สายดูดาวห้ามพลาด! พรุ่งนี้ 21 ต.ค.-เช้า 22 ต.ค. ชวนดู "ฝนดาวตก" โอไรออนิดส์ 22.30 น. เป็นต้นไป ทั่วไทย อัตราตกสูงสุดเฉลี่ย 20 ดวง/ชม.
ข่าวที่น่าสนใจ
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยคืนพรุ่งนี้ 21 ตุลาคม ชวนชม “ฝนดาวตก” โอไรออนิดส์ ตั้งแต่ 22.30 น.เป็นต้นไป ถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม 2565 อัตราการตก 20 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวนายพราน
ฝน ดาวตก โอ ไร โอ นิด ส์ หรือฝนดาว ตกกลุ่มดาวนายพราน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งในปีนี้คาดการณ์ว่า ในคืนวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2565 จะมีอัตราการตกสูงสุด โดยจะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม 2565 มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง
ฝน ดาวตก โอ ไร โอ นิด ส์ เกิดจาก
- โลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529
- ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก
- ทำให้เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาจากกลุ่มดาวนายพราน
- ส่องแสงสีเหลืองและเขียว ข้ามพาดผ่านท้องฟ้า
วิธีสังเกตฝน ดาวตก โอ ไร โอ นิด ส์
- นอนชมด้วยตาเปล่า และเลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงในเมืองให้มากที่สุด
- มองหากลุ่มดาวนายพราน ตั้งแต่ช่วงเวลา 22.30 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก
- คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 20 ดวง/ชั่วโมง
- แต่เนื่องจากเกิดบริเวณกลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวที่มีความสว่างโดดเด่นบนฟ้า หากสามารถบันทึกภาพการกระจายตัวของฝน ดาวตกได้ ก็จะได้ภาพที่สวยงาม
- ประกอบกับเป็น “ฝนดาวตก” ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ท้องฟ้ามักจะมีทัศนวิสัยดี เหมาะแก่การเฝ้ารอชมและถ่ายภาพได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า
เทคนิคและวิธีการสำหรับการถ่ายภาพ
- เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพควรเริ่มตั้งแต่ 30 วินาที หรือมากกว่า
- ใช้ค่ารูรับแสงกว้างๆ เช่น f/1.4 f/2.8 เพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการเก็บแสงวาบหรือไฟล์บอลของฝน ดาวตก
- ใช้ค่าความไวแสง (ISO) ที่สูง ๆ เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุดขณะเกิดดาวตก เช่น ISO 3200 หรือมากกว่า
- ตั้งโหมดการถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง (Continuous Mode) เพื่อให้กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องตลอดช่วงการเกิดฝน ดาวตก
- ปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction เพื่อให้กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องไม่เว้นช่วงในการถ่าย Dark Frame
- ตั้งกล้องบนขาตามดาว และหันหน้ากล้องไปยังบริเวณจุดกระจายตัวของฝนดาว ตก บริเวณแขนกลุ่มดาวนายพราน
- ถ่ายแบบต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยใช้ค่าการเปิดหน้ากล้องประมาณ 30 วินาที ต่อ 1 ภาพ หรือมากกว่า
- นำภาพฝน ดาวตกมารวมกัน จากหลายร้อยภาพก็เลือกเฉพาะที่ติดดาวตกมารวมกันใน Photoshop หรือ Star Stack ก็จะทำให้เห็นการกระจายตัวของฝน ดาวตกได้อย่างชัดเจน
ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการถ่ายฝน ดาวตก โอ ไร โอ นิด ส์
- สามารถถ่ายได้ตั้งแต่ 22.30 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า
- ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป
- เนื่องจากเป็นเวลาที่ชีกโลกที่อยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรง ๆ ดาวตกจะวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ทำให้เห็นดาวตกวิ่งช้าและมีโอกาสถ่ายภาพฝนดาว ตกหางยาวได้ง่ายอีกด้วย
ข้อมูล : NARIT สถานบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง