“ยานอวกาศ DART” พุ่งชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อย จบภารกิจปกป้องโลก

ยานอวกาศ DART

"ยานอวกาศ DART" NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย พุ่งชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อย Dimorphos สำเร็จ หนุนภารกิจป้องกันโลกในอนาคต

“ยานอวกาศ DART” ยานอวกาศล่าสุด ยานอวกาศ ประโยชน์ ยานอวกาศ นาซ่า เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า ยานอวกาศ DART ได้พุ่งชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อย Dimorphos ด้วยความเร็วกว่า 22,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำเร็จ หลังทำภารกิจทดสอบปกป้องโลก ติดตามรายละเอียดทั้งหมดที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุข้อความว่า เวลา 06:16 น. ของเช้าวันที่ 27 กันยายน 2022 ตามเวลาประเทศไทย ยานอวกาศ DART ดำเนินการโดย องค์การอวกาศนาซา ร่วมกับ Johns Hopkins Applied Physics Laboratory (APL) ได้พุ่งชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อย Dimorphos ด้วยความเร็วกว่า 22,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ยานอวกาศถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง และสามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายในเสี้ยววินาทีสุดท้ายกลับมาได้สำเร็จ นับเป็นการสิ้นสุดภารกิจของ DART อย่างเสร็จสมบูรณ์

 

ภาพที่เห็นนี้ เป็นซีรีส์ภาพถ่ายสุดท้ายของยานอวกาศ DART หรือ Double Asteroid Redirection Test ในเสี้ยววินาทีสุดท้ายก่อนที่จะชนเข้ากับพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย Dimorphos และตัวยานถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิงในระหว่างการส่งข้อมูลภาพสุดท้ายกลับมาได้สำเร็จ แต่การชนกันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าตกใจแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นเรื่องที่น่ายินดีของเหล่าวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์มากมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เนื่องจากเป็นการชนกันตามที่วางแผนเอาไว้ และนับเป็นการสิ้นสุดภารกิจของยาน DART และจุดเริ่มต้นอีกมากของการศึกษาที่จะตามมาในภายหลัง

 

 

ยานอวกาศ DART

 

 

ภารกิจ DART นี้ เป็นภารกิจที่ออกแบบมาเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการป้องกันภัยอันตรายจากดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก เช่นเดียวกับที่เราอาจจะคุ้นเคยในภาพยนต์ดัง ๆ มากมาย เช่น Armageddon, Deep Impact, หรือ Don’t Look Up ที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่วันหนึ่งอาจจะมีอุกกาบาตขนาดใหญ่มาพุ่งชนโลก

 

ในความเป็นจริงนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าอุกกาบาตนั้นสามารถพุ่งเข้าชนกับโลกได้ ในแต่ละปีนั้นมีอุกกาบาตที่ตกลงมาถึงพื้นโลกด้วยกันกว่า 17,000 ดวง แต่อุกกาบาตส่วนมากนั้นเล็กเกินกว่าที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใดได้ และส่วนมากมักจะตกลงในมหาสมุทร หรือพื้นที่อันห่างไกลที่ไม่มีคนอาศัยอยู่

 

อย่างไรก็ตาม นาน ๆ ครั้งก็จะมีอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น ที่อาจจะสามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้เป็นวงกว้าง เช่นเดียวกับเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว ที่อุกกาบาตขนาด 10-15 กม. พุ่งชนเข้ากับคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโกปัจจุบัน ก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป และเปลี่ยนโฉมหน้าของสิ่งมีชีวิตบนโลกไปโดยตลอดกาล

 

 

ยานอวกาศ DART

 

 

 

ไม่ช้าก็เร็ว อาจจะมีอุกกาบาตอีกลูกหนึ่งที่กำลังจะพุ่งมาชนกับโลกของเราในอนาคต ทุกวันนี้เรามีโครงการและกล้องโทรทรรศน์มากมายที่สังเกตการณ์และคอยติดตามหาอุกกาบาตที่อาจจะเป็นภัยต่อโลกได้ในอนาคต สามารถช่วยค้นหาอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่อาจจะทำลายล้างโลกได้เป็นอย่างดี และค่อนข้างแน่ใจว่าเราจะปลอดภัยจากอันตรายดังกล่าวไปอีกนาน และยิ่งเทคโนโลยีการสังเกตการณ์ที่ดีขึ้น เราอาจจะสามารถพบกับอุกกาบาตขนาดเล็กกว่าที่อาจจะชนกับโลก และทำความเสียหายในระดับที่เล็กกว่าได้ในอนาคตอันใกล้

 

 

ยานอวกาศ DART

 

 

แนวคิดหนึ่งที่จะป้องกันภัยจากอุกกาบาตเหล่านี้ ก็คือการส่งยานอวกาศเข้าไปพุ่งเช้าชนกับดาวเคราะห์น้อย เพื่อเปลี่ยนวิถีการโคจรของมัน และภารกิจหลักของ DART ก็คือการสำรวจความเป็นไปได้นี้ โดยการนำยานอวกาศพุ่งชนเข้ากับดวงจันทร์บริวาร Dimorphos ที่โคจรรอบ ๆ ดาวเคราะห์น้อย Didymos ซึ่งหากภารกิจสำเร็จไปได้ด้วยดี นักวิทยาศาสตร์จะสามารถสังเกตและวัดการเปลี่ยนแปลงวิถีการโคจรได้ จากคาบและรัศมีวงโคจรที่เปลี่ยนไปของดาวเคราะห์น้อยบริวารดวงนี้ เนื่องจากการชนกันนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนวิถีวงโคจรของดาวบริวาร จึงไม่มีอันตรายใด ๆ ที่อาจจะเป็นภัยต่อโลกในอนาคตอย่างแน่นอน

 

 

ยานอวกาศ DART

 

 

ต่อจากนี้นักวิทยาศาสตร์จะคอยศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพุ่งชน กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นโลกกว่า 40 กล้อง รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและเจมส์ เว็บบ์ จะคอยศึกษาวิถีวงโคจรที่เปลี่ยนไปของระบบดาวเคราะห์น้อยหลังจากการพุ่งชน นอกจากนี้ยังมี LICIACube สร้างโดยองค์การอวกาศของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นยานอวกาศขนาดเล็ก ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับ DART ที่จะคอยศึกษาฝุ่นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชนครั้งนี้

 

ภารกิจของ DART นี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้มีการทดสอบระบบป้องกันภัยอันตรายจากอุกกาบาตนอกโลก ซึ่งภารกิจเช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจระบบนำทาง ความท้าทายในการสร้างยานอวกาศที่จะไปพุ่งชน พร้อมทั้งช่วยทดสอบและยืนยันหลักการของระบบป้องกันภัยอันตรายจากนอกโลกในอนาคต หากวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องป้องกันอันตรายจากนอกโลกจริง ๆ ภารกิจเช่นนี้จะเป็นภารกิจที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เราได้กับวันข้างหน้าที่เราหวังว่าจะไม่มีวันมาถึง

 

 

ยานอวกาศ DART

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , www.nasa.gov , Twitter NASA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น