“วาฬบรูด้า” วาฬอำแพง 3,380 ปี ขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

ฟอสซิล "วาฬบรูด้า" วาฬอำแพง บ้านแพ้ว ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์ พบสภาพเกือบสมบูรณ์ มีอายุมากถึง 3,380 ปี

“วาฬบรูด้า” ฟอสซิล วาฬ อำ แพง แห่งอดีตทะเลบ้านแพ้ว ประกาศขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์แล้ว หลังถูกค้นพบใต้ผืนดิน ห่างจากทะเล 15 กิโลเมตร เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณี เผย ฟอสซิลวาฬบรูด้า วาฬอำแพง ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์อย่างเป็นทางการ จำนวน 141 ชิ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 มีอายุถึง 3,380 ปี

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

 

วาฬอำแพง ถูกค้นพบโดยนายจิตติ วัฒนสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่บ้านคลองหลวง ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ใต้ผืนดิน ห่างไกลทะเล 15 กิโลเมตร เป็นหลักฐานสำคัญว่าบ้านแพ้วเคยเป็นทะเลมาก่อน

 

 

โดยมีบริษัท ไบรท์ บลู วอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง  ได้มอบให้กับกรมทรัพยากรธรณี เพื่อนำไปศึกษาวิจัยต่อ ซึ่งปัจจุบันวาฬอำแพงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ โครงกระดูกวาฬอำแพง ถูกพบใต้ผืนดินห่างจากทะเลถึง 15 กิโลเมตร พร้อมสัตว์ทะเลอื่น ๆ อาทิ

  • ฟันฉลาม
  • ฟันกระเบน
  • เปลือกหอย
  • ปูทะเล
  • เพรียงทะเล

เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่า ในอดีตบ้านแพ้วเคยเป็นทะเลมาก่อน จึงได้ตั้งชื่อว่าวาฬอำแพง ซึ่งมีอายุถึง 3,380 ปี คาดว่าอยู่ในช่วงยุคโฮโลซีนตอนปลาย

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนกระดูกวาฬที่ค้นพบ มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ พบส่วนสำคัญครบเกือบ 80-90% สะสมอยู่ในตะกอนดินเหนียวทะเลโบราณ เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงการรุกของน้ำทะเลเข้ามาในแผ่นดินเมื่อหลายพันปีก่อน อีกทั้งสามารถศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของวาฬและสัตว์ทะเลในอดีต และได้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพจากการพบซากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ร่วมกับวาฬอีกด้วย

 

 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

 

 

 

ข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

รูปภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.ลงพื้นที่ "นครพนม" ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย
"พิพัฒน์" ยันค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ประกาศขึ้น 1 ต.ค.นี้ ชี้เตรียมมาตรการช่วยทั้ง "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ไว้พร้อมแล้ว
"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น