“ครม.” เห็นชอบ 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง

ครม.เห็นชอบ10มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

1 พ.ย.65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบ ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กนช. เสนอ โดยโครงการดังกล่าวมี สาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านน้ำต้นทุน ด้านความต้องการใช้น้ำ และด้านการบริหารจัดการ จำนวน 10 มาตรการ ดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. ด้านน้ำต้นทุน ประกอบด้วย 3 มาตรการ
(1.) เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท โดยเร่งเก็บน้ำ สูบทอยน้ำ คือการสูบน้ำเป็นทอด ๆ จากแหล่งน้ำไปสู่พื้นที่เป้าหมาย ส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง

(2.) เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผน เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งติดตามและประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง

(3.) ปฏิบัติการเติมน้ำ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวง รองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และแผนปฏิบัติการ และปฏิบัติการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ

2. ด้านความต้องการใช้น้ำ ประกอบด้วย 4 มาตรการ

(1.) กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธิภาพ

(2.) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดการใช้น้ำ และนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการน้ำ

(3.) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี) และจัดทำแผนการรับน้ำเข้า-ออกพื้นที่ลุ่มต่ำในการเพาะปลูกพืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(4.) เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึง แหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน รวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ

3. ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 3 มาตรการ

(1.) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยสร้างความรู้ ความเข้าใจในการวางแผน การใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ และเตรียมจัดหาน้ำสำรอง และกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค

(2.) สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไป ตามแผนที่กำหนด

(3.) ติดตามและประเมินผลการด าเนินงานให้เป็นไปตามแผน และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายัง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติและ กนช. รวมทั้งประเมินผล การดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในส่วนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับ สถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือสทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดในพื้นที่ทั่วประเทศหรือจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการ เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาโดยเร่งด่วน เช่น ปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ก่อสร้าง ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาลและระบบประปา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ให้แก่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่ใกล้เคียง ในระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เช่น ปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ก่อสร้าง ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาลและระบบประปา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ให้แก่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่ใกล้เคียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น