3 ความเชื่อผิด ๆ ที่หลายคนทำ เมื่อมี "ก้างปลาติดคอ" แพทย์ชี้ เสี่ยงติดเชื้อลุกลามมากกว่าเดิม
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา แพทย์หญิงนวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล อาจารย์แพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์เตือนภัย เกี่ยวกับเรื่อง “ก้างปลาติดคอ” โดยระบุว่า เวลากินปลา ให้ระวังก้าง และหากก้าง ปลาติดคอ อย่ากลืนข้าวปั้นหรือกล้วยทับ เพราะ อาจยิ่งทำให้ก้างปลาปักลึกขึ้น และหายากขึ้น ข้าวปั้นอาจทำให้ก้างปลาปักลึกลง หรือก้างอาจจะรูดลงไปปักที่อื่นในหลอดอาหารได้ แถมอาจทำให้ติดเชื้อลุกลามได้ด้วย
ก้างปลา ติดคอมีอาการอย่างไร
- เจ็บจี๊ดเฉียบพลันบริเวณที่ถูกก้างตำ
- กลืนน้ำลายแล้วรู้สึกเจ็บ
- สามารถบอกตำแหน่งได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่บริเวณใด
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- หากเป็นก้างขนาดเล็ก ให้ดื่มน้ำแล้วกลั้วคอแรง ๆ ก้างก็จะสามารถหลุดออกมาได้
- หากไม่หลุดควรรีบพบแพทย์ทันที หากปล่อยให้ก้างปลา ติดคอเป็นระยะเวลานาน นอกจะทำให้เจ็บ ทำให้เกิดแผล เกิดการติดเชื้อ จนเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นหนองในลำคอ ลุกลามไปสู่ช่องอกได้
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อก้างปลา ติดคอ
- ห้ามกลืนก้อนข้าวเหนียว ขนมปังหรือกล้วย ลงไปเพื่อให้ก้างปลาหลุด เพราะ อาจทำให้ก้างปลาลึกลงไปและเกิดแผลมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการเอานิ้วล้วงเอาก้างปลาออก เพราะ จะทำให้ก้างปลาทิ่มลึกลงไปมากกว่าเดิม
- ดื่มน้ำมะนาว เพื่อให้ก้างปลาอ่อนนุ่มลง ถือเป็นข้อมูลที่ผิด เพราะ น้ำมะนาวไม่สามารถทำให้ก้างปลาละลายและหลุดหายไปเองได้อย่างที่หลายคนเข้าใจ และหากดื่มในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
ข้อมูล : Navarat Apirak, โรงพยาบาลบางประกอก และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง