ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ นายอลงกรณ์ พลบุตรเป็นผู้แทนในการมอบนโยบายการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในห้องประชุม200คนและผ่านระบบทางไกลไปทุกจังหวัดอีก 1,520คนโดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯ. นายวิศิษฏ์ ศรีสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้การต้อนรับ
นายอลงกรณ์ได้แถลงนโยบายว่า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการเกษตรและขับเคลื่อนงานสําคัญของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร มีเป้าหมายในการพัฒนาให้ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น” โดยมุ่งเน้นให้ “เกษตรกรรวมกลุ่มกันช่วยเหลือ ตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการสหกรณ์” สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรของ ชุมชนโดยส่งเสริมให้นําแนวทาง “การตลาดนําการผลิต การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และ การนําเทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต” เพื่อลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย สร้าง รายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างระบบการเงินการบัญชีที่มีเกณฑ์การตรวจสอบบัญชี ตามมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับและเช่ือถือได้ใหแ้ก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรนําไปใช้ปฏิบัติมีการ กําหนดเกณฑ์การควบคุมภายในที่ดี การควบคุมและดูแลการดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
ทั้งนี้ในปี 2565 สหกรณ์ทุกประเภทมีทุนดําเนินงานรวมกันเป็นเงินกว่า 1.785 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าธุรกิจทุกประเภทรวมกันกว่า 3.58 ล้านล้านบาท
มีสถาบันเกษตรกรจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ จํานวน 7,690 สหกรณ์ และกลุ่ม เกษตรกร จํานวน 4,110 แห่ง จํานวนสมาชิกรวมทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านคน
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบนโยบายการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ2566 ดังน้ี
1.นโยบายด้านการส่งเสริมพัฒนาและการกํากับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
1) ผลักดันให้ สมาชิก มีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น
2) เพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
ด้วยนโยบาย “การตลาดนําการผลิต” “เทคโนโลยีเกษตร 4.0” และ “การส่งเสริม การเกษตรแบบแปลงใหญ่” ไปเป็นเข็มทิศในการทํางาน
3) การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล
กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องร่วมมือกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อย่างใกล้ชิด กํากับดูแล แนะนํา และการสร้างระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน ลงพื้นที่เข้าตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่ง เข้าแนะนํา ตรวจสอบให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปิดบัญชีได้ตามกฎหมาย สร้างความโปร่งใสในการ บริหารงานของคณะกรรมการดําเนินการและฝ่ายจัดการ สร้างระบบควบคุมภายใน ระบบบริหาร จัดการความเสี่ยงและระบบตรวจสอบที่ดี ทําให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปลอดการทุจริตให้มากที่สุด
4) การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
เมื่อตรวจพบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการทุจริตหรือข้อบกพร่อง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ต้องรีบเข้าดําเนินการกํากับ สั่งการให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแก้ไขข้อบกพร่องตามกฎหมายและ ขั้นตอนที่ได้รับมอบอํานาจอย่างมีประสิทธิภาพและแล้วเสร็จโดยเร็ว
2.นโยบายด้านการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชี
1) พัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชี
เน้นการตรวจสอบให้เป็นไปตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อ สถานการณ์ ยึดความถูกต้องในการทํางานไม่ต้องกังวล ในกรณีเกิดสถานการณ์ทุจริตให้เร่งดําเนินการ เชิงรุกในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวกรวดเร็วและลดต้นทุนในการใหบ้ริการสมาชิกส่งเสริมการออมในชุมชนนอกเหนือการให้กู้ยืม
2) เพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจการแปรรูปและธุรกิจบริการ จะช่วยให้สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหา การประกอบอาชีพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
3) การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล
กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องร่วมมือกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อย่างใกล้ชิด กํากับดูแล แนะนํา และการสร้างระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน ลงพื้นที่เข้าตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่ง เข้าแนะนํา ตรวจสอบให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปิดบัญชีได้ตามกฎหมาย สร้างความโปร่งใสในการบริหารงานของคณะกรรมการดําเนินการและฝ่ายจัดการ สร้างระบบควบคุมภายใน ระบบบริหาร จัดการความเสี่ยงและระบบตรวจสอบที่ดี ทําให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปลอดการทุจริตให้มากที่สุด
4) การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2.นโยบายด้านการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชี
1) พัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชี
การตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรถือเป็นงานที่สําคัญที่ช่วยสร้างความโปร่งใส ให้แก่สถาบันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรเน้นการตรวจสอบให้เป็นไปตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบ ในกรณีเกิดสถานการณ์ทุจริตให้เร่งดําเนินการ เชิงรุกในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจจัดทําเป็นทีมตรวจสอบ เฉพาะกิจและร่วมแก้ไขปัญหากับกรมส่งเสริมสหกรณ์
2) ให้ความสําคัญกับการกํากับดูแลและตรวจสอบคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ต้องมุ่งเน้นตรวจสอบคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีให้เข้มข้น เป็นไป ตามมาตรฐานและข้อกําหนดด้านจรรยาบรรณ ในกรณีผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือ ปฏิบัติงานบกพร่องให้ลงโทษอย่างจริงจัง
3) พัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชี และการควบคุมภายในแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกร
เนื่องจากบัญชีเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จของทุกอาชีพ
4) มุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการบัญชีเพื่อให้บริการแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
สุดท้ายนี้ หวังว่าบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกคน จะมีส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่วมกันผลักดันให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรและชุมชนได้อย่างยั่งยืนตลอดไป