“Favipiravir” ไทยไม่ควรใช้ยารักษาผู้ป่วย โควิด-19 อีกต่อไป

"Favipiravir" ผลวิจัยล่าสุด ไม่ควรนำยามาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไปนี้ ไทยควรเลิกผลิต นำเข้า ไม่ส่งฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

“Favipiravir” TOP News เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุด ผลวิจัย ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยลดความรุนแรง หรือทำให้อาการของโรคดีขึ้น หมอมนูญ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ระบุ ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ เลิกผลิต นำเข้า และไม่ควรส่งให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมอมนูญ เผย เราทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ ยาฟาวิพิราเวียร์ กับ ยาหลอก ที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และ บราซิล สร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้ (ดูรูป) และในที่สุดผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 (ดูรูป)

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

 

การศึกษาทำในช่วงพฤศจิกายน 2563 – ตุลาคม 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1,187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน เม็กซิกัน 163 คน บราซิล 65 คน) โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คน รับ ยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คน รับ ยาหลอก

 

ผลการศึกษา พบว่า ยาฟาวิพืราเวียร์ ไม่แตกต่างจาก ยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโรค ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กิน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8%

 

ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย อินโดนีเซีย ดูไบ และ ประเทศไทย รวมอยู่ด้วย

 

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

บทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำ ยาฟาวิพิราเวียร์ มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาโรคโควิด-19

 

“ยาโมลนูพิราเวียร์ ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ นานแล้ว และเข้าถึง ยาโมลนูพิราเวียร์ และ แพ็กซ์โลวิด ซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล”

 

องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต นำเข้า “Favipiravir” และไม่ควรส่ง ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
"ภรรยา-ลูกสาว" ของหมอบุญ เข้ามอบตัวกับตร. ตามหมายจับร่วมกันฉ้อโกง กว่า 7.5 พันล้านบาท
“บิ๊กก้อง” สั่ง ปอศ.ส่งสำนวน ‘หมอบุญ’ ฉ้อโกงปชช.-หลอกลวงลงทุน ให้ดีเอสไอ เป็นคดีพิเศษ
"พิชัย" นำทีมพณ.เจรจา รมต.การค้า 7 เขตเศรษฐกิจเอเปค เพิ่มเชื่อมั่นไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าอุตฯสมัยใหม่
หนุ่มเจ้าของบริษัท ผวา พบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดซุกซ่อนอยู่ใต้ท้องรถยนต์เก๋ง
แนะยุบ กกต.ทิ้ง เทพไท แฉ เลือกตั้ง อบจ.เมืองคอนซื้อเสียงเปิด เผย โวย กกต.นั่งดูตาปริบๆ แนะยุบทิ้งดีกว่ามั้ย
"เชน ธนา" พาสื่อทัวร์โกดัง ยันสินค้าอยู่ครบ ไม่ได้แอบขายเอาเงินไปใช้ตามข่าว ย้ำชัดไม่ได้โกงคู่กรณี
ตร.จ่อเรียก “เอก สายไหมฯ” สอบอีกครั้ง หลังให้การขัดแย้งพยาน
"สปป.ลาว" ออกแถลงการณ์ "เสียใจสุดซึ้ง" ปม นทท.เสียชีวิตดื่มเหล้าเถื่อน ยันเร่งนำตัวคนร้ายมาลงโทษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น