ปธ.กลุ่มธรรมภิบาลต้านทุจริตฯ ยื่นก.ล.ต. ทวงผลสอบ “บอร์ดอีสท์วอเตอร์” พ่วงส่อทุจริตสร้างสระน้ำ

ปธ.กลุ่มธรรมภิบาลต้านทุจริตฯ ยื่นก.ล.ต. ทวงผลสอบ "บอร์ดอีสท์วอเตอร์" พ่วงส่อทุจริตสร้างสระน้ำ

สืบเนื่องจากการที่กลุ่มตัวแทนผู้ถือหุ้น บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ “อีสท์วอเตอร์” หรือ EASTW ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ (ก.ล.ต. ) ให้มีการตรวจสอบการบริหารงานของ นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท

เนื่องจากอาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนของหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 มาตรา 89/11 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/14 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการตามมาตรา 85 มาตรา 88 ของ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว

ตลอดจนอาจมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจรรยาบรรณในทางธุรกิจว่าด้วยเรื่องความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ รายการที่เกี่ยวโยงกัน และ การทำธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท โดยการรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเอกสาร นำส่ง ก.ล.ต. จำนวน 11 รายการ รวมทั้งสิ้น 244 หน้า เพื่อให้มีการพิจารณาในประเด็นที่ร้องเรียนไปใน 3 ประเด็น คือ

1. ประเด็นความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของประธานคณะกรรมการบริษัทฯ และในกระบวนการสรรหาแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทฯ

2. ประเด็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ ธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท ที่อาจจะเข้าข่ายการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ จรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับของบริษัท

3. ประเด็นการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเพื่อสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แทนผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่เดิมที่กำลังจะหมดวาระนั้นมีการฝ่าฝืนกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท”

รวมถึงอาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

เนื่องจากปรากฏว่าในรายชื่อกรรมการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ยูยู ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 50 ล้านบาท และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 930 ล้านบาท ในปี 2558 ปรากฏว่า มีบุคคลหนึ่งที่ถูกระบุเป็นสามีของ นางอัศวินี ทำหน้าที่เป็น ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการธรรมาภิบาลและสรรหา ในสัดส่วน กรรมการอิสระ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน)

อันเป็นพฤติการณ์เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่อง การฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนของหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 มาตรา 89/11 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/14 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการตามมาตรา 85 มาตรา 88 ของ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด วันนี้ (28 ก.ย.65) นายวิวัฒน์ สมบัติหลาย ประธานกลุ่มธรรมาภิบาล เครือข่ายภาคประชาชนต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ (ก.ล.ต. ) เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบผู้เกี่ยวข้องการก่อสร้างสระสำนักบก จ.ชลบุรี ไม่โปร่งใส และการเร่งจัดจ้างสร้างระบบท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ-แหลมฉบัง และสถานีเพิ่มแรงดันหนองปลาไหล เอื้อประโยชน์ต่อใครหรือไม่ โดยมีนางสาวฉันท์สุดา รักตะบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต.เป็นผู้รับหนังสือ

นายวิวัฒน์ ระบุว่า กลุ่มธรรมาภิบาล เครือข่ายภาคประชาชนต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น ได้รับมอบหมายจากเครือข่ายผู้ถือหุ้น บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ หรือ EASTW ให้ติดตามสอบถามความคืบหน้า กรณีเครือข่ายผู้ถือหุ้นได้ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการ ก.ล.ต. ตามที่ได้มีการร้องเรียนตามเลขที่ ซี 6503/0026 และ ก.ล.ต.เคยได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว ขณะนี้พบว่าเวลาผ่านมาเกือบ 7 เดือนแล้ว ทางเครือข่ายผู้ถือหุ้นฯ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอีสท์วอเตอร์ จึงต้องการทราบความคืบหน้าในการตรวจสอบและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของก.ล.ต.ตามกฎหมาย ดังนี้

 

กรณี ที่ผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับอีสท์วอเตอร์ ในโครงการปรับปรุงสระเก็บน้ำสำนักบก ต.สำนักบก อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี วงเงิน 75 ล้านบาท ได้มีการปลอมและใช้เอกสารปลอม คือ ทำและนำหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารปลอม หรือ Letter of Guarantee (LG) ปลอม เข้าทำสัญญาจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้วนั้น และอาจเข่าข่ายการฟอกเงิน แต่ปรากฏว่าอีสท์วอเตอร์ ยังไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ต่อขบวนการทำและใช้เอกสารปลอมขบวนการนี้แต่อย่างใด

โดยเครือข่ายผู้ถือหุ้นฯ จึงต้องการทราบผลการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ของก.ล.ต. ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนใด และกรณีดังกล่าวอีสท์วอเตอร์ ต้องดำเนินการต่อผู้กระทำผิดที่มีลักษณะกระทำผิดเป็นขบวนการนี้ได้อย่างไรบ้าง

“ที่เคยยื่นเรื่องไว้กับก.ล.ต.เมื่อประมาณเดือนมีนาฯ ต้นปี เพื่อให้ตรวจสอบประธานกรรมการอีสท์วอเตอร์ เมื่อตอนช่วงเดือนมีนาฯ และทางผู้ถือหุ้นก็ได้มาสอบถามความคืบหน้าเป็นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤษภาฯ ที่ผ่านมา และมีครั้งที่ 3 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงได้มาสอบถามก.ล.ต.” ประธานกลุ่มธรรมาภิบาล กล่าว

นายวิวัฒน์ กล่าวว่า ในเรื่องแบงก์การันตีปลอมนั้น ผู้ถือหุ้นเกิดความสงสัยว่า ทำไมไม่ดำเนินคดี ทั้งที่การกระทำความผิดสำเร็จแล้ว เหตุใดอีสท์วอเตอร์ถึงปล่อยปละละเลย ทั้งที่ธนาคารกสิกรไทยยืนยันแล้วว่าเป็นเอกสารปลอม ก็ยังไม่มีการดำเนินคดี ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีผู้ใดมีผลประโยชน์ตรงนี้ด้วยหรือไม่ จึงอยากให้ก.ล.ต.ตรวจสอบให้

 

 

 

นอกจากนี้ ยังมาติดตาม กรณี คณะกรรมการอีสท์วอเตอร์ ได้พิจารณาแผนดำเนินการจัดทำท่อส่งน้ำ EEC มูลค่า 4,291 ล้านบาท คือ โครงการระบบท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ-แหลมฉบัง และ โครงการก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดันหนองปลาไหล ที่มีลักษณะเร่งรีบและเร่งรัดจนเกินไป จนอาจจะไม่เป็นการคุ้มค่าและไม่เหมาะสมต่อวงเงินจัดซื้อจัดหา และหรือ อาจมีการดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้น เครือข่ายผู้ถือหุ้นฯ จึงขอให้ก.ล.ต. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวว่า ขณะนี้ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใดแล้ว

 

 

นายวิวัฒน์ กล่าวว่า จากการกระทำที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น เพราะบริษัทจะต้องมีจริยธรรม มีธรรมาภิบาล ในการดำเนินธุรกิจ เพราะเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น หากไม่ดำเนินการคดีกับผู้กระทำความผิดและยังนำมาเป็นคู่สัญญาย่อมส่งกระทบกับผู้ถือหุ้นแน่นอน อีกทั้งกลุ่มผู้ถือหุ้นฯ ได้ตั้งข้อสงสัยกรณีที่ผู้บริหารอีสท์วอเตอร์ พบว่ามีการใช้เอกสารแบงก์การันตีปลอม แต่ไม่ดำเนินการแจ้งความเอาผิดบริษัทคู่สัญญา ทำให้ผู้ถือหุ้นตั้งข้อสงสัยว่ามีผู้ใดมีผลประโยชน์ร่วมด้วยหรือไม่

 

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ทางด้านเครือข่ายของผู้ถือหุ้นฯ จะดำเนินการทำหนังสือถึงธนาคารกสิกรไทย ให้ยืนยันกรณีเอกสารปลอม รวมถึงจะเดินทางไปหารือกับทางด้าน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. ให้ตรวจสอบขบวนการทำหนังสือค้ำประกันปลอมมาใช้ในการรับงาน เนื่องจากได้รับข้อมูลในเบื้องต้นว่า กลุ่มผู้ประกอบการในภาคตะวันออกมักนิยมใช้กระบวนการนี้ทำแบงก์การันตีปลอม เพื่อมาเป็นคู่สัญญากับทั้งรัฐและเอกชน และเมื่อได้เอกสารข้อมูลครบถ้วนจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดเศร้า ลูกเศร้า กลับจากโรงเรียนเจอพ่อผูกคอดับ ขณะแม่ได้ข้อความขอโทษจากลูกชาย แต่ไม่ได้เอะใจ
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธรและงานประจำปีจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 134 ระหว่างวันที่ 12 - 24 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
‘ทนายไพศาล’ ยืนยันไม่ได้เป็นทนายให้ ‘ซินแสดัง’ขออีกฝ่ายอย่าเอารูปถ่ายคู่กันไปแอบอ้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 7 เปิดฉากแล้วที่จีน
ตร.เมืองชล ตั้งด่านป้องปรามอาชญากรรม-ยาเสพติดกลางดึก หนุ่มขนยาบ้า 3 แสนเม็ด ขับผ่านด่านแต่ไม่รอด สารภาพรับจ้างขนยา 3 หมื่น ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกจับเสียก่อน
เลือกตั้งสหรัฐเปิดฉากขึ้นแล้ว
ศรชล.ภาค1 ร่วมกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะในทะเลและชายหาดกับนักดำน้ำ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้ทะเล (นพอ.) ณ เกาะยอ สัตหีบ
สว.จร.พัทยา วางแผนจัดทัพรับมืองานพลุนานาชาติ เตรียมที่จอดรถกว่า 30,000 คัน ไว้รองรับนักท่องเที่ยว พร้อมออกมาตรการวินผีฟันค่าโดยสารราคาเกินจริง
ฉาว "ชาวบ้าน" ยันเห็น "หลวงตา" ล็อคห้องอยู่กับสีกา สองต่อสอง อ้างชวนไปนับขวด ก่อนเผ่นหนีไปอยู่อีกวัด
5 วิลล่าที่ดีที่สุด บนเกาะสมุย สำหรับการพักผ่อนสุดหรู

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น