ดูชัดๆคำวินิจฉัยศาลรธน. “บิ๊กตู่” ยังไม่ครบ 8 ปี อธิบายชัดต้องเริ่มนับปี 60

ดูชัดๆคำวินิจฉัยศาลรธน. ชี้ “บิ๊กตู่” ยังไม่ครบ 8 ปี ได้ไปต่อถึงปี 68 ชี้ต้องเริ่มนับวันที่รธน.60 เริ่มใช้ ยันเอกสารประชุมกรธ.ครั้งที่ 500 เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิด และหารือหลังธน.ใช้บังคับไปแล้ว1 ปี 5 เดือน

วันที่ 30 ก.ย. 65 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ เวลา 15.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร ส่งคำร้องของ ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อขอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าสิ้นสุดลงของตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสองและมาตรา 158 วรรคสี่หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 2560 ได้กำหนดวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี ซึ่งแตกต่างลงจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ คือการได้มาตรา 159 และตามบทเฉพาะการ มาตรา 272 การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 มีหลักการสำคัญว่า ให้พิจารณาเห็นชอบจากรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ต่อกกต. ก่อนการเลือกตั้ง และต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม จึงเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเมื่อผู้ถูกร้องได้รับความเห็นชอบตามาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ผู้ถูกร้องจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยบริบูรณ์ และเป็นไปตามหลักทั่วไปของการมีผลบังคับใช้กฎหมาย และหลักความแน่นอนชัดเจนของกฎหมาย กล่าวคือการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ต้องพิจารณากระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 158 และ 159 โดยเฉพาะเงื่อนไขตามมาตรา 159 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้สภาฯให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม และเป็นผู้ที่มีชื่อในบัญชีพรรคการเมืองที่ได้แจ้งไว้

ผู้ถูกร้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เมื่อ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสนช. และสนช.มาจากคสช.ถวายคำแนะนำ เห็นได้ว่าผู้ถูกร้องไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งต้องมีที่มาตามมาตรา 158 วรรคสอง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ แต่อย่างไรก็ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ให้ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จนกว่าครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุต่อว่า ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ครม.ซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ เป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ 25602 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่มีความุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ประการแรก เพื่อให้บทบัญญัติที่ยืนยันถึงหลักความต่อเนื่องของครม. กล่าวคือ แม้ครม.ซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับอื่นอยู่ก่อนวันประกาศใช้ประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 แล้ว ต้องถือว่าครม.ซึ่งแม้จะเข้าสู่ตำแหน่งโดยรัฐธรรมนูญฉบับอื่นก็ตาม ย่อมเป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นต้นไป

ประการที่สอง เพื่อนำกฎเกณ์ของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้บังคับใหม่ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาใช้บังคับแก่ครม.ที่มีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามหลักทั่วไปที่ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ประกาศขึ้นมาใหม่ทุกประการทันที เว้นแต่ในบทเฉพาะกาลนั้นจะมีข้อแยกเว้นว่าไม่ให้นำเรื่องใดมาใช้บังคับกับครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้นหากมิได้บัญญัติยกเว้นบทบัญญัติในเรื่องใดไว้ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเรื่องนั้นๆทั้งสิ้น ความมุ่งหมายของบทเฉพาะกาลมาตรา 264 จึงเป็นไปตามหลักทั่วไปของการใช้บังคับกฎหมายคือ ดังนั้นไม่ว่ากรณีใดเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ ทุกอย่างจึงต้องเริ่มนับทันที กรณีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ในเรื่องระยะเวลา 8 ปี จึงต้องเริ่มนับทันทีนับแต่รัฐธรรมนูญนี้มีผลเริ่มใช้บังคับ จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงวินิจฉัยได้ว่าผู้ถูกร้องซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญนี้ด้วย

 

สำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2564 เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของส.ส.ไม่ใช่โทษทางอาญาสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับคำร้องในกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นกรณีเกี่ยวกับพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง อันเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคและเป็นผลให้กรรมการบริหารพรรคถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง และเป็นกรณีลักษณะต้องห้ามของส.ส.อันเป็นเหตุให้ส.ส.สิ้นสุดลง ทั้งสองกรณีดังกล่าว มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เขียนไว้โดยชัดเจนว่าให้มีผลย้อนหลังได้ แต่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้บัญญัติกรณีการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีให้มีผลย้อนหลังได้ คำวินิจฉัยทั้ง 2 ดังกล่าวจึงเป็นคนละกรณีกับคดีนี้ จึงไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้

ส่วนข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่า บันทึกการประชุมกรธ.ครั้งที่ 500 ระบุเจตนารมณ์การจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ ประกอบกับประธานกธ.และรองประธานกรธ.คนที่ 1 ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การประชุมดังกล่าว เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิดของกรธ.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร และเป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือน ประกอบกับความเห็นของประธานกธ.และรองประธานกรธ.คนที่ 1 ที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง มิได้นำไประบุไว้ในความมุ่งหมายและคำอธิบประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นอกจากนี้ตามบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมกรธ.ที่พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ตามาตรา 158 วรรคสี่ ไม่ปรากฏประเด็นในการพิจารณา หรืออภิปรายเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า สามารถนับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับในวันที่ 6 เมษายน 2560 และผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 264 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง จึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ต้องอยู่บภายใต้บังคับตามมาตรา 158 วรรคสี่

 

ศาลรัฐธรรมนูญวิจิฉัยในตอนท้ายว่า การให้ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นครม.ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้จะต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่ง ผู้ถูกร้องจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามความในมาตรา 264 รัฐธรรมนูญ 2560 นับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ผู้ถูกร้องจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังไม่ครบกำหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องจึงไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่

 

ทั้งนี้มีรายงานว่ามติเสียงข้างมากของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคือ 6 ต่อ 3 เสียง สำหรับ 6 เสียงข้างมาก ประกอบด้วย 1.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม, 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์, และ 6.นายวิรุฬห์ แสงเทียน ส่วน 3 เสียงข้างน้อย ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2.นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์, และ 3.นายนภดล เทพพิทักษ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น