เปิดพิรุธ “อีสท์วอเตอร์” เร่งสร้างท่อส่งน้ำEEC ใหม่ค่ากว่า 4.2 พันล้าน

เปิดพิรุธ "อีสท์วอเตอร์" เร่งสร้างท่อส่งน้ำEEC ใหม่ค่ากว่า 4.2 พันล้าน

กลายเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ถูกจับตามองอย่างมาก ถึงทิศทางการบริหารจัดการธุรกิจในอนาคต สำหรับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากร น้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เพราะปัญหาเดิม เรื่อง ผลกระทบจากการโดนกรมธนารักษ์ล้มประมูล ยังไม่มีข้อสรุป เพราะต้องรอกระบวนการทางศาลปกครอง ซึ่งกำหนดนัดไต่สวนครั้งแรก ในวันที่ 15 ก.ย. 2565 นี้ กรณีที่ บริษัท อีสท์วอเตอร์ ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน (กรมธนารักษ์) ในการจัดให้เช่า/บริหารระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนเอกชนเพื่อบริหาร และดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 และขอเพิกถอนประกาศเชิญชวนฯ ฉบับใหม่ ลงวันที่ 10 กันยายน 2564

แต่อีกด้านหนึ่งบริษัท อีสท์ วอเตอร์ ที่ผ่านมา ก็มีปัญหาภายในสะสมหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีตัวแทนผู้ถือหุ้น ยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ให้ตรวจสอบเรื่อง กระบวนการพิจารณาแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ ซีอีโอ บริษัท อีสท์ วอเตอร์ เนื่องจากพบหลายประเด็นสงสัย ในการวัดผลคุณสมบัติผู้สมัคร ซึ่งมีข้อมูลประกอบว่า การตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัท อีสท์ วอเตอร์ ไม่ได้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง

รวมถึงยังขอให้มีการตรวจสอบการดำเนินการและบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัท
2. พลเรือเอก สุชีพ หวังไมตรี ประธานคณะกรรมการการลงทุน ของบริษัทฯ
3. นายเชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และกรรมการการลงทุน ของบริษัทฯ
4. คณะกรรมการบริษัท ของบริษัทฯ

 

กรณีจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนา “สระสำรองน้ำสระสำนักบก” ต.สำนักบก อ.เมือง จ.ชลบุรี เนื่องจากเข้าข่ายฝ่าฝืน หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ เรื่องความรับผิดชอบต่อคู่ค้า รวมถึงมีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและเงื่อนไขสัญญา หรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม ขาดธรรมาภิบาล และไม่มีวิธีปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสำคัญ

และมีการกระทำอาจเข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 และมาตรา 89/11 ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 85 มาตรา 88 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

เนื่องจากประมูลจัดสร้างสระสำรองน้ำ ต.สำนักบก อ.เมือง จ.ชลบุรี มูลค่า 75 ล้านบาท รอบที่ผ่านมา ถูกตรวจสอบพบว่า มีปัญหาเรื่้องการใช้เอกสารค้ำประกันสัญญา หรือ Letter of Guarantee (LG) ปลอม มาใช้เป็นเอกสารอ้างอิง เพื่อดำเนินการ แต่ปรากฎว่าผู้บริหารของ อีสท์ วอเตอร์ ไม่ฟ้องร้องเอาผิดทางกฎหมาย ในทางตรงข้าม กลับยินยอมให้ บริษัท โกบอล โปรสเปคเตอร์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ ตามเดิม และปัจจุบัน ก.ล.ต. เอง ยืนยันว่ากระบวนการข้อร้องเรียนทั้งหมด อยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย แม้ว่าช่วงเวลาการตรวจสอบจะผ่านมานานหลายเดือนแล้วก็ตาม

 

ล่าสุด สำนักข่าว TOPNEWS พบว่า มีกรณีปัญหาใหม่เกิดขึ้น ภายใน บริษัทอีสท์ วอเตอร์ กับการเร่งรัดแผนดำเนินการจัดทำท่อส่งน้ำ EEC มูลค่ากว่า 4,200 ล้านบาท โดยคณะผู้บริหารอ้างว่าเพื่อเตรียมความพร้อม นำมาทดแทนท่อส่งน้ำเดิม ที่กำลังเป็นปัญหาและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง และยังไม่มีคำพิพากษาใด ๆ ทั้งสิ้น

และจากการตรวจสอบเพิ่มเติม มีข้อมูลว่า การพิจารณาแผนดังกล่าว เริ่มต้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 โดยการที่ประชุมคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย นางอัศวินี ไตลังคะ , พล.ร.อ. สุชีพ หวังไมตรี , พล.ร.อ. พิเชฐ ตานะเศรษฐ เป็นต้น พร้อมกับให้เหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินโครงการดังกล่าว ว่า เพื่อให้สามารถสูบน้ำได้ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรองรับความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำ ในพื้นที่เพื่อทดแทนท่อเดิมของกรมธนารักษ์ และทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุด โดยกำหนดแผนก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2566

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 หรือถัดมาเพียง ประมาณ 1 เดือน คณะกรรมการฯชุดดังกล่าว ได้นำเรื่้องนี้มาพิจารณาอีกครั้ง ก่อนมีมติ เห็นชอบอนุมัติการปรับรวมโครงการเร่งด่วนจากที่ได้รับอนุมัติจากเดิม 4 โครงการ เป็น 2 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำหนองปลาไหล -หนองค้อ-แหลมฉบัง และ 2.โครงการก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดันหนองปลาไหล รวมมูลค่า 4,291 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีการระบุด้วยว่า “รับทราบการลดขั้นตอนและระยะเวลาในกระบวนการจัดชื้อจัดจ้าง ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ ปี 2565 บางขั้นตอนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น

1) จำนวนรายผู้เสนอราคาที่เรียกเชิญเข้ายื่นเสนอราดาอาจน้อยกว่า 5 ราย และ/หรือจำนวนราย ที่ผ่านเกณฑ์ เพื่อเปีดซองเสนอราคาอาจน้อยกว่า 3 ราย
2) การเพิ่มผู้มีสิทธิเสนอราคาบางราย นอกเหนือจากผู้มีสิทธิเสนอราคาตาม AVL ของบริษัทฯ ที่มีความพร้อมและสามารถทำงานที่ประกวดราคาจ้างตามเกณฑ์ข้อกำหนดใน TOR ได้
3) การยกเว้นข้อกำหนดเรื่องมูลค่างานตามสิทธิในการเสนอราคา ของผู้มีสิทธิเสนอราคาตามเกรด AVL ของบริษัทฯ โดยใช้เกณฑ์ตามข้อกำหนดใน TOR แทน
4) การแข่งงานดันท่อลอดในโครงการเป็นหลายสัญญาย่อย เพื่อให้มูลค่าสัญญามีขนาดที่เหมาะสมกับผู้รับจ้างงานดันท่อลอด และให้มีการวางหลักประกันสัญญาพร้อมทั้งหักเงินประกันผลงานตามระเบียบบริษัท

 

 

และมอบหมายเลขานุการบริษัท นำเสนอการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงของโครงการตามแผนพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกตามที่เสนอ ยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาความครบถ้วนอีกครั้งหนึ่ง หากมีประเด็นความเสี่ยงใดที่ประเมินแล้วผลไม่ตรงกันขอให้นำกลับมาเสนอยัง คกก.บริษัทฯ พิจารณา **** และให้มติที่ประชุมระเบียบวาระนี้ มีผลทันทีโดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม *****

จากการเร่งรีบ เร่งรัด พิจารณาอนุมัติจัดจ้างโครงการ ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ-แหลมฉบัง และ โครงการก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดันหนองปลาไหล ดังกล่าว ทำให้เกิดประเด็นต้องพิจารณาว่า ทำไมโครงการมูลค่ากว่า 4.2 พันล้านบาท คณะกรรมการฯต้องใช้หลักเกณฑ์พิเศษถึงขนาดนั้น

 

ขณะที่มีข้อเท็จจริง ว่า 1. โครงการท่อส่งน้ำ EEC เดิม ของบริษัทอีสท์วอเตอร์ ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครอง และยังไม่รู้ผลประมูลครั้ง ที่ 2 ที่กรมธนารักษ์ เลือกให้บริษัทวงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล อย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

2.กรณีการลดขั้นตอน และระยะเวลาในกระบวนการจัดชื้อจัดจ้าง ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ ปี 2565 หรือ จากระยะเวลาประมาณ 30-45 วัน ให้เหลือเพียงประมาณ 15 วัน มีความผิดปกติหรือไม่ อย่างไร

3.หากผลการฟ้องร้อง ปรากฎว่า บริษัทอีสท์วอเตอร์ เป็นผู้ชนะคดี และ สามารถดำเนินโครงการท่อส่งน้ำ EEC ได้ปกติตามผลการประมูลครั้งที่ 1 หรือ กับการประมูลในอนาคต ถ้าศาลปกครองมีคำสั่งให้การประมูลครั้งที่ 2 ไม่ถูกต้อง จะกระทบต่อเม็ดเงินการลงทุน โครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำใหม่ และ โครงการก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดันหนองปลาไหล มูลค่ากว่า 4.2 พันล้านบาท หรือไม่ อย่างไร

ขณะที่ศาลปกครองเคยมีคำสั่งว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหมด จะเป็นไปโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในอนาคต และ ปัจจุบัน ท่อส่งน้ำของบริษัทอีสท์วอเตอร์ ยังคงสามารถดำเนินได้ตามปกติ จนกว่าสิ้นสุดสัญญาเช่าในวันที่ 31 ธ.ค.2566 จึงไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการ บริษัทอีสท์วอเตอร์ จะต้องมีมติเร่งรีบสร้างท่อส่งน้ำ EEC ใหม่ถึงขนาดนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"
“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น