กรณีข่าว นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ซึ่งปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรม ได้ออกนอกพื้นที่เรือนจำ เพื่อไปร่วมพิธีฝังศพนางสุมาลี เตริยาภิรมย์ ซึ่งเป็นมารดาของนายบุญทรง นั้น กรมราชทัณฑ์ ขอเรียนชี้แจงว่า การออกนอกพื้นที่เรือนจำฯ ของนายบุญทรงฯ เพื่อไปร่วมงานศพดังกล่าว เป็นไปอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และระเบียบ กรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด พ.ศ. 2561
รวมถึงระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลา ของนักโทษเด็ดขาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 เพื่อให้เป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม เป็นเครื่อง จูงใจให้ผู้ต้องขังประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัย เป็นผลดีต่อการปกครองและการบริหารงานของเรือนจำ/ทัณฑสถาน รวมถึงเป็นการให้โอกาสในการแสดงความกตัญญูและการไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ถึงแม้คดีและสถานะของนายบุญทรง จะอยู่ในความสนใจของประชาชน แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ทั้งยังเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมและมีคุณสมบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
“ราชทัณฑ์” แจง กรณีนายบุญทรง ร่วมพิธีฝังศพมารดา
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยเรือนจำกลางคลองเปรม มีอำนาจในการอนุญาตให้นายบุญทรงลากิจตามที่ร้องขอ ในระหว่างวันที่ 18 -20 กันยายน 2565 โดยได้ประสานเรือนจำจังหวัดลำพูนและสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่ เพื่อประสานการเดินทางไปร่วมพิธีศพได้ โดยมีเจ้าหน้าที่เรือนจำฯ ควบคุมอย่างใกล้ชิด และนำตัวกลับทันทีที่เสร็จภารกิจ
อย่างไรก็ตาม การลาและออกนอกพื้นที่เรือนจำดังกล่าว เป็นประโยชน์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 มาตรา 52 เมื่อนักโทษเด็ดขาดคนใดแสดงให้เห็นว่ามีความประพฤติดี ไม่เป็นผู้กระทำผิดวินัยในเรือนจำ มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษา และทำการงานเกิดผลดี หรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ โดยต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป และไม่ได้กระทำความผิดซึ่งเป็นที่สะเทือนขวัญหรืออยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ออกไปทำกิจธุระแล้วอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสร้างความสับสนแก่ประชาชนได้ เมื่อมีความจำเป็นเห็นประจักษ์เกี่ยวด้วยกิจธุระสำคัญหรือกิจการในครอบครัวแล้ว อาจได้รับประโยชน์ในการลา แต่ห้ามมิให้ออกไปนอกราชอาณาจักรและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
โดยผู้ต้องขังทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์จะมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาไม่เฉพาะแต่นายบุญทรงเท่านั้น และจะให้สิทธิ์เฉพาะการลาไปร่วมพิธีฌาปนกิจศพผู้ตายที่เป็น บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตรของนักโทษเด็ดขาดเท่านั้น โดยจะต้องมีใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายมาเพื่อพิจารณาร้องขอ ส่วนการพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ จะต้องคำถึงความปลอดภัยของนักโทษเด็ดขาดและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเป็นหลัก และต้องมีเจ้าหน้าที่ทำการควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง