“หมอ” เตือน เสพข่าวกราดยิงเกิน เสี่ยงเกิดภาวะ PTSD-ASD

"หมอ" เตือน เสพข่าวกราดยิงเกิน เสี่ยงเกิดภาวะ PTSD-ASD

เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ได้โพสต์เตือนเกี่ยวกับเสพข่าวดังกล่าว ว่า เหตุการณ์กราดยิง ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจ ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่บางคนที่เสพข่าวมากเกินไป (ทางทีวีหรือโซเชียลมีเดีย) พ่อแม่ที่เปิดข่าวให้ลูกๆ ดู ลูกๆ หรือตัวผู้ใหญ่เองอาจจะมีอาการซึ่งเป็นผลกระทบที่ตามมาภายหลังจากการรับสื่อที่กระตุ้นเร้าอย่างมากก็ได้
PTSD หรือ Post-traumatic stress disorder เป็นภาวะทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นภายหลังพบเห็น เผชิญ หรือรับรู้เหตุการณ์ที่รุนแรง (โดยในช่วงแรกหลังเหตุการณ์ใหม่ๆ จะเรียกว่า Acute stress disorder แต่ถ้าเป็นนานกว่า 1 เดือนจะเรียก PTSD) โดยผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นจะต้องมากเกินกว่าปกติธรรมดา เพราะคนเราทุกคนก็เครียดได้ หรือไม่สบายใจได้ ถ้าเจอเหตุการณ์รุนแรง
PTSD จะมีลักษณะสำคัญ 3 ด้าน คือ

  • 1.’หลอน’ (Reexperience) – การรู้สึกถึงประสบการณ์การตกอยู่หรือเสมือนอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงที่ประสบมาซ้ำๆ เช่น ภาพเหตุการณ์ในข่าว รูปภาพที่เห็น ผุดขึ้นในในความคิดซ้ำๆ หยุดไม่ได้ มีฝันร้ายเรื่องนั้น
  • 2.’เร้า’ (Hyperarousal) – มีอาการตกใจ ตื่นตัวง่าย อาจมีอารมณ์หงุดหงิด ระแวดระวัง สมาธิไม่ดี นอนหลับยากขึ้น
  • 3.’หลบ’ (Avoidance) – การหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น
    (ส่วนใน ASD อาจมีอาการด้าน Dissociative ร่วมด้วย เช่น รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวผิดไปจากความเป็นจริง)

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะในเด็กอาจมีอาการที่เฉพาะ และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนี้

  • -เด็กรู้สึกเหมือนประสบเหตุการณ์นั้นอยู่เรื่อยๆ เช่น นึกถึง เห็นภาพในข่าวที่ดู อาจได้ยินเสียง ทำให้ไม่สบายใจอย่างมาก แต่ก็หยุดนึกถึงไม่ได้
  • -ถ้าเป็นเด็กเล็ก อาจจะพูดบอกไม่ได้ชัดเจน แต่เด็กเล็กจะแสดงออกถึงความไม่สบายใจผ่านการเล่น วาดรูป เด็กอาจจะเล่นซ้ำๆ เป็นธีมที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เจอมา
  • -เด็กบางคนฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือ ฝันร้ายเกี่ยวกับการพลัดพราก ความตายเรื่องน่ากลัวต่างๆ
  • -ถ้ามีคน หรือ สิ่งของที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์ เด็กก็จะกลัวมากขึ้น เช่น กลัวคนที่มีลักษณะเหมือนคนร้ายในข่าว ไม่กล้าไปโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก
  • -ในเด็กบางคนอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ใจสั่น อาเจียน เวลาที่มีอะไรที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้นๆ
  • -อาการเฉยชา ไม่สนใจ เพราะช็อคกับเหตุการณ์ ไม่ร่าเริง ไม่เล่นอะไรที่เคยชอบ หรือบางคนก็งอแงร้องไห้มากกว่าปกติ
  • -ที่พบบ่อยๆ คือ เด็กมีอาการกลัวการแยกจาก ติดคนที่ดูแลมากขึ้น ร่วมกับมีพฤติกรรมถดถอย เหมือนกลายเป็นเด็กอีกครั้ง บางคนปัสสาวะรดที่นอน
    -เด็กมีอาการตื่นกลัว ตกใจง่าย บางคนนอนไม่หลับ มีนอนสะดุ้ง ละเมอ กลัวเสียงดังๆ เด็กบางคนที่ประสบเหตุการณ์ระเบิดจะกลัวมากเวลาดูหนังเกี่ยวกับสงครามที่คล้ายๆเหตุการณ์ที่เคยเจอมา
  • -เด็กอาจจะมีพฤติกรรมเปลี่ยน อารมณ์หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าวขึ้น หรืออาจจะไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน การเรียนตกลง ในเด็กวัยรุ่นบางคนหันไปใช้ยาเสพติด เช่นเหล้า เพื่อให้ลืมเรื่องราวร้ายๆ ที่เคยเจอ
    เบื้องต้นนั้นจะต้องทำอย่างไรในการช่วยเหลือถ้ามีอาการเช่นนี้
    อย่างแรก หยุดรับสื่อที่มากเกินไปเกี่ยวกับเหตุการณ์นะคะ เพราะการดูสื่อซ้ำๆ เป็นการกระตุ้นให้มีอาการมากขึ้นได้ ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
    ถ้าเด็กมีอาการ ก็ต้องเข้าใจปฏิกิริยาที่เกิดว่าเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์
    พ่อแม่บางคนไม่เข้าใจ เห็นลูกงอแงก็ตีหรือดุ ยิ่งทำให้มีอาการมากขึ้น เวลาที่ลูกบอกว่ากลัว ให้แสดงความเข้าใจรับรู้อารมณ์ของลูก เข้าไปปลอบประโลม เช่น กอดเขา บอกเขาว่า พ่อแม่อยู่กับหนูตรงนี้ ไม่มีใครมาทำอะไรหนู พ่อแม่ควรมีเวลาทำกิจกรรมกับลูก เล่นกับเขา ที่สำคัญพ่อแม่ก็ต้องตั้งสติ

ขณะเดียวกัน ข่าวรุนแรงก็ทำให้ผู้ใหญ่เกิดความกังวลหรือความเครียดได้ ก็ควรจัดการกับความเครียด ดูแลตัวเอง เพราะถ้าเราดูแลตัวเองไม่ได้ดี จะไปดูแลช่วยเหลือลูกๆ ก็คงไม่ง่ายนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น