นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกชุกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูล ลำน้ำสายหลัก และสายรอง เพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบางแห่ง
"กรมชลฯ" เร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำมูล ลงสู่แม่น้ำโขง เตรียมรับฝนตกหนัก
ข่าวที่น่าสนใจ
มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่
- อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา
- อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
- อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
- อ.ราษีไศล อ.ศิลาลาด อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ
- อ.วารินชําราบ อ.เดชอุดม อ.นาจะหลวย อ.นาเยีย อ.น้ำยืน อ.ดอนมดแดง อ.ตระการพืชผล และ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราขธานี
ปัจจุบัน แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำมูลช่วงตอนบนเริ่มลดลง กรมชลประทาน ได้เร่งระบายน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ด้วยการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 6 เครื่อง เร่งผลักดันน้ำในลำตะคองลงสู่แม่น้ำมูลให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจุบันน้ำในลำตะคองยังอยู่ในลำน้ำและยังไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน พร้อมกันนี้ได้ยกบานระบายที่เขื่อนพิมายทุกบานให้พ้นน้ำ และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 34 เครื่อง เร่งระบายน้ำในแม่น้ำมูล
ส่วนที่ จ.ศรีสะเกษ ได้แขวนบานระบาย ที่เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีสะเกษ เร่งระบายน้ำในแม่น้ำมูล ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงสู่ปลายทางที่ จ.อุบลราชธานี ที่ได้มีการแขวนบานระบายที่เขื่อนลำโดมใหญ่ เขื่อนปากมูล เช่นกัน พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 140 เครื่อง บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร อ.พิบูลมังสาหาร เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขง ช่วยบรรเทาความเดือนร้อนแก่พี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากที่อาจจะเกิดจากฝนตกหนักลงมาอีกในระยะต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง