ทางด้านของเคทีจะต้องขอศึกษาข้อมูลอีกครั้ง

ส่วนการหารือกับบีทีเอส ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง กล่าวว่า ตนเองยังมีความหวังที่จะหารือร่วมกันหากมีข้อมูลพร้อมก็พร้อมที่จะหารือร่วมกับบีทีเอสอีกครั้ง ยืนยันยังไม่มีการแก้ไขสัญญาการเดินรถแต่อย่างใด เพราะจากการพูดคุยที่ผ่านมาอาจนำไปสู่การตกลงร่วมกันได้

ส่วนการจ่ายหนี้ให้กับ BTSC นั้นจะต้องหารือร่วมกับกทม. ก่อนว่ามีหนี้ก้อนใดที่สามารถดำเนินการจ่ายได้ เนื่องจากเคสที่เป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร และไม่มีสภาพคล่องที่จะมาจ่ายหนี้ให้กับ BTSC ได้

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า จากคำพิพากษาของศาลปกครองเป็นเพียงหนี้ส่วนหนึ่งเท่านั้นและในส่วนหนี้ที่เหลือ 4 หมื่นล้านบาท ทางด้านเคทีจะมีการดำเนินการเช่นไร ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง กล่าวว่า จะใช้แนวทางที่ได้ดำเนินการหลังการพิพากษาครั้งนี้ เพื่อดำเนินการกับภาระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่เอกชนแบกรับภาระหนี้กว่า 40,000 ล้านบาทและอาจทำให้เอกชนหยุดการเดินรถชั่วคราวหรือลดความถี่ในการเดินรถลง ทางด้านของเคทีจะมีการช่วยเหลือเอกชนบ้างหรือไม่

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง กล่าวว่าสิ่งที่เคทีกำลังดำเนินการอยู่คือความรอบคอบและความเป็นธรรม และเป็นหน้าที่ของเคทีและกทม. ที่จะต้องทำงานร่วมกัน ส่วนภาคเอกชนนั้นมองว่า การเข้ามาทำงานด้านการบริการสาธารณะนั้น นอกจากในเรื่องของผลกำไรจากการทำธุรกิจแล้ว ในเรื่องของประโยชน์ของประชาชนภาคเอกชนก็จำเป็นจะต้องรับไว้ในความคิดคำนึงไม่น้อยกว่าทางราชการ

ทั้งนี้ มองว่าในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นหากไม่ได้มีการตรวจสอบก่อนที่จะมีการจ่ายเงิน หาในอนาคตมีการพิสูจน์ได้ว่า ทางรัฐไม่ควรที่จะจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่เอกชนอาจทำให้ตนเองต้องถูกดำเนินคดีได้เนื่องจากตนเองทำงานให้รัฐจึงต้องรักษาผลประโยชน์ให้รัฐอย่างเต็มที่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดปัง “สับปะรดห้วยมุ่น” ผลไม้ไทยรายการแรก ขึ้นทะเบียน GI ญี่ปุ่น
โกลาหลกลางดึก เกิดเหตุไฟไหม้ "คุ้มเจ้าป้ากาญจนา" ทายาทตระกูลดัง เผาวอด
สภาพอากาศวันนี้ "กรมอุตุฯ" เผยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย-มีลมแรง เตือนภาคใต้ ยังเจอฝนตกหนัก
"จิราพร" ชวนคนไทยศึกษาโครงการหลวง สานต่อพระราชปณิธาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
“กัน จอมพลัง” รุดช่วยเด็ก 2 เดือน ถูกแม่เสพยาบ้า ทำร้าย
สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น