ครม. อนุมัติแผนกู้เงิน-ชำระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.5 แสนล้าน

ครม. อนุมัติแผนกู้เงิน และแผนชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง วงเงิน 150,000 ล้านบาท ย้ำเป็นการอนุมัติแผนฯในรายละเอียด ตามกรอบที่ครม. เคยเห็นชอบแล้ว เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ บรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพปชช.

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ของการกู้ยืมเงิน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงิน 150,000 ล้านบาท พร้อมมอบให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถพิจารณาปรับแผนการกู้เงิน และแผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ฐานะการเงินของกองทุน หรือสภาวะตลาดเงินในช่วงเวลานั้นๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการหนี้สาธารณะด้วย

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้เสนอแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ของการกู้ยืมเงิน โดยตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 โดยจะทยอยกู้เงินจำนวน 8 ครั้ง วงเงินทั้งสิ้น 150,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนที่ 1 (กู้ยืม ครั้งที่ 1-2) วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2566 โดยแผนการใช้จ่ายเงินกู้ จะทยอยใช้จ่ายเงินกู้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 และจะทยอยชำระหนี้ได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 และชำระหนี้ครบภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

ส่วนที่ 2 (กู้ยืม ครั้งที่ 3-8) วงเงิน 120,000 ล้านบาท ทยอยดำเนินการทั้งหมด 6 ครั้ง (วงเงินที่ 3-8) โดยแผนการใช้จ่ายเงินกู้ ทยอยใช้เงินกู้ (เบิกเงินกู้) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2566 และทยอยชำระหนี้ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 และชำระหนี้ครบภายในเดือนตุลาคม 2572

โดยการชำระหนี้การกู้ยืมเงิน 150,000 ล้านบาท จะมีแหล่งชำระคืนจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากการประมาณการกระแสเงินสด ซึ่งจะสามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วนภายใน 7 ปี โดยจะทยอยชำระหนี้คืนได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 และชำระหนี้ครบถ้วนภายในเดือนตุลาคม 2572

 

ทั้งนี้ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2565 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีสถานะติดลบ 125,690 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยึดเยื้ออันส่งผลกระทบให้ในช่วงพฤศจิกายน 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงและมีความผันผวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบกับประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และปัญหาอุทกภัย รัฐบาลจึงเห็นถึงความจำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ส่งผลให้กองทุนมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ โดย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2565 นี้มีรายจ่ายสุทธิประมาณ 222 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 6,882 ล้านบาทต่อเดือน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฉาวอีก! "ไกด์เถื่อน" ทำร้าย "นทท.จีน" กลางร้านจิวเวลรี่ดัง ย่านลาดกระบัง เหตุนทท.ไม่ยอมซื้อสินค้าในร้าน
สาวเร่ร่อนนั่งเสพยาริมถนน กลางเมืองพัทยา ชาวบ้านสุดเอื้อมระอา แจ้งเจ้าหน้าที่จับไปไม่เกิน 2 วันวนกลับมาที่เดิม
เสนาธิการทหารเรือ เน้นให้หน่วยงานลงพื้นที่สำรวจ พบปะชาวบ้านสำหรับการป้องกัน "เชิงรุก"
“ธนกร” ค้านร่าง “สุราก้าวหน้า” ฉบับ “เท่าพิภพ” ชี้สุดซอยเกินเหตุ หวั่นไม่ได้มาตรฐาน อาจซ้ำรอย “ยาดองมรณะ”
"กองทัพเรือ" จัดกำลังเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย 4 จังหวัด พร้อมเฝ้าระวังและรับมือสถานการณ์อุทกภัย
นายอำเภอบางละมุง ร่วมกิ่งกาขาดอำเภอบาวละมุง, ผู้บริหารเมืองพัทยา ลงพื้นที่ บ้านเกาะล้าน มอบทุนการศึกษา-ให้ขวัญกำลังใจ นักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 10
ฉะเชิงเทรา คึกคัก เทศกาลคืนวันไหว้พระจันทร์
"บิ๊กอ้วน" เป็นประธานพิธีปิดการศึกษา หลักสูตรวปอ.รุ่นที่ 66
จ.ระยอง ชวนชมฟรีคอนเสิร์ต 'Rayong long beach festival 2024 @Laemmaephim' จัดใหญ่ขนนักร้องชื่อดังของเมืองไทย ระเบิดความมันส์ พร้อมเต็มอิ่มกับอาหารทะเล Street food 20-22 ก.ย.นี้ ที่ชายหาดแหลมแม่พิมพ์ อ.แกลง
"รองผู้ว่าการรถไฟฯ" ตามติดน้ำท่วม ม.พะเยา ยันโครงการก่อสร้างทางรถไฟของโครงการทางคู่ ไม่มีเอี่ยวเหตุน้ำท่วม พร้อมสั่งจนท.เข้าลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือ-ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด-ติดตามสถานการณ์ทุกระยะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น