“สภาผู้บริโภค” เมินนักวิชาการหนุนผนึก TRUE-DTAC กดดันหนักกสทช.คว่ำควบรวม

"สภาผู้บริโภค" เมินนักวิชาการหนุนผนึก TRUE-DTAC กดดันหนักกสทช.คว่ำควบรวม

ยืดเยื้อต่อเนื่องมานานกว่า 7 เดือน สำหรับการพิจารณาคำร้องเรื่องการควบรวมธุรกิจ ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC โดยมีรายงานว่าหลังจาก กสทช.ได้รับคำตอบอย่างชัดเจนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องกรอบอำนาจปฏิบัติแล้ว จะมีการประชุมเพื่้อหาข้อยุติอีกครั้งในวันที่ 12 ต.ค. นี้

โดยทางด้าน ผศ.ดร.พัชรินทร์ คำสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบิน วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นนักวิชาการรายล่าสุด ที่ออกมาแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึง 2 เหตุผลที่ควรสนับสนุนการควบรวมธุรกิจ TRUE – DTAC ว่า ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปผลการตีความในอำนาจของ กสทช. ต่อเรื่องการควบรวมกิจการของ TRUE-DTAC และได้คำตอบมาแปลความได้ว่า ดีลนี้ไม่ต้องขออนุญาตจาก กสทช. เพียงรายงานให้ทราบเท่านั้น โดยให้อิงจากประกาศ กสทช.ปี 2561 พร้อมให้ กสทช. ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันในตลาดและดูแลไม่ให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์เอาจริงๆ โดยส่วนตัวแล้วมองว่าเราควรสนับสนุนการควบรวมนี้เพราะ 2 เหตุผลคือ

1. ยิ่งควบรวมยิ่งช่วยให้ป้องกันการผูกขาด
ต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ทั้งค่าประมูลคลื่นความถี่ ทั้งการลงทุนด้านโครงข่ายสัญญาณต่าง ๆ ที่ถือเป็นเหตุผลหลักที่จำกัดผู้เล่นในตลาด จึงไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ DTAC ไม่ค่อยลงทุนเรื่องโครงสร้างเทคโนโลยี 5G เพิ่มซักเท่าไหร่ แต่ถึงอย่างนั้นผลประกอบการของ DTAC ก็ยังไปได้ดี เพราะแนวโน้มการใช้ระบบสื่อสารมีมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม แต่ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมันก้าวไปไวเกินกว่าจะหยุดอยู่กับที่ได้ ในขณะที่ Operator เจ้าอื่นทำการขยายโครงข่าย และหาก DTAC ยังลุยเดี่ยวโดยไม่เร่งมือกับเรื่องเทคโนโลยี ก็เท่ากับเริ่มถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อยๆ การควบรวมกับ True จึงเป็นทางออกที่สมเหตุสมผล

การรวมกันจะทำให้ True-DTAC ลดต้นทุนด้านโครงสร้างเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน รวมทั้ง ผนึกกำลังในการเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ความน่ากลัวที่ไม่ควรมองข้าม คือ หากไม่ส่งเสริมให้เกิดการควบรวม เท่ากับการหยุด หรือชะลอการขยายการลงทุนเพิ่มในโครงสร้างเทคโนโลยี 5G ของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่มีอยู่ไม่กี่เจ้าในเมืองไทย ซึ่งอาจจะได้เห็นการผูกขาดตลาดอย่างที่หลายคนกลัวว่าจะเกิดขึ้นจริง เพราะตลาด 5G จะตกอยู่กับ Operator บางรายเท่านั้น

นอกจากนั้น การควบรวม True-DTAC และการ เห็นช่องทางการตลาดที่ชัดเจนก็ย่อมลงเม็ดเงินลงทุนอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ดังนั้น การควบรวมนอกจากจะหมายถึงการส่งเสริมการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการ ยังหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในด้านคุณภาพของเครือข่าย และมีผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

2. การควบรวมจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์
เมื่อ True ควบรวมกับ DTAC จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์จากค่าบริการที่ลดลง ถึงแม้จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนด้านโครงสร้างเท่าเดิม เพราะเทคโนโลยี 5G สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้จำนวนมหาศาล ทำให้ลูกค้าโดยเฉพาะ DTAC จะได้มีโอกาสใช้บริการ 5G ที่ดีขึ้น และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น การควบรวมของทั้ง 2 ค่ายยังทำให้ได้คลื่นสัญญาณที่ครบทุกย่านความถี่ทำให้ลูกค้าสามารถได้รับบริการที่ครอบคลุมครบถ้วน และแน่นอนว่าด้วยเงินลงทุนที่มากขึ้นจากทั้ง True และ DTAC ต้องปรับตัวเข้าสู่การเป็น Tech Company เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากลูกค้าจะได้รับบริการที่ดีขึ้น การสร้างสรรนวัตกรรมและบริการดิจิทัลต่างๆ ย่อมดีขึ้นด้วย ซึ่งประโยชน์ก็จะตกกับผู้บริโภค

หลังจากควบรวมแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด คือ มาตรการควบคุมของ กสทช. สิ่งที่จะช่วยรักษาผลประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กสทช. ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี เราจะเห็นได้จากเศรษฐกิจปัจจุบันที่ราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาโปรโมชันมือถือที่ออกมาอย่างหลากหลายกลับมีราคาลดลง ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เกิดการควบรวมของบริษัทโทรคมนาคมไทย ผลประโยชน์ที่ได้รับอย่างมากมายน่าจะตกกับประเทศชาติและประชาชน ดังนั้นถึงจุดนี้คิดว่าเราคงไม่ต้องรอ เพราะทุกวินาทีคือโอกาสดีๆ ที่เราจะได้รับ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ล่าสุด กลุ่มสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้มีการเคลื่อนไหวกดดัน กสทช.อีกรอบ โดยการยื่นหนังสือผ่าน ศาสตราจารย์ ดร. พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. (ด้านกิจการโทรทัศน์) ให้ใช้อำนาจพิจารณาปกป้องผู้บริโภค โดยการคัดค้านการควบรวมหรือการผนึกธุรกิจ TRUE – DTAC อย่างถึงที่สุด

หลังจากก่อนหน้า นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ในฐานะเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในการต่อต้านการควบรวมธุรกิจ 2 ค่ายโทรศัพท์มือถือ อันดับ 2 และ 3 ของประเทศ ถึงขั้นประกาศเตรียมฟ้องร้อง นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. และ กรรมการ กสทช. โดยอ้างเหตุผลมาจากออกข่าวบิดเบือน จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ การพิจารณาข้อกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า กสทช. มีอำนาจเพียงกำหนดเงื่อนไข หรือ มาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดมาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งที่ กสทช. ยังมีอำนาจอนุญาตและไม่อนุญาต ต่อการควบรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม

 

 

ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญา ระบุว่า เนื่องจากในวันที่ 12 ต.ค.65 กสทช. จะมีการพิจารณาการควบรวมกิจการที่เกี่ยวข้องระหว่าง TRUE และ DTAC ซึ่งถือเป็นดีลใหญ่และกระทบกับประโยชน์สาธารณะ รวมถึงมีการติดตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้มีการออกมาเเสดงจุดยืนออกมาเป็นระยะ อีกทั้งการมายื่นหนังสืออีกครั้งถือเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากเพิ่งครบรอบวันสถาปนา กสทช เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาครบ 11 ปี และในวันที่ 11 ต.ค.จะครบรอบ 25 ปี การมีมาตรา 40 และรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของการก่อเกิดองค์กรอิสระอย่างกสทช. ในการกำกับดูแลการจัดสรรคคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเน้นเรื่องการเเข่งขันที่เสรีและมีความเป็นธรรม

ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค จึงมายืนยันเพื่อต้องการให้คณะกรรมการ กสทช. ทั้ง 5 ท่าน ได้ทำหน้าที่อยู่บนหลักนิติธรรม และไม่ใช่นิติเพื่อทุนและยึดมั่นในผลประโยชน์เพื่อของประชาชนสูงสุด ตามเจตจำนงค์รัฐธรรมนูญมาตรา 60 และเเผนแม่บทกสทช. โดยนอกจากจะยื่นหนังสือแล้ว ยังเตรียมแผนแม่บทของกสทช.มามอบให้กสทช.เพื่อเป็นการทบทวน เนื่องจากไม่มั่นใจว่า กสทช.ได้มีการนำเอาเเผนเเม่บทมาเป็นหลักในกานพิจารณาผลกระทบการควบรวมหรือไม่

 

 

เพราะเเผนแม่บทฉบับที่ 2 ได้มีการระบุไว้ชัดเจน เรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม และถ้ากสทช. ไม่ได้มีการอิงในเรื่องนี้ หากมีคดีความไปศาลปกครอง อาจจะมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการ รวมถึงที่ผ่านมายังมีประเด็นปัญหาว่า กสทช. ได้มีการรับฟังความคิดเห็นผู้ใช้บริการดีเเทค จำนวน 19 ล้านรายหรือไม่ โดยเฉพาะประชาชนที่ยืนยันการใช้บริการ DTAC และที่ผ่านมาไม่ได้ใช้เครือข่าย TRUE หรือ AIS หากวันหนึ่งเหลือผู้ประกอบการเพียง 2 ราย กลุ่มผู้ใช้บริการที่ยังคงยืนยันใช้บริการ DTAC ใครจะรับผิดชอบ กสทช.ได้มีการพิจารณาผลกระทบผู้ใช้บริการ 19 ล้านรายเเล้วหรือไม่ อีกทั้งยังไม่มั่นใจว่า กระบวนการเหล่านี้ กสทช.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่ ก่อนมีการลงมติในวันที่ 12 ต.ค.

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสภาองค์กรของผู้บริโภค มีแนวนโยบายในเรื้องนี้ว่า สุดท้ายต้องไปจบที่ศาลปกครอง และไม่ว่าจะมีการตัดสินใจอย่างไร ก็จะมีการฟ้องร้อง ตามหลักนิติธรรมปกติ จึงอยากให้กสทช.มั่นใจว่า หากลงมติแล้วเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และแม้ว่าภาคเอกชนจะมีมีการฟ้องร้อง สภาองค์กรของผู้บริโภค ก็พร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุน แต่หากผลการพิจารณาออกมาและเอื้อต่อภาคเอกชนมากกว่าสาธารณะ สภาองค์กรของผู้บริโภค ก็จะเดินหน้าฟ้องศาลปกครองอย่างแน่นอน

 

 

ส่วนกรณีการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา นางสาวสุภิญญา อ้างว่า กรณีดังกล่าวเข้าข่ายการถือหุ้นการประกอบกิจการประเภทเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับประกาศมาตรา 61 และ 49 ตลอดจนพระราชบัญญัติ กสทช. และเเผนแม่บท ซึ่งมีผลผูกพันกับกสทช.ตามกฏหมาย ดังนั้น กสทช. ต้องพิจารณาเรื่องนี้บนแผนแม่บทด้วย

และเมื่อถามถึงข้อกังวลเรื่องการผูกขาด ที่อาจทำให้ค่าบริการมีอัตราสูงขึ้น แต่สวนทางกับนักวิชาการหลายฝ่ายที่มีความเห็นตรงข้าม นางสาวสุภิญญา อ้างว่า กิจการโทรคมนาคมเป็นกิจการกึ่งผูกขาดโดยอำนาจอยู่แล้ว และมีต้นทุนสูงคล้ายสายการบิน ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการเหลือ 2 ราย จึงย่อมไม่เพียงพอกับกิจการขนาดใหญ่ และกระทบกับทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งจากการสอบถามผู้ใช้บริการ DTAC กว่า 20 ล้านราย พบว่า การที่เลือกใช้ DTAC เพราะมีเหตุผลของแต่ละราย เช่นนี้ กสทช. จะรับผิดชอบต่อสิทธิพลเมือง สิทธิผู้บริโภคของผู้ใช้บริการ DTAC อย่างไร หากถูกลดทางเลือกการใช้บริการ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่กว่าราคาค่าบริการในอนาคต

 

เช่นเดียวกับเมื่อถามถึงกรณี หากกสทช. ไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ จนส่งผลให้ในอนาคตดีเเทค ไม่สามารถดำเนินธุรกิจในไทยได้ และถอนตัวออกไป จนเป็นเหตุทำให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใหญ่ เหลือเพียง 2 ราย จะกลายเป็นการผูกขาดตลาดหรือไม่ นางสาวสุภิญญา ระบุว่า ตอนนี้ DTAC ยังไม่ได้ต้องการออกจากตลาดเมืองไทย ซึ่งการรวมกิจการ ก็เพื่อต้องการให้มีโอกาสทางธุรกิจสูงขึ้น อีกทั้งโดยช่วงที่ดีแทคเข้าประมูลคลื่นความถี่ได้คิดรอบคอบแล้วหรือไม่ เพราะการที่ผู้ประกอบการมาประมูลกับภาครัฐ เป็นการทำสัญญากับรัฐบาล หากดำเนินการไม่ได้จริงๆ กสทช. ก็ต้องดำเนินการ

ส่วนหากทั้ง 2 องค์กรธุรกิจไม่ได้รับการควบรวม และ DTAC ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ รวมถึง TRUE ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากขาดความแข็งแกร่งทางธุรกิจ นางสาวสุภิญญา ระบุว่า เป็นเรื่องของกสทช. ที่จะต้องดำเนินการ และส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายที่ 4 อาทิ การส่งเสริมให้ NT เข้ามาร่วมแข่งขัน ซึ่งถือเป็นโจทย์ของรัฐบาล ในการเปิดเสรีในการแข่งขัน ดังนั้น ในอนาคต 5-10 ปี หากผู้ประกอบการต้องการควบรวมธุรกิจ ก็จะสามารถดำเนินการได้ แต่กสทช. จะต้องสร้างหลักประกันว่าจะต้องมีผู้ประกอบการรายที่ 4 เกิดขึ้นก่อน และจะต้องมีผู่ประกอบการไม่น้อยกว่า 3 รายในตลาด

และเมื่อถามถึงเรื่องการควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC ว่า การควบรวมในอนาคต 5-10 ปี จะแตกต่างอย่างไรกับการควบรวมในปัจจุบันนี้ นางสาวสุภิญญา ระบุว่า ผู้บริโภคจะไม่ถูกลดสิทธิของตนเองในการมีทางเลือก และประโยชน์สาธารณะในการแข่งขัน โดยเมื่อเทียบกับที่ผ่านมาที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงรายเดียว ส่งผลให้ค่าบริการอยู่ในระดับสูง ก่อนที่จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้น พร้อมตั้งคำถามกลับมาว่า ประชาชนต้องการจะมีผู้ประกอบการเพียง 1-2 รายเช่นเดิมหรือไม่

ขณะที่ ดร.พิรงรอง กรรมการกสทช . ระบุว่า คณะกรรมการ กสทช. ได้มีการหารือในเรื่องของการควบรวมธุรกิจไปแล้วและเห็นว่ามีกฏหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นที่มาของการปฏิรูปสื่อ จนนำมาสู่การก่อเกิดของ กสทช. และทำงานในรูปแบบตามที่กฏหมายที่เกี่ยวข้องได้ถูกกำหนดไว้ ซึ่งหลักการเดิมของกสทช. คือ ประโยชน์สาธารณะและการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้

ส่วนการพิจารณาจะออกมาเช่นไรนั้น จะต้องรอมติของกสทช.ซึ่งจะมีในเรื่องของขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ได้มีการหารือทั้งหมด เนื่องจากประธานบอร์ด กสทช. และ คณะกรรมการ กสทช. อีกรายไปประชุมที่ต่างประเทศ จึงยังไม่ได้มีการหารือร่วมกัน และต้องเคารพมติทั้งหมดด้วย โดยเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อน ซึ่งในเรื่องนี้จะมีวาระเข้าสู่การประชุมวันที่ 12 ต.ค.นี้ด้วย ส่วนจะเสร็จเรียบร้อยหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากมีข้อตกลงในขั้นตอนการดำเนินการด้วย

เมื่อถามถึงความกดดัน ของกสทช. ต่อการพิจารณาการควบรวมครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการควบรวม ดร.พิรงรอง กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องปกติ ที่จะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งจะต้องดูตามเนื้อผ้า ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ทีรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องของอนุกรรมการ ผลการศึกษาของคณะทำงานที่กสทช.ได้มีการว่าจ้างทั้งในและต่างประเทศที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำมาประกอบกันและนำหลักการทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมกัน

 

ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านการควบรวม เพราะไม่เชื่อมั่นการควบคุมดูแลกสทช. ทั้งในเรื่องของ การผูกขาดตลาด และค่าบริการที่แพง ของกสทช. ทางด้าน ดร.พิรงรอง ระบุว่า การที่มีภาคประชาสังคมเข้ามาตรวจสอบถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะประชาชนจะต้องช่วยกันดูแลประโยชน์ของสาธารณะ

ขณะที่กรณีความล่าช้าที่เกิดขึ้น จนส่งผลให้มีการยื่นเรื่องต่อศาลฯ ดร.พิรงรอง ระบุว่า หากพิจารณาเรื่องความล่าช้าที่เกิดขึ้น จะต้องนำกรณีการควบรวมในต่างประเทศเข้ามาเปรียบเทียบ ซึ่งการควบรวมธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ระยะเวลาการพิจารณา 3 เดือนถึง 2 ปี ซึ่งปัจจุบันการพิจารณาเรื่องการควบรวมยังไม่ได้ใช่ระยะเวลาขนาดนั้น อีกทั้ง คณะกรรมการ กสทช. ชุดปัจจุบัน ได้มาเริ่มงานเมื่อเดือนเม.ย. ดังนั้น จำเป็นต้องมีความรอบคอบ เพราะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง กสทช.ต้องศึกษาและมีแนวทางที่รอบคอบ ส่วนกรณีความคิดเห็นของนักวิชาการ ซึ่งมีออกมาเป็นจำนวนมาก คงไม่มีการนำเอามาเป็นเอกสารร่วมในการพิจารณา เพราะบอร์ดทุกท่านมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

Navy Safety 2025 กางเกงไม่หลุดหาย ทหารเรือไทยรอด
ตร.เพชรบูรณ์ พบศพแรงงานชาวเมียนมา ถูกมีดเชือดคอ ถลกหนังหน้า หูหาย 1 ข้าง เร่งสอบล่าตัวมือฆ่า
เจอตัวแล้ว ผู้ต้องสงสัยโพสต์ขู่กราดยิงห้างขอนแก่น คุมสอบปากคำเข้ม เจ้าตัวยังปฏิเสธข้อกล่าวหา
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์วัดหนองบอนนับ 100 ราย ยื่นหนังสือร้องผู้ว่าฯตราด
พุทธศาสนิกชนชาวอยุธยา สืบสานประเพณีตักบาตรเทโว วัดใหญ่ชัยมงคล
การรถไฟฯ ชวนร่วมเดินทางขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เที่ยวชมกรุงเก่า “อยุธยา” เนื่องในวันปิยมหาราช เริ่มจำหน่ายตั๋วพร้อมกันทั่วประเทศ 19 ต.ค. 67 นี้
ประมงสงขลา ประมงจันทบุรี และประมงเพชรบุรี พบปลาหมอคางดำแหล่งน้ำธรรมชาติหนาแน่นลดลง เดินหน้าเฝ้าระวังและกำจัดต่อเนื่อง เน้นขอความร่วมมือช่วยจัดการในบ่อร้าง
"บิ๊กเต่า" เผยเช็กมือถือ "บอสพอล" พบคลิปรีดไถ "นักร้อง-นักการเมือง" เพียบ จ่อเรียกสอบปากคำ
“ภูมิ​ธรรม​-​อนุทิน”​ ประสานเสียง ไม่หวั่น​กกต. รับคำร้อง​ยุบเพื่อไทย​ปม​ 6 พรรคร่วม ให้“ทักษิณ”ครอบงำ
เปิดตัวสุดปัง! Chester’s Flagship Store @Siam ชูคอนเซ็ปต์ 'Good Food Good Mood' เพิ่มสีสันให้แลนด์มาร์กคนรุ่นใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น