เปิดภาพถ่ายฝีมือคนไทย พบ “เนบิวลา” 3 แห่งในกลุ่มดาวนายพราน

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

เปิดภาพถ่าย "เนบิวลา" 3 แห่งในกลุ่มดาวนายพราน ฝีมือคนไทย เจ้าของรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ปี 2565

เน บิว ลา คือ เปิดภาพถ่าย “เนบิวลา” ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในกลุ่มดาวนายพราน ฝีมือคนไทย รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตข่าวดี! เผยผลงานภาพถ่ายฝีมือคนไทย การันตีความเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก กับภาพ “เนบิวลา” ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ซึ่งภาพนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) นั้นมีเน บิวลาซ่อนตัวอยู่มากมาย และ ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ภาพนี้ก็เผยให้เห็นเน บิวลาเหล่านั้นที่ดวงตาของเราไม่สามารถมองเห็นได้ในบริเวณใกล้ ๆ ดาว Alnitak นี่คือผลงานของคุณวชิระ โธมัส ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก

 

 

 

เราจะเห็นเน บิวลาของกลุ่มดาวนายพราน ประกอบด้วย

เรียงตัวอยู่ใกล้กับดาว Alnitak หรือบริเวณเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน กินพื้นที่บนท้องฟ้าประมาณ 5 องศา

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

ซึ่ง เนบิว ลา คือ กลุ่มฝุ่นและแก๊สขนาดใหญ่ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ บ้างก็กำลังกระจัดกระจายออกไปทุกทิศทาง บ้างก็กำลังรวมตัวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างมวล ซึ่งหากรวมตัวกันจนมีความหนาแน่นมากพอ จะก่อกำเกิดเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ขึ้น และสสารที่เหลืออยู่อาจกลายเป็นดาวเคราะห์หรือวัตถุอื่น ๆ ภายในบริเวณนั้น

 

 

 

โดย “เนบิวลา” สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • เนบิว ลาเปล่งแสง (Emission nebula)
  • เนบิว ลาสะท้อนแสง (Reflection nebula)
  • เนบิว ลามืด (Dark nebula)

ซึ่งภาพนี้ก็แสดงให้เราเห็นครบทั้ง 3 ประเภท

1. เนบิว ลาเปลวเพลิง

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

  • เป็นประเภทเน บิวลาเปล่งแสง มีแสงสว่างในตัวเอง
  • เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นไอออน เนื่องจาก ได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์ภายในเน บิวลา
  • ส่วนพื้นที่สีแดงคล้ายเปลวเพลิงเกิดจากการปลดปล่อยรังสีของดาว Alnitak ที่อยู่ใกล้เคียง

 

 

 

 

2. เนบิว ลา M78

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

  • เป็นประเภทเนบิว ลาสะท้อนแสง กลุ่มแก๊สเหล่านี้จะไม่ได้เรืองแสงด้วยตัวเอง แต่เกิดจากแสงดาวฤกษ์ที่ตกกระทบกลุ่มแก๊สและฝุ่นเหล่านี้ แล้วเกิดจากการสะท้อนแสงและการกระเจิงแสงขึ้น
  • ส่วนมากเน บิวลาประเภทนี้จะมีสีฟ้า เนื่องจาก กระบวนการกระเจิงแสงดังกล่าว เป็นกระบวนการที่คล้ายกับการกระเจิงแสงในชั้นบรรยากาศโลก ที่ทำให้ท้องฟ้าตอนกลางวันมีสีฟ้า

 

 

 

3. เนบิว ลารูปหัวม้า

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

  • เป็นประเภทเนบิวลามืด มีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิว ลาสะท้อนแสง แต่เนบิว ลามืดนี้ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ใกล้เคียง จึงทำให้ไม่มีแสงสว่าง
  • แต่จะสามารถสังเกตเห็นได้ก็ต่อเมื่อมีเนบิว ลาสว่าง หรือดาวฤกษ์จำนวนมากอยู่เป็นฉากหลัง ก็จะทำให้มองเห็นเป็นเงามืดด้านหน้าดาวฤกษ์หรือเนบิว ลาสว่างเหล่านั้น
  • เช่นเดียวกับเนบิว ลารูปหัวม้า ที่ปรากฏเป็นเงามืดรูปหัวม้าและมีเนบิว ลาสว่างด้านหลัง

 

 

 

ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้อง CCD cool แบบสี บนอุปกรณ์ตามดาว Sky Watcher HEQ5 Pro โดยถ่ายแบบ panorama 2 panel แต่ละ panel ถ่ายมา 2 ชุด ชุดที่ 1 ใช้ฟิลเตอร์ Optolong L-eXtreme เพื่อให้ได้สัญญาณในช่วงคลื่น Ha กับ Oii มาอย่างชัดเจน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง ชุดที่ 2 ใช้ฟิลเตอร์ IDAS D1 เพื่อให้ได้สีสันของดาวอื่น ๆ มา ใช้เวลา 10 ชั่วโมง รวมเวลาการถ่ายทั้ง 2 ชุดเป็น 22 ชั่วโมง รวม 2 panel เป็น 44 ชั่วโมง จากนั้นนำมาปรับแต่งโดยใช้โปรแกรม Deep Sky Stacker และ Abode Photoshop ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์ ควบคุมและสั่งถ่ายภาพทำด้วยตนเองทั้งหมด โดยไม่ใช้การสั่งควบคุมกล้องโทรทรรศน์ระยะไกล หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น

 

 

 

เนบิวลา, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, ดาว Alnitak, กลุ่มดาวนายพราน, เนบิวลาเปลวเพลิง, เนบิวลารูปหัวม้า, เนบิวลา M78, ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย,​ เนบิวลาเปล่งแสง, เนบิวลาสะท้อนแสง, เนบิวลามืด

 

 

 

รายละเอียดการถ่ายภาพ
วันที่ถ่ายภาพ : 26 มกราคม 2022 เวลา 20:00 น.
สถานที่ถ่ายภาพ : อ.สูงเม่น จ.แพร่
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : CCD ZWO ASI2600 MC-Pro / William Optics RedCat 51
ความไวแสง : Gain 100
เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ใบล่ะ 20นาที – จำนวน 66ใบ – เวลารวม 22 ชั่วโมง
ขนาดหน้ากล้อง : 51มม
ความยาวโฟกัส : 250มม
อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f/4.9
ฟิลเตอร์ : Optolong L-Extreme / IDAS D1
ภาพ : นายวชิระ โธมัส – ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก (Deep Sky Objects)

 

 

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น