แชร์ว่อนเน็ต "ต้นตีนเป็ด" มีสารไซยาไนด์ ดมนานเสี่ยงหัวใจล้มเหลว อ.เจษฎ์ ย้ำไม่ใช่เรื่องจริง เป็นแค่ต้นไม้ที่ดอกส่งกลิ่นแรงเท่านั้น
ข่าวที่น่าสนใจ
เช็คให้ดีก่อนแชร์ กลายเป็นประเด็นลือหนักอีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่าน หลายสื่อรายงานข่าวว่า “ต้นตีนเป็ด” หรือต้นพญาสักตะบัน เต็มไปด้วยสารพิษไซยาไนด์ หากสูดดมหนัก ๆ มีผลต่อระบบหัวใจโดยตรง และการหมุนเวียนของเลือดด้วย หากสูบดมนาน ๆ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้
ล่าสุด อ.เจษฎ์ หรือ หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ไม่รอช้า ออกมาเผยข้อมูลชัด ๆ ชี้แจงผ่านเพจ Facebook อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุว่า กลิ่นของ “ต้นตีนเป็ด” ไม่ได้มีสารพิษไซยาไนด์นะครับ
เรื่องมั่ว ๆ เกี่ยวกับต้นพญาสัตบรรณ หรือ “ต้นตีน เป็ด” กลับมาแชร์กันอีกแล้ว โดยหาว่าเป็นต้นไม้พิษ ที่กลางคืนจะปล่อยพิษพวกไซยาไนด์ ออกมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูออกดอก ไม่จริงนะครับ !! มันเป็นแค่ต้นไม้ที่ดอกส่งกลิ่นแรง ซึ่งบางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม
ซึ่งก็ต้องขอแย้งอีกครั้งว่าเป็นแค่ข่าวปลอม ที่แชร์กันผิด ๆ โดยรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ของช่อง 9 อสมท. สำนักข่าวไทย ก็เคยทำรายงานตอนนี้เอาไว้เช่นกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่รายการไปสัมภาษณ์ ก็ระบุชัดเจนว่า กลิ่นของต้นพญาสัตบรรณหรือต้นตีน เป็ดนั้น ไม่ได้มีสารพิษไซยาไนด์อย่างที่ว่า เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
ต้นพญาสัตบรรณหรือต้น ตีนเป็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย
เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นเมื่อกรีดจะมียางสีขาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น ดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) คือ สารสกัดสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมายรวมทั้งใช้ใบพอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ (ไม่มีรายงานถึงพิษอันตรายต่อมนุษย์) นอกจากนี้ ยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ส่วนต้นตีน เป็ดน้ำหรือต้นตีน เป็ดทะเล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odollam Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ดเช่นกันกับต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ในประเทศไทยนั้นจะพบเฉพาะทางภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร
เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง