“ม้าเทวดา” สัตว์หายาก โผล่อวดโฉมบนยอดดอยอินทนนท์

ม้าเทวดา สัตว์หายาก ปรากฏตัวบนยอดดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวสามารถบันทึกภาพได้ สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

(3 พฤศจิกายน 65) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เผยภาพคลิปวีดีโอเป็นภาพกวางผา หรือ ม้าเทวดา สัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย กำลังเดินออกหากินบนสันเขาบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน โดยเวลาที่พบกวางผาประมาณเกือบ 11.00 น.วันนี้ ซึ่งผู้ที่บันทึกภาพวีดีโอได้เป็นนักท่องเที่ยวหญิง คือ นางสาวจันทภา คำไผ่ประพันธ์กุล อายุ 19 ปี ชาว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ ชั้นปีที่ 1 ซึ่งเดินทางขึ้นไปท่องเที่ยวบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน ซึ่งเพิ่งเปิดให้เข้าชมได้เพียง 3 วันเท่านั้น หลังจากปิดพื้นที่ประจำปีเป็นเวลา 5 เดือนในช่วงฤดูฝนเพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว โดยกวางผาที่พบในวันนี้เป็นครั้งที่สอง หลังจากก่อนหน้านี้พบกวางผา 2 ตัว ออกมาเดินหากินบริเวณใกล้เคียงกันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

ข่าวที่น่าสนใจ

นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เปิดเผยว่า เป็นภาพที่หาดูได้ยาก เพราะตามธรรมชาติกวางผาซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนหายากเป็นสัตว์ที่มีสัญชาติญาณระมัดระวังตัวสูง ซึ่งการออกมาปรากฏตัวเป็นผลมาจากการปิดพื้นที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติประจำปีตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 ตุลาคม รวม 5 เดือน เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว

สำหรับกวางผา หรือ ม้าเทวดา เป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ในบัญชีใกล้สูญพันธุ์ โดยเป็นสัตว์จำพวกแพะ แกะ เช่นเดียวกับเลียงผาแต่มีขนาดเล็กกว่า และจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า 1,000 เมตร ในไทยเคยพบที่ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่

กวางผาที่พบในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Buemese Goral และชื่อวิทยาศาสตร์ Nemorhaedus evansi มีสถานะเป็นสัตว์ป่าสงวน หากมองผิวเผินอาจคิดว่าเป็นเลียงผา เพราะลักษณะโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน และมีถิ่นที่อยู่อาศัยทับซ้อนกัน แต่กวางผานั้นมีขนาดเล็กกว่า กวางผาจะมีขนสีน้ำตาลเทา (ส่วนเลียงผาที่โตเต็มไวจะมีสีดำ) บริเวณท้องมีสีจางกว่าลำตัว ขาหน้าทั้งสี่มีสีน้ำตาลแดง ขาท่อนล่างมีสีครีมคล้ายใส่ถุงเท้า บริเวณตา ริมฝีปาก คอ อก และโคนหางมีแต้มสีขาว เขาสั้นโค้งไปด้านหลัง หว่างเขาถึงหลังหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน และมีแผงขนสีน้ำตาลไหม้พาดผ่านจนถึงหาง หางสั้นและเป็นพุ่ม

ลักษณะนิสัยของกวางผาจะหากินบนที่ราบสูงที่เป็นภูเขาหรือหน้าผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000–4,000 เมตร หากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงที่อาหารสมบูรณ์มักเลือกกินเฉพาะยอดอ่อนของพืช ส่วนในฤดูแล้งที่น้ำมีจำกัดมันมักกินพืชที่มีลำต้นอวบน้ำมากกว่าปรกติ

ในเรื่องราวของความเชื่อ ชาวมูเซอเชื่อว่าม่อนจองเป็นดอยศักดิ์สิทธิ์ และกวางผาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเทวดา สามารถหายตัวได้ จากความแคล่วคล่องว่องไวกระโดดไปมาบนผาสูง กวางผา จึงถูกขนานนามว่า “ม้าเทวดา” แต่กระนั้นในความเชื่อที่ดี ยังมีเรื่องที่ไม่ดีปะปน กวางผาต้องเผชิญกับการล่าเพราะมนุษย์อีกกลุ่ม ที่เชื่อว่ากระดูกสามารถนำไปทำยารักษาโรคได้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดีอี" เตือนข่าวปลอม "แผ่นดินไหว 3 จังหวัด" เสี่ยงแรงสั่นสะเทือน หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้ ปชช. - ตื่นตระหนก 
เจอเพิ่มอีก 2 ร่าง เคสสีดำ ใต้ซาก "ตึกสตง." ถล่ม กู้ภัยยืนยัน เป็นคนละโซนกับจุดที่เห็นแสงมือถือ
"ผู้ว่ารฟท." ตรวจพื้นที่สถานีกลางฯ เตรียมความพร้อมรับสงกรานต์ 68 สร้างมั่นใจปชช. คาดวันนี้ผู้โดยสารแตะ 1.2 แสน
"สันติสุข" จี้กทม.จ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว "ชัชชาติ" สร้างภาระดอกเบี้ย ค้างชำระเอกชน วันละ 5.4 ล้าน ถึงเวลานายกฯ ต้องจัดการแก้ปัญหาเอง
มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับที่ 6 เตือน พายุฤดูร้อนถล่ม วันนี้ 46 จว.ฝนหนัก ฟ้าผ่า ลมแรง ลูกเห็บตก
"ปตท." ห่วงใยชุมชนรับผลกระทบแผ่นดินไหว จัดจิตอาสาฯตรวจสภาพอาคารชุมชนบ้านพักนิคมรถไฟ
"ดร.สามารถ" ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย
กทม.เปิดศูนย์รับมือ 7 วันอันตราย สงกรานต์ 196 จุด พร้อมลุยภายใต้มาตรการ 5 ป.
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เข้ารับโล่เกียรติคุณและเข็มเชิดชูเกียรติคนดีศรีเมืองชล สาขาผู้ทำคุณประโยชน์และสร้างชื่อเสียงแก่จังหวัดชลบุรี
ถนนสายเอเชีย ช่วงจ.พระนครศรีอยุธยา ปชช.ทยอยเดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ รถเริ่มมากแต่ยังคล่องตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น