วันที่ 18 พ.ย.65.-ตั้งแต่เวลา 07.45น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มารอให้การ ต้อนรับผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปคที่เข้าร่วมการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจ ครั้งที่ 29 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายแอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรี ออสเตรเลีย สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน บรูไนดารุสซาลาม นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรี แคนาดานายกาบริเอล โบริก ฟอนต์ ประธานาธิบดีชิลี /นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกานายสีจิ้น ผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น
จากนั้น ได้เป็นประธานเปิดการประชุม และร่วมการประชุม ภายใต้หัวข้อ “การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน (Balanced, Inclusive and Sustainable Growth)”
นายกรัฐมนตรี หวังว่า ผู้นำทุกประเทศมีความสุขกับค่ำคืนงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจที่ทางประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา และทุกคนจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมในครั้งนี้ หลังจากที่ไม่ได้พบหน้ากันถึง 4 ปี และการประชุมเอเปคต่อจากนี้ จะเป็นการร่วมมือกันฟื้นฟูและนำพาภูมิภาคนี้ไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น
สำหรับการหารือในวันนี้ จะหารือกันว่าเอเปคควรทำอย่างไร เพื่อจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน จนถึงปัจจุบันยังต้องต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และถูกซ้ำเติมจากความท้าทายของสถานการณ์โลก ที่สำคัญยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบ ไม่ใช่แค่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงมนุษยชาติทั้งหมด จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบและปกป้องโลกของเรา โดยไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป ดังนั้น ทุกคนจะต้องปรับมุม วิธีการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจแบบใหม่
นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าประเทศไทยได้นำแนวคิดเศรษฐกิจBCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติมาเป็นยุทธศาสตร์ ในการฟื้นฟูจากผลกระทบ โควิด-19 และเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนา และการเติบโตในระยะยาว ที่เข้มแข็ง สมดุล ยั่งยืนและครอบคลุม
โดยย้ำว่าเศรษฐกิจBCG จะประสานแนวคิดเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวเข้าด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
เศรษฐกิจชีวภาพ เกี่ยวข้องกับการผลิตที่เน้นการนำเทคโนโลยีนวัตกรรม มาสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้า ที่เป็นทรัพยากร และวัตถุดิบชีวภาพ ที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป
สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นระบบการผลิตและการบริโภคสินค้า บริการแบบฟื้นสร้าง โดยมีการวางแผนและการออกแบบระบบ ให้ความสำคัญกับการลดขยะ ในขณะเดียวกัน ต้องพยายามใช้วัตถุดิบซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนเศรษฐกิจสีเขียว คือการส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และแนวคิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งสร้างผลกำไรควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนและสังคมด้วย โดยแนวทางทั้งสาม ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจBCG แตกต่างออกไปคือการตระหนักว่าความท้าทาย หลากหลายที่ผสมอยู่ เชื่อมโยงคาบเกี่ยวกัน ดังนั้นการแก้ปัญหา จึงจะต้องไม่เป็นแบบแยกส่วน ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจBCG จึงให้ความสำคัญ และไทยผลักดันสามแนวทางดังกล่าวอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเป็นผลลัพธ์ที่มีผลทวีคูณและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง
นายกรัฐมนตรี หวังว่าการสร้างความร่วมมือและการมีความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG เป็นรูปธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และฟื้นความสมดุล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นไทยเชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจBCG มีความเป็นสากล
ดังนั้นการที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ไทยจึงขอเสนอแนวคิดนี้ เข้าสู่การพูดคุยกันในกรอบการประชุม ไม่ว่าจะเป็นแนวทาง การบรรลุเป้าหมาย ด้านความยั่งยืนและสภาพพูมิอากาศ และทำให้ความพยายามของเอเปคในการขับเคลื่อนภูมิภาคไปข้างหน้า ตอบสนองความท้าทาย ที่เร่งด่วนในปัจจุ บัน บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจBCG